Author Topic: กก.ไอซีทีสภาหอฯกระทุ้งรัฐทุกทาง สร้างโครงข่ายหลักเป็นวาระแห่งชาติ  (Read 967 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Reporter

  • Moderator
  • Gold Member
  • *
  • Posts: 1093
  • Karma: +8/-0
  • Gender: Male
    • ซ่อมคอมเชียงใหม่

      คณะกรรมการไอซีทีสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย จี้รัฐบาลผลักดันการสร้างโครงข่ายหลักด้านโทรคมนาคมเป็นวาระแห่งชาติ ผ่านตามระเบียบขั้นตอน หลังเข้าพบ รมว.ไอซีที และเสนอสภาพัฒน์เป็นยุทธศาสตร์ต้นๆ ของประเทศไปแล้ว เชื่อหากโครงข่ายเกิดธุรกิจที่เกี่ยวกับไอซีทีเกิดอีกเพียบ โตปีละกว่า 30%
       
       นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที ไม่ใช่สำคัญแค่เรื่องธุรกิจเท่านั้น แต่จะเป็นตัวที่ทำให้ประเทศมีศักยภาพแข่งขันในระดับสากลได้ นอกจากนี้ ยังทำให้ธุรกิจต่างๆ เติบโตไปด้วย เพราะไอซีทีเป็นหัวใจหลักที่จะผลักดันเศรษฐกิจอื่นๆ ให้ขับเคลื่อนไปในอนาคต ซึ่งรัฐบาลนี้ก็พยายามผลักดันให้นโยบายนำไปสู่ภาคปฏิบัติ รวมถึงเรื่องของกฎหมายที่มีความซับซ้อนให้เกิดคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น
       
       “เราหวังว่าการเสนอแนะในสิ่งที่หอการค้าไทยและสภาหอการค้าฯทำสรุปจากการเสวนาและการประชุมเพื่อเสนอรัฐบาล จะนำไปสู่การพัฒนาและแก้ไขต่อไป”
       
       นายสมบัติ อนันตรัมพร กรรมการ คณะกรรมการธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และนายกสมาคมเคเบิ้ลลิ่งไทย กล่าวว่า โครงข่ายสื่อสารโทรคมนาคม หรือโครงข่ายสื่อสารความเร็วสูง (บรอดแบนด์ เน็ตเวิร์ก) ก็คือโครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสง หรือไฟเบอร์ออปติกหลักของประเทศ ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ผ่านมาถูกออกแบบให้เอื้อประโยชน์เฉพาะกิจการของเจ้าของโครงการเท่านั้น
       
       แต่สิ่งที่คณะกรรมการไอซีทีสภาหอฯต้องการให้เกิดคือโครงข่ายโทรคมนาคมหลักที่เป็นของรัฐบาลลงทุนเอง เพื่อเป็นถนนไอซีทีของประเทศไทยที่เข้าถึงทุกจังหวัดและอำเภอ เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการปกครอง เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ นอกจากนี้ โครงข่ายดังกล่าวยังจะก่อให้เกิดการขยายตัวของธุรกิจไอซีทีอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง สามารถกระจายความเจริญไปสู่ทุกภาคส่วนของสังคมได้อย่างรวดเร็ว
       
       นายสมบัติกล่าวว่า เรื่องดังกล่าวทางคณะกรรมการไอซีทีของสภาหอฯต้องการผลักดันผลักดันให้รัฐบาลทำเป็นวาระแห่งชาติ และจะจี้ตลอดเพื่อให้เรื่องนี้เกิดขึ้นอย่างจริงจัง โดยคณะกรรมการไอซีทีของสภาหอฯจะมีการประชุมในวันที่ 10 มี.ค.นี้ เพื่อนำข้อสรุปที่ได้นำเสนอผ่านคณะกรรมการร่วม (กกร.) ในเดือนเม.ย.นี้ ก่อนนำเสนอต่อนายกรัฐมนตรีโดยตรง หลังมีการเข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีทีเพื่อเรียนให้ทราบไปเมื่อวันที่ 16 ก.พ.ที่ผ่านมา และได้เสนอกับทางสภาพัฒน์เพื่อให้ผลักดันยุทธศาสตร์ต้นๆ ของประเทศ ซึ่งทางสภาพัฒน์ได้รับฟังไปแล้วก่อนหน้านี้
       
       “จะเห็นได้ว่าเราผลักดันทุกทางในเรื่องนี้ ซึ่งความหมายของคณะกรรมการไอซีทีสภาหอฯที่ผลักดันโครงข่ายหลักนี้เพื่อให้เกิดคือต้องการให้เป็นถนนเมนขนาดใหญ่ ส่วนจะกระจายไปเรียกว่าแอ็กเซส เน็ตเวิร์กที่จะใช้กับแอปพลิเคชันอะไรก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นไฟเบอร์ออปติก ไวร์เลส ไวแมกซ์ เป็นต้น”
       
