Author Topic: เนคเทคซุ่มพัฒนาโอเอสแห่งชาติไทย  (Read 1733 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline IT

  • Moderator
  • Gold Member
  • *
  • Posts: 1175
  • Karma: +6/-0
  • Gender: Male
  • Assist. I.T. Manager
    • mv

ผู้บริหารเนคเทคเผย กำลังซุ่มพัฒนาโอเอสหรือระบบปฏิบัติการแห่งชาติไทยอยู่ในขณะนี้ เชื่อความต่างทางภาษาและการใช้งานของคนไทยทำให้โอเอสแห่งชาติจำเป็นต้องเกิด ไม่สามารถระบุในขณะนี้ได้ว่าโอเอสแห่งชาติจะแจ้งเกิดเมื่อไร แต่อย่างน้อยจะต้องผลักดันตัวเลขผู้ใช้งานโอเพ่นซอร์สจาก 1 เปอร์เซ็นต์ในขณะนี้ให้เพิ่มเป็น 10 เปอร์เซ็นต์เสียก่อน
       
       ดร.วิรัช ศรเลิศล้ำวาณิช รักษาการผู้ช่วยผู้อำนวยการ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กล่าวให้สัมภาษณ์ในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงการส่งเสริมการใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ระหว่างเนคเทคและ 5 บริษัทเอกชนได้แก่ บริษัท เอสวีโอเอ จำกัด (มหาชน) บริษัท โพเวล คอมพิวเตอร์ จำกัด บริษัท ซิเน็ค ประเทศไทย จำกัด(มหาชน) กลุ่มบริษัท ดีคอมพิวเตอร์ จำกัด และบริษัท ไอที เบเกอรี่ จำกัด ว่าข้อตกลงที่เกิดขึ้นคือก้าวแรกของการสร้างโอเอสแห่งชาติ ซึ่งมีโค้ดเนมอย่างไม่เป็นทางการแล้วว่า Ecolonux (อีโคโลนุกซ์)
       
       "เรื่องนี้ยังไม่เคยบอกใคร Ecolonux มาจากคำว่า Ecology รวมกับคำว่า Linux หมายถึงลินุกซ์ในระบบนิเวศซึ่งมีหลายส่วนรวมอยู่ด้วยกัน ประเทศไทยจำเป็นต้องมีโอเอสแห่งชาติ เราต้องมี font ของเรา มีพจนานุกรมของเรา เหล่านี้ทำให้เนคเทคต้องการทำลินุกซ์สำหรับประเทศไทย"
       
       ดร.วิรัชระบุว่า ปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้โอเอสแห่งชาติไทยเกิดได้ จำนวนผู้ใช้ซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สของประเทศไทยจะต้องมีสัดส่วนอย่างน้อย 10 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเชื่อว่าจะต้องใช้เวลา 2 ปีนับจากนี้ ซึ่งประเทศไทยมีสัดส่วนผู้ใช้โอเพ่นซอร์สราว 1 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น แต่การใช้งานซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สที่รันบนวินโดวส์เช่น ไฟร์ฟ็อกซ์ นั้นเพิ่มขึ้นสูงจนอยู่ที่ราว 20-30 เปอร์เซ็นต์
       
       "ต้องทำให้ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ คิดว่า 2 ปีต้องทำได้ กลยุทธ์ที่ใช้คือการร่วมมือกับ 5 บริษัท Customize โอเพ่นซอร์สสู่ตลาดโลคอล ขยายการใช้ซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สในตลาดฮาร์ดแวร์ ขณะเดียวกันก็ทำหลักสูตรให้ความรู้ทั้งในส่วนผู้ใช้ทั่วไป ผู้ดูแลระบบ และนักพัฒนา มีการให้ใบประกาศนียบัตรเพื่อให้เป็นที่รู้จัก ผมไม่เคยหมดหวัง ไม่เคยท้อ ที่โอเพ่นซอร์สขยายตัวได้ขนาดนี้ในประเทศไทยก็ภูมิใจแล้ว ผมมองว่าถึงไทยเราจะมีนักพัฒนา มีผู้ใช้ และมีการประชาสัมพันธ์โอเพ่นซอร์สแล้ว แต่จุด่อนอยู่ที่ภาพรวมการพัฒนาทั้งประเทศยังไม่เสถียร ต้องอยู่ที่รัฐบาล ก็ตลกดีที่ผมเป็นข้าราชการแต่ต้องมาขอร้องรัฐบาล"
       
