Author Topic: ผ่าฟันคุด เป็นอย่างไร? คู่มือการผ่าฟันคุดที่ครบถ้วนที่สุด  (Read 270 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline guupost

  • Platinum Member
  • ****
  • Posts: 5507
  • Karma: +0/-0



คนส่วนใหญ่จะมีฟันกรามทั้งหมด 4 ซี่ แต่ละซี่จะอยู่เป็นฟันซี่สุดท้ายของแต่ละข้างเนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวไม่มีช่องว่างเพียงพอ ทำให้บางครั้งฟันกรามซี่ในสุดสามารถโผล่พ้นออกมาได้เพียงแค่บางส่วน หรือบางกรณีก็ไม่สามารถโผล่พ้นออกมาได้เลย กรณีเช่นนี้จะเรียกกันว่า "ฟันคุด" หนึ่งในสาเหตุการปวดฟันและเหงือกอย่างรุนแรง บางรายถึงขั้นนอนไม่ได้ก็มี

ควรไปพบทันตแพทย์เมื่อไร?
ปกติแล้วหมอฟันจะเสนอแนะให้พบหมอฟันทุกๆ 6 เดือน แต่ถ้าหากมีอาการเจ็บปวดเหงือกและฟันอย่างรุนแรง ท่านควรไปพบทันตแพทย์โดยเร็ว หมอฟันจะตรวจฟันและให้คำแนะนำว่า ควรจัดการกับฟันเจ้าปัญหาเหล่านี้อย่างไร

เมื่อพิจารณาแล้วว่า ท่านมีปัญหาฟันคุดและควรถอนออกจึงจะมีการถ่ายภาพเอกซเรย์ช่องปากเพื่อให้หมอฟันเห็นภาพตำแหน่งของฟันดังกล่าวได้อย่างชัดเจนขึ้น
เพราะอะไรจึงควรถอน หรือผ่าฟันคุดออก?
กรณีฟันกรามซี่สุดท้ายเกิดอาการคุด หรือไม่โผล่พ้นจากเหงือกโดยสมบูรณ์ซึ่งทำให้เกิดปัญหาช่องปากตามมาได้ เนื่องจากเกิดการหมักหมมของเศษอาหารและเชื้อโรคที่อยู่บนตัวฟันส่วนที่โผล่ออกมาจนเกิดคราบจุลินทรีย์ขึ้นส่งผลให้เกิดปัญหาต่างๆ ดังนี้
1. ฟันผุ มีสาเหตุมาจากจุลินทรีย์ย่อยอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นกรด ทำลายชั้นเคลือบฟัน และเข้าไปทำลายชั้นเนื้อฟันด้วย หากปล่อยไว้จนรอยผุลึกเข้าไปถึงโพรงประสาทจะทำให้เกิดอาการปวดฟันรุนแรงได้ ยิ่งไปกว่านั้นฟันผุยังสามารถแพร่กระจายไปยังฟันใกล้เคียงได้ด้วย
2. โรคเหงือก(หรือโรคปริทันต์อักเสบ) โรคนี้เกิดขึ้นเมื่อคราบจุลินทรีย์ปล่อยสารพิษที่ก่อความระคายเคืองต่อเหงือกออกมาจนทำให้เหงือกแดง บวม และสร้างความเจ็บปวด โรคเหงือกยังส่งผลต่อฟันและกระดูกรอบฟันกรามซี่สุดท้ายได้เช่นกัน
3. เหงือกคลุมฟันอักเสบ ภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อคราบจุลินทรีย์ทำให้เนื้อเยื่ออ่อนรอบฟันเกิดการติดเชื้อ
4. เซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ ภาวะติดเชื้อที่กระพุ้งแก้ม ลิ้น หรือลำคอ
5. ฝีที่ฟัน การสะสมของหนองภายในฟันกราม หรือเนื้อเยื่อโดยรอบ ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
6. ซีสท์และเนื้องอก ภาวะนี้พบได้ยาก จะพบในกรณีที่ปล่อยให้เหงือกอักเสบและบวมออกจนกลายเป็นก้อนซีสต์ (การบวมเกิดจากการสะสมของของเหลว) ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้สามารถรักษาให้หายได้ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ และน้ำยาบ้วนปากที่มียาฆ่าเชื้อโรค หากปัญหาเหล่านี้ยังคงเกิดขึ้นต่อเนื่อง ทันตแพทย์จะแนะนำให้คุณถอนฟันกรามซี่นั้นออก

