Author Topic: เฉลยคำถามย้อนหลังรายการ ยกสยาม 10  (Read 38124 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai

เฉลยคำถามรายการยกสยาม 10 วันที่ 28 กรกฎาคม 53

ข้อที่ 1 คำว่า "ราง" ในเครื่องราง มาจากอะไร
ก. รางน้ำ
ข. ตาราง

คำตอบ ก. รางน้ำ

อธิบาย
เครื่องราง หมายถึงของที่นับถือกันว่ามีพลังอำนาจพิเศษ ให้คุณแก่เจ้าของในเรื่องต่าง ๆ ได้ เช่น ป้องกันภัยอันตราย เสน่ห์เมตตามหานิยม คำว่า เครื่องรางนั้น บางคนเข้าใจผิดว่าเป็นเครื่องลาง เพราะคิดว่าเกี่ยวกับโชคลาง แต่คำนี้ต้องเขียนว่า เครื่องราง เพราะในสมัยโบราณมักจะใส่ของเหล่านี้ในรางที่หล่อด้วยน้ำมันจันทน์ แล้วตั้งไว้หน้าหิ้งบูชา คำว่า "ราง" ในเครื่องราง จึงหมายถึงรางน้ำมันนั่นเอง





ข้อที่ 2 จอมพล ป. ที่ได้ชื่อว่า แปลก เพราะอะไร
ก. ตอนเกิดร้องเหมือนหนู
ข. หูต่ำกว่าตา

คำตอบ ข. หูต่ำกว่าตา

อธิบาย
จอมพล ป. พิบูลสงคราม เกิดเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2440 ที่บ้านในคลองบางเขน จ.นนทบุรี
เมื่อคลอดออกมา มีความแปลกแตกต่างจากคนอื่น ๆ คือ ระดับตาทั้งสองข้าง อยู่เหนือระดับหูมาก
พ่อแม่จึงตั้งชื่อให้ว่า เด็กชายแปลก ต่อมาเมื่อขึ้นดำรงตำแหน่งสำคัญของประเทศ จึงเปลี่ยนให้คนเรียกตนเองว่า จอมพลป. เพื่อให้เหมือนกับบุคคลสำคัญหลาย ๆ คนทางประเทศตะวันตก ที่เขียนชื่อตัวเองเป็นตัวย่อ

ที่มา: http://www.facebook.com/yoksiam10


Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai
เฉลยคำถามรายการยกสยาม 10 วันที่ 29 กรกฎาคม 53

ข้อที่ 1 สมัยโบราณ ถ้าโหรหลวงทำนายผิด จะได้รับโทษให้ไปทำอะไร
ก. แก้ผ้าขุดคลอง
ข. ขี่สิงโต

คำตอบ ข. ขี่สิงโต

อธิบาย
จากหนังสือเรื่องส่วนพระองค์ในไกลบ้าน ของศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย ระบุว่าถึงเรื่องเล่าว่า ตามประเพณีเก่านั้น ถ้าโหรหลวงถวายพยากรณ์อะไรผิด เช่นพยากรณ์ว่าจะเห็นจันทรุปราคาแล้วไม่เห็น จะถูกลงโทษ
วิธีหนึ่งคือ ใส่ประคำลูกใหญ่แล้วขึ้นขี่สิงโตหิน แบบเดียวกับที่ประดับอยู่ตามหน้าวัง หรือวัด เพื่อเป็นการประจาน





ข้อที่ 2 เพลงชาติสยามฉบับราชการ แตกต่างจากเพลงชาติไทยอย่างไร
ก. ยาวกว่า 4 เท่า
ข. การต่อสู้ไม่สิ้นสุด

คำตอบ ก. ยาวกว่า 4 เท่า

อธิบาย
เนื้อร้องเพลงชาติไทยฉบับปัจจุบัน มีความยาว 8 วรรค
แต่เพลงชาติสยามฉบับที่ประกาศใช้อย่างเป็นทางการ เมื่อปี 2477 เนื้อร้อง 16 วรรคแรกแต่งโดย
ขุนวิจิตรมาตรา และ16 วรรคหลังเป็นเนื้อร้องที่ชนะการประกวด แต่งโดยนายฉันท์ ขำวิไล
ทำให้รวมแล้ว เพลงชาติสยาม มีความยาวถึง 32 วรรค ใช้เวลาร้องเกือบ 4 นาที
ซึ่งเท่ากับการร้องเพลงชาติไทยฉบับปัจจุบันถึง 4 รอบ
คนไทยส่วนใหญ่ในสมัยนั้นจึงนิยมร้องแต่เฉพาะบทร้องของขุนวิจิตรมาตรา ที่ขึ้นต้นว่า "แผ่นดินสยามนามประเทืองว่าเมืองทอง" เท่านั้น เพราะเนื้อร้องท่อนหลัง ๆ ไม่ค่อยมีใครจำได้