       ก่อนหน้านี้ทางหอการค้าไทยได้มีการศึกษาเกี่ยวกับการลงทุนเรื่องโครงข่ายหลักด้านโทรคมนาคมของประเทศพบว่าจะต้องใช้งบประมาณ 1 หมื่นล้านบาทที่จะให้ครอบคลุมทั่วประเทศ เพราะถ้าพิจารณาจากการเช่าโครงข่ายของหน่วยงานรัฐจากเอกชนตกปีละ 5-8 พันล้านบาท โครงการดังกล่าวไม่ใช่ว่ารัฐบาลไม่มีเงินลงทุน ถ้าประหยัดงบส่วนที่เป็นค่าเช่าแล้วหันมาลงทุนเองจะคุ้มค่ากว่า และระยะเวลาในการสร้างจะประมาณ 3 ปี และเทคโนโลยีมีอายุการใช้งานได้กว่า 25 ปี ซึ่งเรื่องนี้มีพิมพ์เขียวหรือบลูพรินต์อยู่แล้ว ส่วนความเร็วก็สร้างไว้แบบไม่จำกัด และหากตรงนี้เกิดจะทำให้อุตสาหกรรมไอซีทีขยายตัวถึงปีละ 30% ที่ประเมินกันว่าปีนี้จะโตแค่ 5% เป็นเพราะไม่มีตัวผลักดันธุรกิจ
       
       “ถ้าประหยัดค่าเช่าจากเอกชนเชื่อว่า 3 ปีก็ทำได้แล้ว ซึ่งจะเป็นรูปแบบไหนก็ได้ แต่ถ้าเป็นความเห็นส่วนตัวรัฐบาลต้องลงทุนเอง เพื่อให้โครงข่ายแห่งชาติ เพราะรัฐบาลสามารถสั่งการได้อยู่ทุกหน่วยงานอยู่แล้ว”
       
       กรรมการไอซีทีสภาหอฯกล่าวว่า เคยมีการหารือกันเกี่ยวกับการนำโครงข่ายทีโอทีมาอินทิเกรตเข้ากับ กสท โทรคมนาคม เพื่อให้เกิดประโยชน์ แต่เมื่อพิจารณาแล้วการผสมผสานโครงข่าย 2 องค์กรเข้าด้วยกัน เทียบกับการลงทุนใหม่แล้ว การลงทุนใหม่คุ้มค่ากว่า เพราะ 2 องค์กรเองก็จะมีการแปรรูป นอกจากนี้ ยังมีองค์กรของรัฐที่มีโครงข่ายประเภทนี้อยู่ เช่น การไฟฟ้า ซึ่งแต่และรายก็ทำเพื่อบริการของตัวเองเท่านั้น
       
       แนวโน้มธุรกิจโทรคมนาคมโตต่อเนื่อง
       
       นายอิศร์ เตาลานนท์ กรรมการ คณะกรรมการไอซีที สภาหอฯ กล่าวว่า แม้เศรษฐกิจโดยรวมอาจจะติดลบ แต่เชื่อว่าธุรกิจโทรคมนาคมยังคงเติบโตต่อเนื่องในปี 2552  อย่างช่วงปลายปี 2551 ที่มีการคาดการณ์กันว่าเป็นช่วงที่แย่ที่สุดของเศรษฐกิจไทย แต่ธุรกิจโทรคมนาคม ตั้งแต่อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เคเบิลทีวี หรือมือถือยังโตเป็นบวก แต่การเติบโตในปีนี้จะไม่สูงเหมือนปีก่อนๆ
       
       เหตุที่ธุรกิจโทรคมนาคมยังโต เพราะในช่วงที่เศรษฐกิจถดถอยคนทั่วไปจะอยู่บ้านมากขึ้น ดูทีวีมากขึ้น แต่ยังมีความจำเป็นในการติดต่อสื่อสาร โดยเลือกใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และมือถือ เพราะราคาถูก
       
       สำหรับธุรกิจต่างๆ อย่างมือถือมีการโตอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะกลุ่มบริการเสริมที่ไม่ใช่เสียง หรือนอน-วอยซ์ ทั้ง 3 ค่าหลักถือชะลอการลงทุนเพื่อรอระบบ 3 จี อย่างไรก็ตาม ยังมีความไม่แน่นอนในการออกใบอนุญาต 3จีอยู่คอนข้างมาก เพื่อกระตุ้นการลงทุนทางภาครัฐควรจะกำหนดเวลาการออกใบอนุญาต 3จี ให้แน่นอนและเร็วที่สุด
       
       ธุรกิจอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ยังโตอยู่ในอัตราที่สูงจากฐานผู้ใช้ที่ยังต่ำเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยการเติบโตนี้จะอยู่ที่ต่างจังหวัดเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม ผู้ให้บริการต่างๆ คงไม่กล้าลงทุนอย่างเต็มที่เพราะการลงทุนกับเครือข่ายบรอดแบนด์ในต่างจังหวัดทำได้ช้า และไม่คุ้มต่อการลงทุน เหมือนกับมือถือที่ผู้ให้บริการรอความชัดเจนจากภาครัฐเรื่อง 3จี ผู้ให้บริการเน็ตบรอดแบนด์ก็รออนุมัติเรื่องไวแมกซ์
       
