Author Topic: แพทยสภา ตอบชัด หลังชาวเน็ตผุด saveหมอโอ๊ต อ้างโดนขู่ถอดใบประกอบวิชาชีพ  (Read 973 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline kaidee20

  • Jr. Member
  • **
  • Posts: 93
  • Karma: +0/-0
    • http://www.facebook.com/-

จากกรณี หมอโอ๊ต หรือ นพ.ศรุต ประวิตรกุลวัฒน์ เจ้าของช่องยูทูบ OuixZ ได้โพสต์คลิปความยาวประมาณ 2.50 นาที เป็นการวิพากษ์วิจารณ์คนไทยที่ไปทำงานในเกาหลีใต้แบบผิดกฎหมาย หรือ ผีน้อย เดินทางกลับไทยหลังจากไวรัสโควิด-19 ระบาดหนัก พร้อมวิพากษ์วิจารณ์ประเด็นการทำงานของรัฐบาล ต่อมาได้ขอให้ชาวเน็ตลบคลิปและมีแชทหลุดว่า กระทรวงไม่ปลื้ม ขู่ฟ้องยึดใบประกอบโรค และให้ไปลาออก จนชาวเน็ตช่วยกันติดแฮชแท็ก #saveหมอโอ๊ต พร้อมวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก

อ่าน แห่ติด #saveหมอโอ๊ต วิจารณ์รัฐบาลปมโควิด19-ผีน้อย ถามพูดความจริงผิดหรอ?


ภาพจากทวิตเตอร์ ที่อ้างว่าจะมีการถอดใบประกอบวิชาชีพ

พล.อ.ต.อิทธพร คณะเจริญ เลขาธิการแพทยสภา กล่าวถึงประเด็นดังกล่าวว่า ไม่พบว่ามีการร้องเรียนเรื่องดังกล่าวมาอย่างเป็นทางการต่อแพทยสภาแต่อย่างใด

ทั้งนี้ เลขาธิการแพทยสภา ได้โพสต์เพิ่มเติมในเรื่องดังกล่าวว่า “ข้อเท็จจริงของกระบวนการพิจารณาจริยธรรมของแพทยสภา” กระบวนการพิจารณาจริยธรรมของแพทยสภา เริ่มต้นจากมีผู้ร้องเรียน ในการปฏิบัติงานของแพทย์ เข้าสู่กลไกตามพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2525 โดยใช้ข้อบังคับจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม แพทยสภา พ.ศ.2549 เป็นหลักในการดำเนินการ

เป็นกระบวนการที่ต้องตั้งอนุกรรมการมาพิจารณาเป็นเรื่องเฉพาะแต่ละกรณี ในรูปความเห็นขององค์คณะ โดยต้องมีขั้นตอนรับฟังข้อเท็จจริงจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งผู้ร้องเรียน และ ผู้ถูกร้อง และใช้ความเห็นทางวิชาการจากราชวิทยาลัยทั้ง 14 แห่ง สรุปมูลคดี ก่อนนำไปสอบสวน ซึ่งต้องผ่านอนุกรรมการกลั่นกรองจริยธรรม ที่มี นักกฎหมายผู้ทรงคุณวุฒิ อดีตผู้พิพากษา อัยการ บุคคลภายนอกเข้าร่วมพิจารณาด้วย เพื่อความเป็นธรรมและครบถ้วนทุกมิติ

จึงเห็นได้ว่ากระบวนการตัดสินแต่ละเรื่องร้องเรียนต้องใช้ ขั้นตอนจำนวนมาก ก่อนนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาขั้นสุดท้ายโดยคณะกรรมการแพทยสภา ตามกฎหมายที่มี คณบดีคณะแพทยศาสตร์ 22 คณะ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เจ้ากรมแพทย์ทหาร 3 เหล่าทัพ แพทย์ใหญ่ตำรวจ อธิบดีกรมการแพทย์ อธิบดีกรมอนามัย และกรรมการจากการเลือกตั้ง ร่วมพิจารณา

โดยกระบวนการทั้งหมดจะโปร่งใส และถูกตรวจสอบได้ทุกขั้นตอนโดย ศาลปกครอง และมีมาตรฐานกำกับ ในการกำหนดโทษชัดเจน แพทยสภาจึงเป็นองค์กรที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเป็นกลาง (neutrality) และเป็นธรรม (fairness) เพื่อธำรงมาตรฐานของวงการแพทย์

ดังนั้นจึงย่อมเป็นไปไม่ได้ที่ผลการพิจารณากรณีใดๆ จะเกิดขึ้นก่อนรับเรื่องร้องเรียน หรือก่อนรับฟัง พยาน หลักฐานทั้งหมดโดยอนุกรรมการจริยธรรม และสอบสวน ซึ่งแพทยสภาจะตั้งขึ้นรับผิดชอบแต่ละกรณีจากผู้ที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับกรณีนั้นๆ

ในกรณีมีผู้แอบอ้างผลการพิจารณาโดยยังไม่มีการรับเรื่องเข้าสู่แพทยสภา หรือนำเรื่องเข้าสู่กระบวนการพิจารณาใดๆ ไปข่มขู่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม จึงเป็นการกล่าวอ้างโดยเลื่อนลอยไม่มีมูลความจริง และปราศจากความเข้าใจในระบบการทำงานของกระบวนการตามกฎหมายของแพทยสภา จึงขอให้ผู้ได้รับผลกระทบจากกรณีดังกล่าวดำเนินการตามกฎหมายต่อผู้ให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง และหากมีกรณีการอ้างถึงแพทยสภาโดยไม่มีมูลความจริงหรือทำให้แพทยสภาเสื่อมเสียหรือเสียหาย ขอให้ส่งรายละเอียดมาที่เลขาธิการแพทยสภา เพื่อให้แพทยสภาดำเนินการตามกฎหมายต่อไปข่าวโรคภัยอันตรายล่าสุดวันนี้


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)


Related Topics