Author Topic: ข้อยกเว้น..ที่ไม่อาจอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าได้  (Read 181 times)

0 Members and 2 Guests are viewing this topic.

Offline jetsaridlawyer

  • Newbie
  • *
  • Posts: 18
  • Karma: +0/-0

ข้อยกเว้น..ที่ไม่อาจอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าได้

ข้อยกเว้นในเหตุฟ้องหย่า
          มาตรา 1517 “เหตุฟ้องหย่าตามมาตรา 1516 (1) และ (2) ถ้าสามีหรือภริยา แล้วแต่กรณี ได้ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำที่เป็นเหตุหย่านั้น ฝ่ายที่ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจนั้นจะยกเป็นเหตุฟ้องหย่าไม่ได้
          เหตุฟ้องหย่าตามมาตรา 1516 (10) ถ้าเกิดเพราะการกระทำของอีกฝ่ายหนึ่ง อีกฝ่ายหนึ่งนั้นจะยกเป็นเหตุฟ้องหย่าไม่ได้
          ในกรณีฟ้องหย่าโดยอาศัยเหตุแห่งการผิดทัณฑ์บนตามมาตรา 1516 ( 8 ) นั้น ถ้าศาลเห็นว่าความประพฤติของสามีหรือภริยาอันเป็นเหตุให้ทำทัณฑ์บนเป็นเหตุเล็กน้อยหรือไม่สำคัญเกี่ยวแก่การอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาโดยปกติสุข ศาลจะไม่พิพากษาให้หย่าก็ได้”
          มาตรา 1518 “สิทธิฟ้องหย่าย่อมหมดไปในเมื่อฝ่ายที่มีสิทธิฟ้องหย่าได้กระทำการอันแสดงให้เห็นว่าได้ให้อภัยในการกระทำของอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นเหตุให้เกิดสิทธิฟ้องหย่านั้นแล้ว”
 
บัญญัติในมาตรา 1517 และมาตรา 1518 จะมีข้อยกเว้นอยู่ 4 ประการด้วยกัน
          ข้อยกเว้นประการแรก คือ การยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจของฝ่ายที่มีสิทธิฟ้องหย่า ซึ่งใช้เฉพาะในเหตุฟ้องหย่าประการที่หนึ่ง ที่สามีหรือภรรยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันสามีหรือภรรยาเป็นชู้ หรือมีชู้หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ และสามีหรือภรรยาประพฤติชั่ว เฉพาะ 2 กรณีนี้เท่านั้น หากฝ่ายหนึ่งยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจก็จะมาฟ้องหย่าไม่ได้ โดยการยินยอม หมายถึง การแสดงกิริยาอาการให้ปรากฏชัดแจ้งที่จะอนุญาตให้กระทำ ส่วน การรู้เห็นเป็นใจ หมายถึง การให้บริการและความสะดวกต่างๆ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม

          - แต่เพียงการยอมอดทนนิ่งเฉย โดยไม่แสดงปฏิกิริยาอะไรหรือเป็นการวางกับดักเพื่อจะจับผิดนั้นไม่ถือว่าเป็นการยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจ

          คำพิพากษาฎีกาที่ 9131/2539 ภรรยาไม่ได้ยินยอมให้สามีมีภรรยาน้อยเช่นนี้ ภรรยาจึงฟ้องหย่าได้

          - ภรรยาเห็นรูปสามีประกอบพิธีมงคลสมรสกับหญิงอื่น หลังจากงานเสร็จไปแล้วโดยไม่ได้โต้แย้ง คัดค้าน ไม่ถือว่ายินยอมหรือรู้เห็นเป็นจ่ายภรรยาจึงฟ้องหย่าได้
          คำพิพากษาฎีกาที่ 3596/2546 โจทก์จดทะเบียนสมรสกับจำเลยที่ 1 ต่อมาจำเลยที่ 1 จดทะเบียนสมรสกับจำเลยที่ 2 และอยู่กินด้วยกันอย่างเปิดเผยโดยยังมิได้หย่าขาดกับโจทก์ โจทก์จึงฟ้องหย่า เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรจากจำเลยที่ 1 และเรียกค่าทดแทนจากจำเลยทั้งสอง แม้โจทก์ทราบว่าจำเลยทั้งสองจดทะเบียนสมรสและอยู่กินร่วมกันฉันสามีภริยาตั้งแต่ปี 2536 แต่จำเลยทั้งสองก็อยู่กินร่วมกันตลอดมา จนถึงวันฟ้อง ลักษณะการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการละเมิดต่อโจทก์ต่อเนื่องกันมายังมิได้หยุดการกระทำ อายุความจึงยังไม่เริ่มนับ

          จำเลยที่ 1 อุปการะเลี้ยงดูและยกย่องจำเลยที่ 2 ฉันสามีภริยาอันเป็นเหตุหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 (1) และศาลพิพากษาให้โจทก์และจำเลยที่ 1 หย่ากันด้วยเหตุดังกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าทดแทนจากจำเลยทั้งสองได้ตามมาตรา 1523 วรรคแรก

