Author Topic: การดูแลรักษาชุดยูนิฟอร์มทำงาน ชุดพนักงานออฟฟิต  (Read 252 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline siritidaporn

  • Pro Member
  • *
  • Posts: 807
  • Karma: +0/-0

ชุดยูนิฟอร์มทำงาน ของพนักงานออฟฟิศทั้งแบบและเนื้อผ้า ก็แตกต่างกันไปตามการออกแบบ ความเหมาะสมของเนื้อผ้ากับลักษณะงานที่นำไปใช้ เช่น ผ้าคอมทวิว เหมาะกับ ทำเสื้อช๊อป หรือชุดยูนิฟอร์มที่เจอฝุ่นเยอะ ในสายการผลิตในโรงงาน, หรือ ผ้าโทเร ก็นิยมนำมาใช้ทำชุดทำงาน เครื่องแบบข้าราชการ ชุดนักเรียน เพราะเนื้อผ้าระบายอากาศได้ดี,  เป็นต้น ดังนั้นการดูแลชุดทำงานจึงจะแตกต่างกันไปตามเนื้อผ้าที่ใช้นั้นเอง การดูแลที่ถูกต้องส่งผลให้ชุดฟอร์มตัวเก่งของเราสวยงาม อยู่กับเราไปนานๆนั่นเอง


ผ้าไหม (Silk)

ควรซักแห้งเป็นหลัก หากจำเป็นต้องซักให้ซักด้วยมือเท่านั้น ในน้ำอุ่น หรือแชมพู/สบู่อย่างอ่อน เพราะผงซักฟอกจะไปทำลายความเงามันของไหม ทำให้เนื้อผ้าไหมดูเก่า ซักเบาๆ ห้ามบิดผ้า ห้ามใช้น้ำยาซักผ้าขาว ใช้น้ำยาปรับผ้านุ่มได้ การรีดให้ใช้ผ้าบางชุปน้ำหมาดๆ วางรองที่เนื้อผ้าก่อน แล้วจึงรีด โดยใช้ความร้อนระดับปานกลาง ใส่ไม้แขวนเก็บไว้ในตู้เสื้อผ้า ห้ามพับ


ผ้าลินิน (Linen)

การดูแลคล้ายกันกับ ผ้าไหม คือ ควรซักแห้งเช่นเดียวกัน เพราะเนื้อผ้ายับง่าย ซักมือในน้ำอุ่น สำหรับสีขาว ถ้าเป็นผ้าสีให้ซักในน้ำเย็น สามารถใช้ผงซักฝอกแบบเอ็นไซม์ ที่ไม่มีส่วนผสมของน้ำยาซักผ้าขาวได้โดยการแช่ทิ้งไว้ แล้วซักเบาๆ และห้ามบิดผ้า แล้วจึงนำไปแช่ในน้ำยาปรับผ้านุ่ม ตากแดดสักครู่ให้พอหมาด แล้วผึ่งลมต่อในที่ร่ม ก็สามารถน้ำไปรีดได้เลย โดยใช้ความร้อนสูง และรีดจากด้านใน เพื่อไม่ให้ผ้าด้านนอกเป็นเงา ไม่ควรพับให้ใส่ไม้แขวนเก็บไว้ในตู้เสื้อผ้า


ผ้าขนสัตว์ (Wool)


เนื้อผ้าชนิดนี้เมื่อถูกความร้อน และความชื้นพร้อมกัน จะทำให้เสียทรง ติดกันเป็นแผ่น โดยทั่วไปส่วนมากนิยมซักแห้ง ตรงนี้ควรสอบถามผู้ผลิตชุดยูนิฟอร์มให้แน่ใจก่อน เพราะผ้าขนสัตว์บางประเภทก็สามารถซักด้วยน้ำได้ ภายหลังการใช้งานให้ใช้แปรงนุ่มๆ แปรงฝุ่นออก ขณะที่เนื้อผ้าแห้งสนิท หากเนื้อผ้าถูกน้ำ ให้สะบัดน้ำออก ห้ามใช้แปรงขณะผ้าเปียกโดยเด็ดขาด ควรเก็บในถุงสูญญากาศเผื่อป้องกันแมลงมากิน


ผ้ายีนส์ หรือ ผ้าเดนิม (Denim)


