Author Topic: ฮาร์ดแวร์โคม่าโตต่ำสุดรอบ10ปี รายใหญ่ตาย/โลคัสแบรนด์จอด  (Read 1012 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Reporter

  • Moderator
  • Gold Member
  • *
  • Posts: 1093
  • Karma: +8/-0
  • Gender: Male
    • ซ่อมคอมเชียงใหม่

ตลาดอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์อาการโคม่า ตัวเลขประมาณการปี 52 เติบโตแบบติดลบ มูลค่าการซื้อขายหดเหลือ 75,435 ล้านบาท ตกต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์ในรอบ10 ปี นายกฯเอทีซีเอ็ม คาดเลวร้ายสุดตลาดติดลบ 20-30% เหตุผู้เล่นรายใหญ่หายจากตลาด เชื่อโลคัล


แบรนด์ไทยไม่ตายแต่ไม่โต ด้านผู้ค้าคอมพ์ทำใจดีสู้เสือ รอดูสถานการณ์งานคอมมาร์ต


ภายหลังจากสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ SIPA, ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(เนคเทค) และเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทยหรือซอฟต์แวร์ปาร์ค ออกมาประกาศตัวเลขผลการสำรวจตลาดอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารในประเทศ โดยระบุว่าตลาดคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์จะมีมูลค่าการซื้อขายประมาณ 75,435 ล้านบาท ชะลอตัวลดลง 0.4% โดยปีที่ผ่านมาตลาดคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์มีมูลค่าการซื้อขาย 75,720 ล้านบาท ซึ่งตัวเลขดังกล่าวถือเป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปีที่ตลาดมีการเติบโตแบบติดลบ หรือเติบโตศูนย์เปอร์เซ็นต์


++*โลคัลแบรนด์ไม่ตายแต่ไม่โต


ต่อกรณีดังกล่าวนั้นนายวิบูลย์ ว่อง นายกสมาคมอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ไทย หรือ เอทีซีเอ็ม เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า หากมองในแง่ดี ตัวเลขตลาดฮาร์ดแวร์ปีนี้คงจะไม่เติบโตขึ้นตามผลสำรวจดังกล่าว แต่หากมองในแง่ร้าย คาดว่าตลาดจะหดตัวลงไป 20-30% เห็นได้ว่าในตลาดคอมพิวเตอร์โลคัลแบรนด์นั้นรายใหญ่ๆล้มหายตายจากไปเกือบหมดแล้ว เหลือเพียงรายที่ประกอบเครื่องเข้าโครงการงานประมูลภาครัฐ และเอกชนเท่านั้น


"เชื่อว่าคอมพิวเตอร์โลคัลแบรนด์ถึงไม่ตายแต่ก็ไม่โต โดยยังมีตลาดที่ต้องการคอมพิวเตอร์ประกอบอยู่บ้าง ส่วนผู้ประกอบการเองจะต้องปรับตัว เพื่อความอยู่รอด ตอนนี้ก็เริ่มเห็นบางรายไปทำธุรกิจใหม่แล้ว"


นอกจากนี้ นายวิบูลย์ กล่าวอีกว่า เท่าที่มีโอกาสได้เข้าร่วมประชุมกับกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่กำลังมีนโยบายส่งเสริมการใช้งานคอมพิวเตอร์ของประชาชนนั้น ขณะนี้ก็มีแนวทางหลายประการในการส่งเสริม อาทิ มาตรการด้านภาษี หรือโครงการคอมพิวเตอร์เอื้ออาทร โครงการ 2 และ 3 อย่างไรก็ตามขณะนี้ยังไม่ได้ข้อสรุป โดยในส่วนของโครงการคอมพิวเตอร์เอื้ออาทร นั้นสมาคมได้เสนอไปว่าหากใช้แนวทางเดิมคงไม่ประสบความสำเร็จ โดยหากรัฐต้องการให้มีการใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างกว้างขวางอาจต้องจัดงบประมาณเข้ามาอุดหนุน


++อินเตอร์แบรนด์ลุ้นคอมมาร์ต


นายนิธิพัทธ์ ประวีณวงศ์วุฒิ ผู้จัดการฝ่ายการตลาดอาวุโส บริษัทเอเซอร์ คอมพิวเตอร์ จำกัด


(บจก.) กล่าวเช่นกันว่า ขณะนี้ยังเร็วไปที่จะบอกว่าตลาดฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ปีนี้ไม่มียอดการเติบโต หรือ ติดลบ โดยอาจต้องขอดูตัวเลขการซื้อขายในงานคอมมาร์ตที่จัดขึ้นเดือนนี้ก่อน


นอกจากนี้ยังเชื่อว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ออกมา อาทิ โครงการเช็ค 2,000 บาทที่จะออกมาเดือนมีนาคมนี้ น่าจะช่วยกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยของประชาชน ซึ่งบริษัทเองก็มีกิจกรรมที่เตรียมไว้รองรับโครงการดังกล่าว ส่วนที่คาดว่าสงครามราคาจะมีความรุนแรงขึ้นนั้น ตลาดไอทีแข่งขันรุนแรงทุกปี


เมื่อถามว่าราคาสินค้าจะลงไปมากกว่านี้หรือไม่ นายนิธิพัทธ์ กล่าวว่า ในส่วนของคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะราคาคงไม่ลงไปมากกว่านี้ ยกเว้นแต่มีแพลตฟอร์มใหม่ เข้ามาทำตลาดกลุ่มใหม่ๆ อย่างเช่นที่เอเซอร์ กำลังจะนำคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ราคา 5,990 บาท มาขายในงานคอมมาร์ต