วิธีถอนฟันคุด
ทันตแพทย์เป็นผู้ดำเนินการถอนฟัน หรือหากจำเป็นจริงๆ ในบางกรณีทันตแพทย์อาจส่งให้ทันตแพทย์เฉพาะทางด้านศัลยกรรมเป็นผู้รักษาให้

ก่อนเริ่มกระบวนการ ทันตแพทย์จะฉีดยาระงับประสาทเฉพาะที่เพื่อให้พื้นที่โดยรอบฟันชาเสียก่อน ในระหว่างการถอนฟัน ท่านจะรู้สึกเพียงแรงดันจากการที่ทันตแพทย์พยายามดันฟันไปมาเพื่อทำให้กระดูกรอบฟันคลายตัว

ในบางกรณีอาจมีการผ่าเหงือกและอาจมีการตัดฟันของคุณออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ ก่อนการถอนออกเรียกขั้นตอนนี้ว่า การผ่าฟันคุด นั่นเอง ระยะเวลาของการถอนฟันนั้นไม่สามารถกำหนดเวลาที่แน่นอน ขึ้นอยู่กับความยากง่ายของตำแหน่งที่ัฟันคุดฝังตัวรวมทั้งความพร้อมของแต่ละบุคคล บางกรณีอาจใช้เวลาเพียงแค่ไม่กี่นาที ขณะที่บางรายอาจต้องใช้เวลามากกว่า 20 นาทีก็เป็นได้
หลังจากที่หมอฟันถอนฟันกรามออก คุณจะมีอาการบวมและรู้สึกไม่สบายทั้งภายในและภายนอกช่องปากในช่วง 1-3 วันแรก และบางรายอาจยาวนานเป็นสัปดาห์ก็ได้

ภาวะข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
เช่นเดียวกับกระบวนการผ่าตัดอื่นๆ การถอนฟันกรามซี่สุดท้ายมีความเสี่ยงมากมายรวมถึงการติดเชื้อ หรือการฟื้นตัวที่ล่าช้า ทั้งสองภาวะนี้มักจะเกิดขึ้นหากคุณสูบบุหรี่ระหว่างอยู่ในช่วงพักฟื้น

ภาวะแทรกซ้อนอีกประการที่เป็นไปได้คือ “กระดูกเบ้าฟันแห้ง” ซึ่งก่อให้เกิดความรู้สึกปวดบริเวณเหงือก หรือกราม บางกรณีก็อาจมีกลิ่น หรือรสแปลกๆ ออกมาจากเบ้าฟันนั้น ภาวะกระดูกเบ้าฟันแห้งมักจะเกิดขึ้นหากท่านไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำหลังการถอนฟันที่ทันตแพทย์ชี้แจงไว้

อีกทั้งยังมีความเสี่ยงเล็กน้อยที่จะส่งผลให้เส้นประสาทเสียหาย ซึ่งก่อให้เกิดความเจ็บปวด คัน หรือชาที่ลิ้น ริมฝีปากล่าง คาง และฟันกับเหงือกชั่วขณะ แต่ในบางกรณีภาวะนี้ก็สามารถเกิดขึ้นถาวรได้

อ่านเพิ่มเติม : ฟันคุดคืออะไร จะรู้อย่างไรว่ามีฟันคุด กันต่อได้ที่
Website : https://www.honestdocs.co/tooth-extraction


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)