Author Topic: ญี่ปุ่นแจ๋ว เปิดทางผู้ใช้เปลี่ยนเพลงไอพ็อดด้วยการแลบลิ้น  (Read 1015 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Reporter

  • Moderator
  • Gold Member
  • *
  • Posts: 1093
  • Karma: +8/-0
  • Gender: Male
    • ซ่อมคอมเชียงใหม่



ญี่ปุ่นพัฒนาอุปกรณ์ใหม่ที่ทำให้ผู้ใช้สามารถสั่งการอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์นานาชนิด ตั้งแต่เครื่องเล่นเพลงไอพ็อดไปจนถึงเครื่องซักผ้า ด้วยการกระพริบตา ยิ้ม เลิกคิ้ว รวมถึงการแลบลิ้น
       
       อุปกรณ์ไฮเทคนี้ได้ชื่อเรียกว่า "Mimi Switch" หรือ "Ear Switch" มองภายนอกดูเหมือนหูฟังธรรมดา แต่ภายในมีการฝังเซ็นเซอร์อินฟราเรดเพื่อตรวจจับการเคลื่อนไหวภายในหู ซึ่งจะเกิดขึ้นตามลักษณะการเคลื่อนไหวบนใบหน้า โดยอุปกรณ์นี้จะเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ขนาดจิ๋วเพื่อส่งสัญญาณควบคุมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ซึ่งผู้พัฒนาการันตีว่าสามารถนำไปใช้เป็นรีโมต"แฮนด์ฟรี"ของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิดโดยไม่จำเป็นต้องใช้มือ
       
       คาสุฮิโร ทานิคุชิ นักวิจัยด้านวิทยาศาตร์วิศวกรรมจากมหาวิทยาลัยโอซาก้า ผู้ประดิษฐ์ Ear Switch ระบุว่าผู้ใส่สามารถเปิดไฟในห้อง หรือเปิดการทำงานเครื่องซักผ้าเพียงขยับริมฝีปากเล็กน้อย
       
       "ผู้ใช้ไอพ็อดก็สามารถเล่นหรือหยุดเพลงได้ด้วยการแลบลิ้น เหมือนในภาพถ่ายอันโด่งดังของไอสไตน์ อาจถลึงตาให้โตมากขึ้นเพื่อสั่งเลื่อนเพลงขึ้น และกระพริบตาขวาเพื่อเลื่อนเพลงลงได้ อุปกรณ์นี้สามารถตั้งโปรแกรมเพื่อทำงานกับพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงบนใบหน้าได้หลากหลาย ทั้งการยิ้มและการขยับจมูก"
       
       Ear Switch ยังสามารถเก็บและแปลข้อมูลเพื่อรับรู้ความต้องการของผู้ใช้แต่ละคน โดยจะตรวจจับการเคลื่อนไหวธรรมชาติของผู้ใช้แต่ละรายไว้ และนำไปเปรียบเทียบพฤติกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อทำให้ระบบรับทราบว่าการเคลื่อนไหวนั้นๆไม่ใช่การเคลื่อนไหวตามปกติ
       
       ทานิคุชิเชื่อว่าอุปกรณ์นี้จะสามารถนำไปใช้เพื่อการพักผ่อนได้ดี เช่นการเปลี่ยนเพลงที่ฟังอยู่ขณะอ่านหนังสือโดยไม่ต้องใช้มือ รวมถึงสามารถนำไปใช้สร้างแอปพลิเคชันเพื่อการดำเนินชีวิตที่ง่ายขึ้นและปลอดภัยมากขึ้น เช่นระบบช่วยเหลือผู้สูงอายุและผู้พิการ
       
       แผนการพัฒนาขั้นต่อไปคือ การจดลิขสิทธิ์การพัฒนาอุปกรณ์นี้ทั้งในญี่ปุ่นและประเทศอื่นทั่วโลก ขณะเดียวกันก็จะพัฒนาให้ระบบสามารถทำงานในแบบไร้สาย พร้อมกับการหากลุ่มทุนเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ในเชิงพาณิชย์ ซึ่งคาดว่าจะกินเวลาราว 2-3 ปี
       
       ขอบคุณภาพจากเอเอฟพี


ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)