Author Topic: ไซแมนเทคหวั่นบรอดแบนด์ขยายตัว ทำไวรัสแพร่กระจาย  (Read 840 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46027
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai

เผยข้อมูลปี 2009 พบกิจกรรมไม่หวังดีทั่วโลกเพิ่มต่อเนื่อง ช็อค บ็อตเน็ตในเอเชียแปซิฟิคทำงานมากกว่าหมื่นเครื่องต่อวัน แนะองค์กรเช็คความปลอดภัยโครงสร้างระบบข้อมูล อาชญากรไซเบอร์เล็งเล่นงาน ล้วงข้อมูล-เจาะความลับ...

เมื่อวันที่ 21 มิ.ย. นายนพชัย ตั้งไตรธรรม ที่ปรึกษาทางเทคนิคอาวุโส บริษัท ไซแมนเทค คอร์ปอเรชัน เปิดเผยว่า จากการลงทุนบรอดแบนด์และจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้น ทำให้จำนวนการกระทำของผู้ไม่หวังดี (Molicious activity) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา และเปลี่ยนเป้าหมายโจมตีจากผู้ใช้ทั่วไปสู่องค์กร ปัจจุบันยังมีการนำข้อมูลต่างๆ ที่ได้มาโดยผิดกฎหมายไปจำหน่ายอย่างแพร่หลายภายในตลาดใต้ดิน อาทิ ข้อมูลเครดิตการ์ดและธนาคาร ทั้งนี้ ตลาดดังกล่าวมีอัตราการเติบโตต่อเนื่องและไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ

จากข้อมูลของ Global Intelligence Network ของไซแมนเทค พบว่ามีการประมวลผลข้อความอีเมล์กว่า 8 พันล้านฉบับ และมีคำขอต่างๆ ปรากฏบนเว็บกว่า 1 พันล้านรายการต่อวัน โดยข้อมูลในปี 2009 ระบุว่าสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีการโจมตีทางเว็บไซต์ทั่วโลกถึง 34% ขณะที่ จีนเป็นอันดับ 2 ด้วยจำนวนการโจมตี 7% ลดลงจากปี 2008 ที่ 13% ส่วนประเทศไทยมีกิจกรรมไม่พึงประสงค์เป็นอันดับ 6 ของภูมิภาค ด้วยสัดส่วนประมาณ​ 5% นอกจากนี้ ไซแมนเทคตรวจพบโปรแกรมบ็อต ทำงานในคอมพิวเตอร์ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคเฉลี่ย 10,440 เครื่องต่อวัน ลดลงจากปี 2008 ที่เคยตรวจพบถึง 11,683 เครื่องต่อวัน

"การใช้งานเว็บไซต์และอินเทอร์เน็ตในอดีตมีความปลอดภัย เนื่องจากมีรูปแบบเป็นเพียงการแสดงผลข้อมูล ขณะที่ ปัจจุบันมีรูปแบบเคลื่อนไหวและไม่ได้มีเพียงการดาวน์โหลดเดต้า แต่ยังรวมถึงจาวาและแอพพลิเคชัน ทำให้เสี่ยงต่อการติดไวรัสสูงขึ้น ขณะเดียวกัน เป้าหมายในการโจมตียังเปลี่ยนจากผู้ใช้ตามบ้านเป็นความปลอดภัยระดับองค์กร โดยเฉพาะการนำข้อมูลหรือความลับจากองค์กรไปใช้ประโยชน์" นายนพชัย กล่าว

สำหรับโค้ดโปรแกรมที่เป็นอันตรายและพบมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค ได้แก่ หนอน , โทรจัน , ไวรัส และทางลับเข้าสู่ระบบ โดยภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคมีสัดส่วนเป็นต้นกำเนิดของสแปมที่ 21% จากอินเดียเป็นอันดับ 1 โดยประเทศไทยเป็นอันดับที่ 6 โดยแนวทางด้านความปลอดภัยสำหรับองค์กร ได้แก่ การยกระดับความปลอดภัยด้วยการดูแลโครงสร้างพื้นฐานขององค์กรให้มั่นคง กำหนดกระบวนการแบบข้อมูลเป็นศูนย์กลาง พัฒนาและบังคับใช้นโยบายด้านไอทีให้เป็นระบบอัตโนมัติ และบริหารจัดการระบบคอมพิวเตอร์ให้มีประสิทธิภาพ

นายนพชัย กล่าวอีกว่า นอกจากจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตและบรอดแบนด์ที่เพิ่มขึ้นในประเทศไทย การให้ความรู้ความเข้าใจก็ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ควรกระตุ้นให้เกิดความระมัดระวังในการใช้งาน ส่วนการควบคุมโดยกฎหมายนั้น เชื่อว่าขณะนี้ประเทศไทยมีความล้ำหน้ามากกว่าอีกหลายประเทศ แม้จะไม่ใช่ประเทศแรกที่มีกฎหมายด้านดังกล่าว อย่างไรก็ตาม โซเชียลเน็ตเวิร์กถือเป็นอีกช่องทางในการขยายจำนวนผู้ติดไวรัส เช่นเดียวกับ โทรศัพท์มือถือที่เริ่มมีการถูกโจมตีแม้จะไม่สูงเท่าการโจมตีทางอินเทอร์เน็ตและยังไม่สามารถสร้างความเสียหายได้เช่นเดียวกับการโจมตีบนคอมพิวเตอร์ แต่ก็สามารถเป็นไปได้ในอนาคต


ที่มา: thairath.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)