Computer & Services > Knowledge

รู้จักกับ Blue Screen of Death

<< < (2/4) > >>

IT:
Error : NO_MORE_SYSTEM_PTES (Error Code : Stop 0x0000003F)
0x3F อาจเกิดขึ้นจาก Page Table Entries (PTE) ของระบบเกิดการทำงานผิดพลาด หรือ ไม่ปะติดปะต่อกันเมื่อระบบทำงานประมวลผลชุดคำสั่งที่มีการใช้ตัวเลขจำนวนมากกในการประมวลผล
หรือ อาจเกิดจำดีไวซ์ไดรเวอร์ ที่ติดตั้งนั้นไม่สามารถบริหารหน่วยความจำได้อย่างมีประสิทธิภาพได้
หรือ อาจเกิดจากโปรแกรมบางตัวจัดสรรหน่วยความจำที่เคอร์แนลต้องการใช้งานไม่ถูกต้อง

สาเหตุและหนทางแก้ปัญหาที่อาจเป็นไปได้
0x3F สามารถเกิดขึ้นหลังจากที่คุณติดตั้งไดรเวอร์ที่ไม่สมบูรณ์ ถ้าเออเรอร์นั้นแสดงรายละเอียดของไฟล์หรือชื่อของส่วนที่ทำให้เกิดข้อผิดพลาด ก็ให้แก้ไขด้วยวิธีเดิมๆ ในข้างต้น คือการยกเลิกการใช้งาน หรือกลับไปใช้ไดรเวอร์ตัวเก่า เป็นต้น

จริงๆ แล้ว PTEs นั้นอาจจะเหลืออีกเพียบ แต่เออเรอร์นี้ก็อาจจะเกิดขึ้นได้อีก เพราะว่าขนาดของ contiguous memory block ที่ไดรเวอร์ หรือ หน่วยความจำต้องใช้งานไม่เพียงพอ วิธีแก้ลองอัพเดตไดรเวอร์ตัวใหม่ที่สมบูรณ์ หรือโปรแกรมเวอร์ชันใหม่ๆ และให้ลองตรวจสอบจากเอกสารติดตั้งโปรแกรมดังกล่าวด้วย เกี่ยวกับ Minimum system reqirements ว่าต้องการเท่าใด

อีกสาเหตุที่อาจจะเป็นไปได้ก็น่าจะมาจากการที่มีความต้องการใช้งาน PTEs มากเกินค่าที่กำหนดไว้ วิธีแก้ไขก็ต้องปรับเปลี่ยนให้อยู่ในสภาพแวดล้อมแบบเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งในวินโดวส์ เอ็กซ์พีโปรเฟสชันแนลนั้นมีเครื่องมือที่จะให้เราสามารถขยายค่าของ PTEs ได้ตามต้องการ

ข้อควรระวัง
อย่าแก้ไขค่ารีจิสเตอร์เอง หากคุณไม่มีความรู้เพียงพอ เพราะค่ารีจิสเตอร์นั้นอยู่นอกเหนือการป้องกันขั้นพื้นฐานของระบบ ซึ่งหากแก้ไขผิดพลาดอาจจะทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบของท่านได้ ซึ่งรวมถึงการติดตั้งระบบปฏิบัติการใหม่ แต่ถ้าหากจำเป็นต้องแก้ไขจริงๆ แนะนำให้แบ็กอัพรีจิสเตอร์ไว้ก่อนดีกว่านะครับ

ขั้นตอนในการแก้ไขค่า PTEs ในรีจิสทรีทำได้ดังนี้
1. ในช่อง RUN ให้พิมพ์คำว่า "regdit"
2. ใน regedit ให้มองหา sub key ที่มีชื่อว่า HKEY_LOCAL_MACHINE\SYSTEM\CurrentControlSet\Control\Session Manager\Memory Management
3. ดับเบิ้ลคลิกที่ PagedPoolSize และ SystemPages เพื่อดูค่าที่เคยตั้งไว้
4. ถ้าค่าของ PagedPoolSize ไม่เท่ากับศูนย์ ให้ตั้งค่าให้เป็น 0
5. ถ้าค่าของ SystemPages ไม่เท่ากับศูนย์ ให้ใส่ค่า 4000 สำหรับระบบที่มีหน่วยความจำ 128 เมกะไบต์ (หรือน้อยกว่า) และค่า 110000 สำหรับระบบที่มีหน่วยความจำมากกว่า 128 เมกะไบต์ขึ้นไป
6. ปิดโปรแกรมและรีบูตเครื่องใหม่ 