          สิทธิของบุตรผู้เยาว์ที่จะได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูจากบิดามารดา เป็นสิทธิของบุตรแต่ละคนจะพึงได้รับตามความสามารถของผู้มีหน้าที่ให้ฐานะของผู้รับและพฤติการณ์แห่งคดี การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้ค่า อุปการะเลี้ยงดูแก่บุตรทั้งสองรวมกันจึงไม่ถูกต้อง

          ข้อยกเว้นประการที่สอง คือ การกระทำของฝ่ายที่มีสิทธิฟ้องหย่าเป็นเหตุให้เกิดเหตุอย่างนั้น ซึ่ง ข้อยกเว้นข้อนี้ใช้เฉพาะเหตุหย่า ตามมาตรา 1516 (10) ที่สภาพแห่งการของสามีหรือภรรยานั้นไม่อาจร่วมประเวณีได้ตลอดการ หากเกิดเพราะการกระทำของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งคู่สมรสฝ่ายนั้นจะฟ้องหย่าไม่ได้ เช่น ภรรยาโกรธที่สามี ชอบไปยุ่งเกี่ยวกับหญิงอื่นจึงใช้มีดตัดของลับของสามีโยนทิ้งไป เช่นนี้ภรรยาจะมาฟ้องหย่าโดยอ้างว่าสภาพแห่งกายของสามีไม่อาจร่วมประเวณีได้ตลอดกาลไม่ได้ ถ้าเป็นกรณีที่ภรรยาหาภรรยาน้อยให้สามีแล้วสามีติดโรคเอดส์จากภรรยาน้อย เช่นนี้ ภรรยาฟ้องหย่าสามีอ้างเหตุสามีเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรงตามเหตุฟ้อง หย่าตามมาตรา 1516 (9) เพราะข้อยกเว้นนี้ใช้เฉพาะเหตุตามมาตรา 1516 (10) เท่านั้น

          ข้อยกเว้นประการที่สาม คือ เหตุหย่าเป็นเหตุเล็กน้อยซึ่งใช้เฉพาะเหตุหย่า ตามมาตรา 1516 ( 8 ) ที่สามีหรือ ภรรยาผิดทัณฑ์บนที่ให้ไว้เป็นหนังสือในเรื่องความประพฤตินั้นศาลจะพิพากษาให้หย่าก็ได้

          ข้อยกเว้นรายการที่สี่ คือ ฝ่ายที่มีสิทธิฟ้องหย่าได้ให้อภัยแล้วซึ่งข้อยกเว้นเหตุที่ 4 นี้จะใช้ในเหตุหย่า ทุกเหตุแต่ต้องให้อภัยก่อนฟ้องคดี เช่น สามีทราบว่าภรรยามีชู้และจับได้แต่ให้อภัยต่อมาภายหลังจะเกิดนึกเจ็บใจกลับมาฟ้องหย่าภรรยาไม่ได้ และการให้อภัยนั้นต้องเป็นการที่คู่สมรสฝ่ายที่มีสิทธิฟ้องหย่าให้อภัยในการกระทำของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งก่อนการใช้สิทธิฟ้องหย่าต่อศาล ซึ่งหมายถึงการให้คู่สมรสฝ่ายที่ทำผิดกับคืนสู่ฐานะทางครอบครัวดังเดิม โดยคู่สมรสฝ่ายที่ให้อภัยได้รู้ข้อเท็จจริงทั้งหมดเกี่ยวกับการกระทำผิดแต่ก็มีเจตนาที่จะยกโทษให้นั่นเอง ซึ่งจะต้องประกอบด้วยข้อเท็จจริงหรือหลักเกณฑ์ 3 ประการคือ

          1. คู่สมรสฝ่ายที่มีสิทธิฟ้องหย่าจะต้องแสดงกิริยาอาการอย่างชัดแจ้งที่จะให้คู่สมรสที่ทำผิด กลับคืนสู่ฐานะในทางครอบครัวดังเดิม
          2. คู่สมรสฝ่ายที่มีสิทธิฟ้องหย่าจะต้องมีเจตนาที่จะยกโทษให้ เช่น ภรรยาใช้อาวุธปืนยิงสามี 2 ครั้งก่อนฟ้องคดีเป็นเวลาถึง 14 ปี และ 4 ปี แต่สามีไม่ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษภรรยาคงอยู่กินด้วยกันตลอดมา เป็นต้นถือว่ามีเจตนาที่จะให้อภัยและยกโทษให้แล้ว
          3. คู่สมรสฝ่ายที่มีสิทธิฟ้องหย่าจะต้องได้รู้ถึงความผิดที่ได้กระทำลงไปโดยตลอด