       แนวโน้มธุรกิจอุปกรณ์ไอซีทีโตเล็กน้อย
       
       นายสมชัย สิทธิชัยศรีชาติ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสไอเอส ดิสทริบิวชั่น (ประเทศไทย) กล่าวว่า แม้คาดว่าจะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยในปีนี้ เชื่อว่ามูลค่าตลาดไอซีทียังคงขยายตัวได้เล็กน้อย เพราะจากการสำรวจของสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือซิป้า รวมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือเนคเทค และเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย หรือซอฟต์แวร์พาร์คพบว่า ไอซีทีปี 2551 มีมูลค่ารวมอยู่ที่ 542,854 ล้านชิ้น เพิ่มขึ้น จากปี 2550 ประมาณ 8.3% ส่วนมูลค่าตลาดไอซีทีปีนี้คาดว่าจะโตอีก 5.2%
       
       เหตุผลที่เชื่อว่าอุตสาหกรรมไอซียังคงเติบโตได้อีก เพราะเป็นอุตสาหกรรมใหม่ ที่ยังอยู่ในช่วงการเติบโตและเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างความรู้ เพิ่มประสิทธิภาพให้แก่ผู้ใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นการใช้ส่วนตัว หรือการใช้ของผู้ประกอบการ ทำให้มีความต้องการสูง ประกอบกับการมีคอมพิวเตอร์ใช้ทั้งในครัวเรือนและในสถานประกอบการไทยยังอยู่ในอัตราต่ำ เพราะจากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า สถานประกอบการไทยมีคอมพิวเตอร์เพียง 2% และครัวเรือน 18% ดังนั้น ตลาดตรงนี้ยังเปิดกว้าง
       
       อุปกรณ์ไอซีทีที่มีการเติบโตสูงจะเป็นคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก ซึ่งคาดว่าจะมีประมาณ 1.5 ล้านเครื่องในปีนี้ โตขึ้นจากปีที่ผ่านมา 21%  และในปีนี้ยอดขายโน้ตบุ๊กจะมากกว่าคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อป และอัตราการโตของคอมพิวเตอร์จะผลักดันอุปกรณ์ต่อพ่วงและบริการต่างๆ ให้เพิ่มขึ้นตาม เช่น อุปกรณ์เครือข่าย ที่มีไว้สำหรับการเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต
       
       บริการต่อเชื่อมด้านข้อมูลความเร็วสูงที่มีการขยายตัว ทั้งในแง่พื้นที่ให้บริการและความเร็วที่สูงขึ้น รวมทั้งบริการไร้สายแบบใหม่ๆ เช่น 3จี ไวแมกซ์ ที่อาจจะเริ่มให้บริการบางส่วนในปีนี้ก็จะส่งเสริมอุปกรณ์ไอซีทีให้โตขึ้นได้อีก
       
       บริการต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนเน็ตก็มีส่วนช่วยเพิ่มประโยชน์ให้ผู้ใช้มากขึ้น ช่วยทำให้ความต้องการทั้งอุปกรณ์ไอซีที และบริการต่อเชื่อมเพิ่มมากขึ้น ทำให้โดยรวมแล้วเชื่อว่าปีนี้อุตสาหกรรมไอซีทีโตขึ้น
       
       แนวโน้มธุรกิจซอฟต์แวร์เติบโตแบบถดถอย
       
       นายสมเกียรติ อึงอารี นายกสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย (เอทีเอสไอ) กล่าวว่า ปัจจุบันสภาพของตลาดอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยปี 2551 มีขนาดของตลาดโดยรวมประมาณ 6.29 หมื่นล้านบาท มีอัตราการโต 11.2% แต่ปีนี้ได้มีการประมาณการว่าตลาดอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยจะมีการเติบโตที่ถดถอยโดยมีขนาดของตลาดโดยรวมอยู่ที่  6.6 หมื่นล้านบาท หรือมีการโตอยู่ที่ 4.9% ประกอบกับตัวเลขการลงทุนในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยก็อยู่ในระดับต่ำมาก คือปี 2551 มีมูลค่าการลงทุนเพียง 376 ล้านบาท และมูลค่าการส่งออกซอฟต์แวร์ไทยอยู่ที่ 4.5 พันล้านบาท
       
       “อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยเป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจเช่นกัน เพราะการลงทุนด้านไอทีของหน่วยงานธุรกิจต่างๆ ลดลง คนในอุตสาหกรรมจำนวนมากว่างงาน เอทีเอสไอจึงได้มีมาตรการดันซอฟต์แวร์ไทยให้โตโดยหวังว่า 2 ปีจะขยายส่วนแบ่งตลาดในประเทศได้ 50% รวมถึงการสร้างซัปพลายเชนที่แข็งแกร่งสู่ตลาดโลก”

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)