IT:
Error : PAGE_FAULT_IN_NONPAGED_AREA (Error Code : 0x00000050)
0x50 เกิดจากการเรียกใช้ข้อมูลซึ่งมิได้อยู่ในหน่วยความจำ ระบบจะรายงาน
เออเรอร์โค้ดนี้ขึ้นมาเมื่ออ้างถึงค่าบางค่าในเมโมรีแอดเดรสที่ไม่มีอยู่จริง หน่วยความจำในที่นี้รวมไปถึง L2 Cache และ หน่วยความจำในการ์ดแสดงผลด้วย

สาเหตุและหนทางแก้ปัญหาที่อาจเป็นไปได้
ถ้าเออเรอร์นี้เกิดขึ้นมาหลังจากคุณติดตั้งฮาร์ดแวร์ใหม่เข้าไป ให้ถอดหรือเปลี่ยนฮาร์ดแวร์ดังกล่าว ถ้าหากพอจะแก้ไขปัญหานี้ได้ ให้รัน Diagnostic tools เพื่อตรวจสอบความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในบางส่วนของอุปกรณ์

0x50 อาจจะเกิดขึ้นหลังจากคุณได้ติดตั้งดีไวซ์ไดรเวอร์ที่เสียหายลงไปในระบบของคุณ ให้ลองถอดถอนออกจากระบบ หรือกลับไปใช้ไดรเวอร์ตัวที่ไม่ก่อให้เกิดปัญหา
ให้หมั่นอัพเดตไดรเวอร์และซอฟต์แวร์ของอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากๆ เช่น การ์ดแลน การ์ดแสดงผล แต่ถ้าหากว่าอุปกรณ์ดังกล่าวไม่มีรุ่นใหม่เลย ให้ลองใช้ไดรเวอร์รุ่นใหม่ของอุปกรณ์รุ่นที่ใกล้เคียงกัน ยกตัวอย่างเช่น หากคุณมีเครื่องพิมพ์ รุ่น 1100c แล้วทำให้เกิดปัญหา 0x50 ให้ลองหาไดรเวอร์รุ่น 1100A หรือ รุ่น 1000 มาใช้ชั่วคราว อาจจะแก้ปัญหานี้ได้ 

IT:
Error : KERNEL_STACK_INPAGE_ERROR (Error : 0x00000077)
0x77 แสดงถึงข้อมูลซึ่งถูกเรียกใช้จากเวอร์ชวลเมโมรี ไม่สามารถหาพบหรืออ่านไปยังหน่วยความจำได้ หรืออาจจะหมายถึงฮาร์ดิสก์มีความเสียหาย หรือข้อมูลได้ถูกทำลาย หรืออาจจะเป็นไปได้ ที่มีไวรัสอยู่ในระบบ

สาเหตุและหนทางแก้ปัญหาที่อาจเป็นไปได้
0x77 อาจจะเกิดมาจากแบ็ดเซ็กเตอร์ หรือดิสก์คอนโทรลเลอร์มีความผิดพลาด หรือในกรณีที่อาจจะเกิดยากหน่อย คือ ค่า Non page pool หมดสิ้นไปจากระบบเลย ก็อาจทำให้เกิดเออเรอร์นี้ได้ แต่ถ้าจะสืบให้ได้รายละเอียดมากกว่านี่ ให้ดูที่ค่าตัวเลขที่สองและสามของเออเรอร์โค้ดยกตัวอย่างเช่น ถ้าเป็นปัญหาทางด้านความผิดปกติของ I/O เออเรอร์โค้ดหมายเลข0xC0000185 หมายถึงเพจจิงไฟล์นั้นทำงานอยู่บนดิสก์ SCSI ให้ลองตรวจสอบสายเคเบิล และจุดเชื่อมต่อก่อน ถ้าเออเรอ์โค้ดหมายเลข 0xC000009C หรือ 0xC000016A หมายความว่า ไม่พบข้อมูลที่ได้ร้องขอหรือไม่มีอยู่จริง ให้ลองแก้ไขโดยการรีบูตเครื่อง ถ้าคิดว่ามาจากปัญหาเรื่องเกี่ยวกับความเสียหายของดิสก์ให้ลองใช้โปรแกรม " Autochk" เพื่อตรวจสอบ และระบุแบ็ดเซ็กเตอร์ที่เกิดขึ้นบนดิสก์

อีกกรณีที่ทำให้เกิด 0x77 อาจมาจากความผิดพลาดหรือเสียหายของหน่วยความจำที่มีอยู่ในระบบ อาทิ หน่วยความจำหลัก , L2 Cache หรือ หน่วยความจำในการ์ดแสดงผล ให้ลองเปลี่ยนอุปกรณ์เหล่านี้ อาจจะแก้ปัญหาได้
หรืออีกสาเหตุหนึ่งอาจเกิดจากคราบสกปรกที่เกาะอยู่ตามผิวของอุปกรณ์บนเมนบอร์ดก็เป็นไปได้เช่นเดียวกัน 