          ตัวอย่างการให้อภัย เช่น การที่จำเลยใช้มีดแทงโจทก์ตั้งแต่ก่อนโจทก์จำเลยจะมีบุตรด้วยกัน แต่โจทก์เห็นว่าจำเลยเป็นภรรยาและมีบุตรด้วยกันจึงไม่ร้องทุกข์กล่าวโทษจำเลย แสดงว่าโจทก์ได้ให้อภัยแก่จำเลยตั้งแต่แรกแล้ว นอกจากนี้ข้อต่อสู้เรื่องการให้อภัยและผู้พันจะไม่ได้ให้การโต้แย้งไว้ และศาลชั้นต้นมิได้กำหนด ประเด็นเรื่องการให้อภัยไว้ก็ตามแต่ศาลฎีกาก็สามารถหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ไม่ถือว่าขัดต่อกฎหมาย (ฎีกาที่ 10157/2559)

          คำพิพากษาฎีกาที่ 1699/2544 ภรรยาจงใจละทิ้งร้างแต่สามีก็ตามไปหาพาไปเที่ยวและ รับประทานอาหารหลายครั้งถือว่าเป็นการให้อภัยแล้วจึงฟ้องหย่าไม่ได้

          คำพิพากษาฎีกาที่ 3190/2549 ภรรยาทราบว่าสามียุ่งเกี่ยวกับหญิงหลายคนแต่ไม่พร้อมหย่าจนเมื่อทราบแน่ชัดว่าสามีกับหญิงอื่นมีบุตรด้วยกันจึงฟ้อง อย่างเช่นนี้ไม่ถือว่ายินยอมหรือให้อภัยในการที่สามีมีภรรยาน้อยจึงสามารถฟ้องหย่าได้

          - สามีมีภรรยาน้อยแล้วยิงภรรยาหลวงบาดเจ็บสาหัส การที่ภรรยาหลวงส่งโทรสารถึงสามีเพื่อขอเข้าไปขนย้ายทรัพย์สินออกจากบ้านมารดาสามี เป็นการขอให้เจ้าของสถานที่ยินยอมให้นำทรัพย์สินออกมา ไม่มีพฤติการณ์ที่จะอยู่กินดังเดิมและภรรยาหลวงยังแจ้งความคดีอาญาแก่สามีฐานพยายามฆ่า ถือไม่ได้ว่าภรรยาหลวงได้ให้อภัยแล้ว….จึงฟ้องหย่าได้

          คำพิพากษาฎีกาที่ 2473/2556 แม้โทรสารที่โจทก์ส่งมายังจำเลยที่ 1 ข้อความบางตอนมี รายละเอียดเกี่ยวกับการหย่าว่าการหย่าครั้งนี้ เป็นการหย่าที่ยินยอมทั้งสองฝ่าย โดยไม่มีการฟ้องหย่าเรื่องชู้ สาวระหว่างจำเลยทั้งสอง แต่กรณีที่จะเป็นการกระทำอันแสดงให้เห็นได้ว่าเป็นการที่โจทก์ให้อภัยการกระทำ ของจำเลยทั้งสอง และทำให้สิทธิฟ้องหย่าหมดไปนั้นต้องได้ความว่าคู่สมรสที่มีสิทธิฟ้องหย่าจะต้องมีเจตนาที่ จะยกโทษให้คู่สมรสฝ่ายที่ทำผิดกลับคืนสู่สถานะในทางครอบครัวดังเดิม คือคู่สมรสทั้งสองฝ่ายมีเจตนากลับมา อยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาต่อไป การที่โจทก์ขอเข้าไปขนย้ายทรัพย์สินต่าง ๆ ของโจทก์ออกจากบ้านที่เคยอยู่ กินกับจำเลยที่ 1 ไม่มีพฤติการณ์ที่โจทก์และจำเลยที่ 1 จะอยู่กินฉันสามีภริยาดังเดิมต่อไปอีก นอกจากนี้โจทก์ ยังได้แจ้งความดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 ในความผิดฐานพยายามฆ่าตามพฤติการณ์จึงไม่อยู่ในวิสัยที่โจทก์และ จำเลยที่ 1 จะกลับมาอยู่กินฉันสามีภริยากันดังเดิมต่อไป ถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ให้อภัยแก่จำเลยอันจะเป็นเหตุให้ สิทธิฟ้องหย่าหมดไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1518

          - ในกรณีที่คู่สมรสต่างกระทำผิดด้วยกันอันเป็นเหตุให้แต่ละฝ่ายมีสิทธิฟ้องหย่าได้ เช่น สามีจงใจละทิ้งร้างภรรยาไป ภรรยาจึงมีชู้นั้น เช่นนี้ไม่ถือเป็นข้อยกเว้นในเหตุฟ้องหย่า สามีจึงหย่าขาดจากภรรยาได้

ติดต่อ เจตน์สฤษฎิ์ ไชยงค์ ทนายความ
รับว่าความทั่วราชอาณาจักร
โทร. 087-999-3841



 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)