สามารถซักเครื่องได้ตามปกติแนะนำให้ใช้น้ำอุ่น เผื่อลดการซีดของสี ให้กลับด้านในออกเวลาซัก ตากแดดจนแห้ง แล้วนำไปรีดด้วยความร้อนระดับสูง
เนื้อผ้าใยสังเคราะห์จากสารเคมี


ผ้าอไครลิคและโมดาไครลิค (Acrylic & Modacrylic)

สามารถซักเครื่องได้ แนะนำให้ซักในน้ำอุ่น สามารถเข้าเครื่องอบแห้งได้ โดยเลือกแบบเร็ว เพราะแห้งง่าย การรีดให้รีดจากด้านในชุดด้วยความร้อนระดับต่ำ (กลับด้านรีด)
ผ้าไนลอน (Nylon) และ ผ้าโพลิเอสเตอร์ (Polyester)


เนื้อผ้าทั้งสองนี้ การดูแลเหมือนกัน คือ สามารถซักด้วยเครื่องซักผ้าได้ แนะนำให้ซักในน้ำอุ่น ตากในที่ร่ม หากใช้เครื่องอบแห้งควรใช้อุณหภูมิต่ำ ใช้ระยะเวลาสั้น นานไปเนื้อผ้าจะยับ รีดด้วยความร้อนระดับต่ำ


ผ้าสแปนเด็กซ์ (Spandex)

เนื้อผ้าชนิดนี้ให้นำไปแช่ในน้ำเกลือในการซักครั้งแรก จะทำให้สีสดใสยาวนานมากขึ้น การซักให้ซักด้วยมือในน้ำเย็น ห้ามใช้น้ำยาฟอกขาว, และแขวนในที่ร่มไม่ต้องตากแดด ผ้านี้ไม่จำเป็นต้องรีด หากจำเป็นต้องรีดจริงๆให้ใช้ความร้อนระดับต่ำสุดๆ
เนื้อผ้าใยสังเคราะห์จากวัสดุธรรมชาติ


ผ้าคอมทวิว (Com Twill)

ข้อเสียหลักของเนื้อผ้านี้คือ เมื่อใช้ไปนานๆ โดยเฉลี่ย 1 ปี ผ้าจะซีดและเป็นขนโดยปกติอยู่แล้ว ถ้าหากใช้แล้วไม่เปื้อนมากก็ยังไม่ต้องเอาไปซักก็ได้ ส่วนการรีดเนื้อผ้านี้ข้อดีคือจะไม่ยับมาก รีดในจุดที่ต้องการก็พอ


ผ้าเรยอน (Rayon)

เนื้อผ้าแบบนี้แนะนำให้ซักแห้งเท่านั้น เพราะถ้าหากโดนน้ำ เนื้อผ้าจะคลายตัว 30 – 50% แล้วแต่คุณภาพ ซึ่งทำให้ชุดฟอร์มตัวเก่งของเราเสียรูปไปเลยก็ได้ หากจำเป็นต้องซักควรซักด้วยมือ ห้ามซักด้วยเครื่อง และไม่ควรแช่ผ้าทิ้งไว้ ควรตากในที่ร่ม ส่วนการรีดให้รีดด้วยไฟอ่อนเท่านั้น


ผ้าอซิเตท (Acetate)


เนื้อผ้าชนิดนี้ต้องซักแห้งเท่านั้น และรีดแบบกลับด้านในรีด ด้วยความร้อนต่ำสุด

วิธีการข้างต้นนี้เป็นเพียงแนวทางในการดูแลรักษาเนื้อผ้าหลักแต่ละแบบเพียงบางส่วนเท่านั้น เนื่องจากปัจจุบันเผือตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค ทางผู้ผลิตเองจึงได้นำเอาเนื้อผ้า 2 แบบมาผสมกัน จนเกิดเป็นเนื้อผ้าแบบใหม่ ที่มีอัตตราส่วนผสมของเนื้อผ้าแต่ละแบบต่างกันไป เช่น อซิเตท ผสมกับ เรยอน, ผ้า CVC, ผ้าโทเรป๊อบบิ้น/ผ้าโทเรบิสคอบ, ผ้าเสิท/ผ้าเสิทกำมะดีน เป็นต้น การดูแลรักษาจะคล้ายๆกัน แต่ก็ควรสอบถามโรงงานผู้ผลิตชุดยูนิฟอร์ม จึงเป็นการดีที่สุด



การดูแลรักษาชุดยูนิฟอร์มทำงาน ชุดพนักงานออฟฟิต  อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://uniformdeluxe.com/


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)