IT:
Error : MISMATCHED_HAL (Error Code : 0x00000079)
0x79 บ่งบอกถึง hardware abstraction layer (HAL) และชนิดของเคอร์แนล ที่ใช้งานไม่ตรงกัน หรือพูดง่ายๆ ว่าฮาร์ดแวร์ที่วินโดวส์รู้จักไม่ตรงกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้ง โดยส่วนมากเออเรอร์นี้มักจะเกิดมาจากค่า ACPI มีการเปลี่ยนแปลง ยกตัวอย่างเช่น การนำโอเอสที่เป็นแบบ Multi processor มาใช้งานบนเครื่องที่เป็น Single Processor เป็นต้น

สาเหตุและหนทางแก้ปัญหาที่อาจเป็นไปได้
0x79 เกิดจากระบบที่ใช้งานไฟล์ Ntoskrnl.exe หรือ Hal.dll ที่เก่าเกินไป ซึ่งปัญหานี้สามารถแก้ไขได้อย่างง่ายๆ โดยการก๊อบปี้ไฟล์ที่ถูกต้องไปทับไฟล์เดิม ซึ่งไฟล์พวกนี้สามารถหาได้จากแผ่นติดตั้งวินโดวส์เอ็กซ์พีนั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น บนระบบซิงกิ้ลโปรเซสเซอร์ไฟล์เคอร์แนลจะชื่อ Ntoskrnl.exe แต่บนระบบมัลติโปรเซสเซอร์ ไฟล์เคอร์แนลใช้ชื่อว่า Ntkrnlmp.exe เป็นต้น


อีกสาเหตุหนึ่งอาจเกิดจากไบออสไม่ได้กำหนดหมายเลข IRQ ให้กับ ACPI ดังนั้นคุณสามารถแก้ไขได้ด้วยตัวเองโดยการกำหนดค่า IRQ ให้เองภายในไบออสภายใต้หัวข้อ ACPI 

IT:
Error : INACCESSIBLE_BOOT_DEVICE (Error Code : 0x0000007B)
0x7B หมายถึงวินโดวส์ เอ็กซ์พีไม่สามารถเข้าถึงซิสเท็มส์พาร์ทิชัน หรือ บูตโวลุ่ม ในระหว่างเริ่มต้นกระบวนการทำงาน หรืออาจเกิดจากติดตั้งหรือการอัพเกรดไดรเวอร์ของสตอเรจอะแดปเตอร์ผิดรุ่น
พารามิเตอร์ตัวที่สอง ก็มีความสำคัญมากเพราะช่วยขยายความถึง รายละเอียดของเออเรอร์โค้ด 0x7B ยกตัวอย่างเช่น
*0xC000034 หมายถึงดิสก์หรือดิสก์คอนโทรลเลอร์ทำงานล้มเหลว หรือมีการตั้งค่าที่ไม่ถูกต้อง
*0xC000000E หมายถึง Storage-related drivers หรือโปรแกรมบางตัว (ยกตัวอย่าง เช่น tape management software) ไม่คอมแพตทิเบิลกับวินโดวส์ เอ็กซ์พี เป็นต้น

สาเหตุและหนทางแก้ปัญหาที่อาจเป็นไปได้
ถ้าเออเรอร์นี้เกิดหลังจากที่คุณติดตั้งฮาร์ดดิสก์ลูกใหม่ ให้แก้ไขได้โดยการแก้ไขไฟล์ Boot.ini (ปกติจะอยู่ที่ c:\ หรือไดรฟ์อื่นๆ แล้วแต่ว่าวินโดวส์จะติดตั้งไว้ที่ไดรฟ์ใด) และปรับปรุงค่าของ Boot manager เพื่ออนุญาตให้ระบบเริ่มต้นทำงานได้


ให้ตรวจสอบว่าเฟิร์มแวร์ของระบบ ไม่ว่าเป็นของดิสก์คอนโทรลเลอร์ หรือการตั้งค่าไบออสของเมนบอร์ดว่าถูกต้องหรือไม่ หรือในบางกรณีวินโดวส์ เอ็กซ์พีไม่รู้จักอุปกรณ์ดิสก์คอนโทรลเลอร์นั้นๆ ให้ลองหาไดรเวอร์จากผู้ผลิตหรือจากเว็บไซต์เพื่อนำมาติดตั้ง ก็จะสามารถแก้ปัญหานี้ได้ 

Navigation

[0] Message Index

[#] Next page

[*] Previous page

Go to full version