Author Topic: ผ่าฟันคุด เป็นอย่างไร? คู่มือการผ่าฟันคุดที่ครบถ้วนที่สุด  (Read 268 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline guupost

  • Platinum Member
  • ****
  • Posts: 5524
  • Karma: +0/-0



ผ่าฟันคุด เป็นอย่างไร? คู่มือการผ่าฟันคุดที่ครบถ้วนที่สุด
การถอน หรือผ่าฟันคุด ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด แถมยังป้องกันอาการปวดและลดอาการแทรกซ้อนอื่นๆ ของฟันข้างเคียงได้
คนโดยมากจะมีฟันกรามทั้งหมด 4 ซี่ แต่ละซี่จะอยู่เป็นฟันซี่สุดท้ายของแต่ละข้าง เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวไม่มีช่องว่างเพียงพอ จึงทำให้บางครั้งฟันกรามซี่ในสุดสามารถโผล่พ้นออกมาได้เพียงบางส่วน หรือไม่สามารถโผล่พ้นออกมาได้เลย กรณีแบบนี้จะเรียกกันว่า "ฟันคุด" หนึ่งในสาเหตุการปวดฟันและเหงือกอย่างรุนแรง บางรายถึงขั้นนอนไม่ได้ ควรไปพบหมอฟันเมื่อไร?
โดยทั่วไปแล้วหมอฟันจะแนะนำให้พบทันตแพทย์อย่างสม่ำเสมอทุกๆ 6 เดือน แต่ถ้าหากมีอาการเจ็บปวดเหงือกและฟันอย่างรุนแรง ท่านควรไปพบทันตแพทย์โดยเร็ว ทันตแพทย์จะตรวจฟันและให้คำแนะนำว่า ควรจัดการกับฟันเจ้าปัญหานี้ยังไง

เมื่อพิจารณาแล้วว่า คุณมีปัญหาฟันคุดและควรถอนออกจึงจะมีการถ่ายภาพเอกซเรย์ช่องปากเพื่อให้ทันตแพทย์เห็นภาพตำแหน่งของฟันดังกล่าวได้ชัดเจนขึ้น

เหตุใดจึงควรถอน หรือผ่าฟันคุดออก?
กรณีฟันกรามซี่สุดท้ายเกิดอาการคุด หรือไม่โผล่พ้นจากเหงือกโดยสมบูรณ์ซึ่งทำให้เกิดปัญหาช่องปากตามมาได้ ด้วยเหตุว่าเกิดการหมักหมมของเศษอาหารและเชื้อโรคที่อยู่บนตัวฟันส่วนที่โผล่ออกมาจนเกิดคราบจุลินทรีย์ขึ้นส่งผลให้เกิดปัญหาต่างๆ ดังนี้
1. ฟันผุ มีสาเหตุมาจากจุลินทรีย์ย่อยอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นกรด ทำลายชั้นเคลือบฟัน และเข้าไปทำลายชั้นเนื้อฟันด้วย หากปล่อยไว้จนรอยผุลึกเข้าไปถึงโพรงประสาทจะเกิดอาการปวดฟันอย่างรุนแรงได้ ยิ่งไปกว่านั้นฟันผุยังสามารถแพร่กระจายไปยังฟันซี่ที่อยู่ใกล้เคียงได้ด้วย
2. โรคเหงือก(หรือโรคปริทันต์อักเสบ) โรคนี้เกิดขึ้นเมื่อคราบจุลินทรีย์ปล่อยสารพิษที่ก่อความระคายเคืองต่อเหงือกออกมาจนทำให้เหงือกแดง บวม และสร้างความเจ็บปวด โรคเหงือกยังส่งผลต่อฟันและกระดูกรอบฟันกรามซี่สุดท้ายได้เช่นกัน
3. เหงือกคลุมฟันอักเสบ ภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อคราบจุลินทรีย์ทำให้เนื้อเยื่ออ่อนรอบฟันเกิดการติดเชื้อ
4. เซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ ภาวะติดเชื้อที่กระพุ้งแก้ม ลิ้น หรือลำคอ
5. ฝีที่ฟัน การสะสมของหนองภายในฟันกราม หรือเนื้อเยื่อโดยรอบ ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
6. ซีสท์และเนื้องอก ภาวะนี้พบได้ยาก จะพบในกรณีที่ปล่อยให้เหงือกอักเสบและบวมออกจนกลายเป็นก้อนซีสต์ (การบวมเกิดจากการสะสมของของเหลว) ปัญหาเหล่านี้สามารถรักษาได้หายได้ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ และน้ำยาบ้วนปากที่มียาฆ่าเชื้อโรค หากปัญหาเหล่านี้ยังคงเกิดขึ้นต่อเนื่อง ทันตแพทย์จะแนะนำให้ท่านถอนฟันกรามซี่นั้นออก

วิธีการถอนฟันคุด
หมอฟันเป็นผู้ดำเนินการถอนฟัน หรือหากจำเป็นจริงๆ ในบางกรณีหมอฟันอาจส่งให้ทันตแพทย์เฉพาะทางด้านศัลยกรรมเป็นผู้รักษาให้

เข้าอ่านบทความเรื่องการ ผ่าฟันคุด ต่อได้ที่ เว็บไซต์ : https://www.honestdocs.co/tooth-extraction


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)