ด้านนายถกล นิยมไทย ผู้จัดการฝ่ายธุรกิจสินค้าไอที บจก.โตชิบา(ประเทศไทย) กล่าวว่าตลาดฮาร์ดแวร์โดยรวมปีนี้คงไม่เติบโตขึ้นในแง่มูลค่า เนื่องจากการเติบโตของเน็ตบุ๊ก ที่มีราคาถูก รวมถึงราคาของโน้ตบุ๊กปีนี้ลงมา 10-15% โดยมีตัวเลขราคาเฉลี่ยที่ 20,500 บาท จากเดิม 23,000 บาท ซึ่งทำให้ตัวเลขในแง่ของมูลค่าหายไปเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตามหากมองในแง่ของจำนวน น่าจะมีการเติบโตขึ้น 10-15%


อย่างไรก็ดี ในส่วนของบริษัทโตชิบาฯ เองปีนี้มีการปรับตัวค่อนข้างมาก โดยจะมีโมเดลใหม่ที่ลงไปแข่งขันด้านราคา อาทิ โมเดลพิเศษสำหรับตลาดต่างจังหวัด โมเดลพิเศษสำหรับห้างโมเดิร์นเทรด รวมไปถึงนำเน็ตบุ๊กเข้ามาทำตลาดอย่างเต็มรูปแบบ


"ปีนี้เราเพิ่มงบประมาณเป็น 2 เท่าในการเข้าร่วมงานคอมมาร์ต โดยบริษัทแม่ต้องการให้บริษัทมีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มเป็น 15% ขณะที่บริษัทมองว่าส่วนแบ่งตลาด 10% ในสถานการณ์แบบนี้ ซึ่งจะต้องดูสถานการณ์อีกครั้งหลังงานคอมมาร์ต"


++พรินเตอร์ยังยิ้มออลอินวันโต


นายวรินทร์ ตันติพงศ์พาณิช ผู้อำนวยการอาวุโสและผู้จัดการทั่วไป ส่วนงานคอนซูเมอร์ อิมเมจิ้ง แอนด์ อินฟอร์เมชัน บจก. แคนนอน มาร์เก็ตติ้ง (ไทยแลนด์) กล่าวถึงตัวเลขที่มีการประมาณการว่าตลาดปี 2552 จะไม่เติบโตขึ้น ว่าเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในตลาด ซึ่งเท่าที่ดูสถานการณ์แล้วไม่ค่อยดีเท่าไร


อย่างไรก็ตามในส่วนของแคนนอนนั้นขณะนี้ยังทำตลาดเหมือนเดิมไม่ได้หยุด ซึ่งในช่วงที่ความต้องการตลาดลดลงบริษัทต้องเข้าไปแย่งส่วนแบ่งตลาดของคู่แข่งมากขึ้น โดยในส่วนของเครื่องพิมพ์อิงก์เจ็ตมัลติฟังก์ชัน ซึ่งเป็นตลาดที่มีแนวโน้มการเติบโตสูงในปีนี้นั้น ปีที่ผ่านมาสามารถขยายส่วนแบ่งตลาดขึ้นมาเป็นอันดับหนึ่ง โดยมีส่วนแบ่งตลาด 36.4% ซึ่งปีนี้จะมุ่งรักษาความเป็นผู้นำเอาไว้


ขณะที่นายยรรยง มุนีมงคลทร ผู้อำนวยการบริหาร บจก.เอปสัน (ประเทศไทย) กล่าวว่าบริษัทมองว่าตลาดเครื่องพิมพ์ หรือพรินเตอร์ ยังมีโอกาสเติบโตอยู่ โดยในส่วนชองบริษัทตั้งเป้าการเติบโตรายได้ไว้ 3-5% โดยคาดว่ารัฐบาลจะมีการอัดฉีดงบประมาณเข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งทิศทางธุรกิจที่วางไว้ คือ มุ่งไปยังตลาดภาครัฐ และองค์กรเอกชน โดยขณะนี้ได้เริ่มเพิ่มทีมงานเพื่อวิ่งเข้าไปงานโครงการ และเพิ่มกิจกรรม ทำงานใกล้ชิดกับคู่ค้าที่เป็นผู้วางระบบ ในการเข้างานประมูลมากขึ้น ขณะเดียวกันปีนี้คาดว่าในกลุ่มคอนซูเมอร์จะมีการซื้อพรินเตอร์แบบอเนกประสงค์ หรือมัลติฟังก์ชันไปแทนที่พรินเตอร์แบบพิมพ์อย่างเดียว ซึ่งจะทำให้ตลาดโตขึ้นมหาศาล


ส่วนแนวโน้มสงครามราคานั้นน่าจะรุนแรง เพราะผู้ผลิตทุกรายต่างต้องการรักษาส่วนแบ่งตลาดเอาไว้ ทั้งนี้คาดว่าราคาเครื่องพิมพ์ แบบพ่นหมึก หรืออิงก์เจ็ต ที่มีฟังก์ชันการพิมพ์อย่างเดียว จะมีราคาอยู่ราว 1,000-1,200 บาท ขณะที่เครื่องมัลติฟังก์ชันมีราคา 1,800-2,000 บาท อย่างไรก็ตามบริษัทจะพยายามเลี่ยงการเข้าไปแข่งขันด้านราคา แต่จะใช้วิธีการจัดโปรโมชันลดราคาเป็นช่วงๆ ทั้งนี้ประเมิน

ที่มา: thannews.th.com


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)