Author Topic: ตรวจมะเร็ง ตรวจคัดกรองมะเร็ง ลดความเสี่ยงโรคร้ายที่มากับความเงียบ  (Read 292 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline guupost

  • Platinum Member
  • ****
  • Posts: 5545
  • Karma: +0/-0



มะเร็งเป็นหนึ่งในโรคร้ายที่คร่าชีวิตของผู้คนทั่วโลกเป็นอันดับต้นๆ องค์การอนามัยโลกคาดการณ์ว่า ในปี พ.ศ. 2573 ทั่วโลกจะมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งราว 13 ล้านคน และประมาณ 70% ของผู้เสียชีวิตอยู่ในประเทศที่กำลังพัฒนา อย่างไรก็ตาม ปัจจัยการเกิดมะเร็งส่วนหนึ่งนอกจากจะเกิดจากพันธุกรรมแล้ว อีกส่วนหนึ่งยังเกิดจาก "พฤติกรรม" ของคุณเอง นั่นทำให้คุณสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งได้ หรือป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากมะเร็งได้ อีกสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือ เข้ารับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งอย่างสม่ำเสมอ

เช็กตัวเอง คุณมีปัจจัยเสี่ยงมะเร็งหรือไม่?
- อายุ อายุที่มากขึ้นทำให้ความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งสูงขึ้นไปด้วย โดยพบว่า ผู้ป่วยมะเร็งกว่าครึ่งที่ตรวจพบมะเร็งตอนมีอายุมากกว่า 66 ปี
- บุคคลในครอบครัวมีประวัติเป็นมะเร็ง ทำให้รุ่นลูกหลานอาจได้รับการถ่ายทอดยีนที่ผิดปกติมาด้วย
- ดื่มสุรา หรือสูบบุหรี่ ปริมาณมากและเป็นประจำ ยิ่งดื่ม หรือสูบมากเท่าไรก็ยิ่งมีความเสี่ยงมะเร็งมากขึ้นเท่านั้น โดยเฉพาะผู้ที่ทั้งดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ซึ่งจะมีโอกาสเสี่ยงมะเร็งเพิ่มสูงมาก โดยเฉพาะมะเร็งตับและมะเร็งปอด
- มีภาวะอักเสบเรื้อรัง เช่น โรคโครห์น โรคลำไส้อักเสบ
- สัมผัสรังสีในธรรมชาติ หรือรังสีเอกซเรย์ รังสีนิวเคลียร์ หากได้รับในปริมาณที่สูงกว่ากำหนดอาจเพิ่มความเสี่ยงได้
- ได้รับแสงแดด หรือรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) ในปริมาณมากและเป็นประจำ เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดมะเร็งผิวหนัง
- การติดเชื้อบางอย่าง เช่น เชื้อเอชพีวี เชื้อเอชไอวี เชื่อไวรัสตับอักเสบบีและซี เป็นต้น
- การได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นเวลานาน เช่น หญิงที่มีประจำเดือนเร็ว หรือหมดประจำเดือนช้า อาจเสี่ยงเกิดมะเร็งเต้านมได้มากขึ้น
- มีโรคอ้วน การมีน้ำหนักเกินสัมพันธ์กับการเกิดโรคมะเร็งหลายๆ ชนิด เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งเยื่อบุมดลูก มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งไต มะเร็งตับอ่อน เป็นต้น
- ได้รับสารก่อมะเร็งที่ปนเปื้อนในอาหารและเครื่องดื่ม เช่น สารพิษอัลฟาทอกซินจากเชื้อรา สารก่อมะเร็งที่เกิดจากการปิ้ง ย่าง สารเคมีที่ใช้ในขบวนการถนอมอาหารอย่างไนโตรซามิน (Nitrosamine) และสีผสมอาหาร

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่มีความเสี่ยงดังที่กล่าวมา สามารถปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการปรับพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยง หรือการเข้ารับการตรวจมะเร็งที่มีความเสี่ยงสูง อย่างไรก็ตาม การมีปัจจัยเสี่ยงนั้นหมายถึงโอกาสที่จะเกิดมะเร็งเพิ่มขึ้น ไม่ได้หมายความว่า ผู้ที่ไม่มีปัจจัยเหล่านี้จะปลอดภัยจากโรคมะเร็ง

อ่านเพิ่มเติมได้ที่
Website : https://www.honestdocs.co/check-cancer


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)