       ดร.วิรัชให้ข้อมูลว่าผู้ร่วมโครงการพัฒนาโอเอสแห่งชาติในขณะนี้เป็นบุคลากรเนคเทคราว 10 คน ร่วมกับเครือข่ายนักพัฒนาต่างๆ และภาคการศึกษา มีการจัดงานรวมพลนักพัฒนาแบบพักแรมในชื่อ CodeFes มาแล้ว 4 ครั้ง บนงบประมาณพัฒนาซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส 5-6 ล้านบาทต่อปี
       
       กลยุทธ์การร่วมมือกับ 5 บริษัทเอกชนที่ดร.วิรัชกล่าวถึงนั้น เนคเทคได้จัดพิธีลงนามร่วม 5 บริษัทจำหน่ายคอมพิวเตอร์ในประเทศไทยแล้ว ด้วยโครงการนี้ เนคเทคได้พัฒนาลินุกซ์ Core Ubuntu ให้ผู้ค้าสามารถติดโลโก้สินค้าของตนเองบนโอเอสเพื่อวางจำหน่าย มีการพัฒนาแผ่นกู้ข้อมูลให้ผู้ใช้สามารถติดตั้งโปรแกรมได้ใหม่เหมือนที่ออกจากโรงงาน ผู้ผลิตสามารถเลือกติดตั้งทั้งโปรแกรมโอเพ่นออฟฟิศ โปรแกรมแต่งภาพ และเกม เชื่อว่าโครงการนี้จะช่วยผลักดันการใช้งานซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สในหัวเมืองใหญ่ทั่วประเทศ เพื่อลดการละเมิดลิขสิทธิ์ ลดการเสียค่าลิขสิทธิ์ และส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สเพื่อการพัฒนาธุรกิจซอฟต์แวร์ที่เข้มแข็ง
       
       "การวัดผลโครงการนี้ในปีแรก 5 บริษัทนี้จะต้องส่งข้อมูลให้เนคเทคว่าขายไปแล้วกี่เครื่อง ต้องมีการรวบรวมคำถามหรือ FAQ เพื่อเอามาจัดทำเป็นฐานข้อมูลในการให้บริการคอลล์เซ็นเตอร์ในอนาคต" ดร.วิรัชกล่าวโดยเชื่อว่าจะมีการขยายความร่วมมือไปยังผู้ผลิตคอมพิวเตอร์แบรนด์ไทยรายอื่นต่อไป
       
       จากการสอบถามนายวุฒิพันธ์ อภิชาตวโรดม ผู้จัดการฝ่ายวิจัยและพัฒนาของดีคอมพ์กรุ้ป เชื่อว่าเฉพาะแบรนด์ดีคอมพ์ บริษัทจะสามารถจำหน่ายคอมพิวเตอร์พีซีซึ่งติดตั้งโปรแกรมโอเพ่นซอร์สจากโครงการนี้ได้อย่างน้อย 2,000 เครื่องภายใน 6 เดือน หรือประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ของยอดขายคอมพิวเตอร์โลคอลแบรนด์ดีคอมพ์
       
       ปัจจุบัน คอมพิวเตอร์แบรนด์ไทยคิดเป็นสัดส่วน 20 เปอร์เซ็นต์ของตลาดคอมพิวเตอร์พีซีรวม

ที่มา: http://www.manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)