ข้อที่ 3 ก่อนยาขอบจะลงมือเขียนหนังสือทุกครั้ง จะต้องทำอะไร
ก. เขียนจดหมายรัก
ข. เต้นลีลาศ

คำตอบ ก. เขียนจดหมายรัก

อธิบาย
จากหนังสือโดเรมีอดีต ระบุว่า คุณโชติ แพร่พันธุ์ หรือยาขอบ ก่อนที่จะลงมือทำงาน จะต้องเขียนจดหมายรักด้วยสำนวนหวานหยาดเยิ้มถึงสาว ๆ ที่อยู่ใกล้ๆ โดยใช้กระดาษแอร์เมล์เนื้อบางสีชมพู โดยสาว ๆ ที่ได้รับจดหมายก็ไม่ถือเป็นเรื่องจริงจัง เพราะรู้ว่าคุณโชติ หรือ ยาขอบใช้จดหมายรักเป็นเครื่องลับปากกา ก่อนลงมือเขียนอย่างอื่นนั่นเอง



ที่มา: http://www.facebook.com/yoksiam10

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai
เฉลยคำถามรายการยกสยาม 10 ข้อ วันที่ 30 กรกฎาคม

ข้อที่ 1 "ห้วยขาแข้ง" ได้ชื่อนี้เพราะอะไร
ก. น้ำสูงเท่าหน้าแข้ง
ข. เดินไกลจนขาแข็ง

คำตอบ ก. น้ำสูงเท่าหน้าแข้ง

อธิบาย
จากข้อมูลของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ระบุว่า ลำห้วยขาแข้ง เป็นลำห้วยยาว 100 กิโลเมตร กว้าง 80 เมตร พื้นด้านล่างเป็นพื้นทราย และระดับน้ำในลำห้วยไม่ว่าเวลาไหน จะสูงแค่หน้าแข้งเท่านั้น จึงได้ชื่อว่า "ห้วยขาแข้ง"





ข้อที่ 2 สำนวน "หัวเลี้ยวหัวต่อ" มีที่มาจากอะไร
ก. รถไฟ
ข.นก

คำตอบ ก.รถไฟ

อธิบาย
"หัวเลี้ยวหัวต่อ" เป็นชื่อเรียก จุดที่รางรถไฟจะต้องสับราง เพื่อเลือกว่าจะวิ่งตรงไป หรือเลี้ยวไปทางใหม่
ซึ่งเป็นจุดที่สำคัญต่อการเดินทางมาก จึงมีการนำมาเปรียบเทียบกับช่วงเวลาที่สำคัญมาก ๆ ที่อาจจะเกิดการเปลี่ยนแปลงไปทางไหนก็ได้ เรียกว่า "ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ"






ข้อที่ 3 ร้านก่อนตะวันลับแนวเหลี่ยมภูผา จ.แม่ฮ่องสอน จะต้องทำอะไรก่อนพระอาทิตย์ตกทุกวัน
ก.ถ่ายรูปเก็บไว้
ข. เปิดเพลงยิ่งสูงยิ่งหนาว

คำตอบ ข. เปิดเพลงยิ่งสูงยิ่งหนาว

อธิบาย
เอกลักษณ์ของร้านก่อนตะวันลับแนวเหลี่ยมภูผา คือ ทุกเย็น เมื่อพระอาทิตย์กำลังจะลับยอดเขาไป
ทางร้านจะต้องเปิดเพลงยิ่งสูงยิ่งหนาว ที่มีท่อนเริ่มว่า "ก่อนตะวันลับแนวเหลี่ยมภูผา หมอกจางตาฟ้าร่วมกันท้าทาย..." เพื่อให้เข้ากับบรรยากาศ และชื่อของร้าน



ที่มา: http://www.facebook.com/yoksiam10

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai
เฉลยคำถามรายการยกสยาม 10 ข้อ วันที่ 2 สิงหาคม 53

ข้อที่ 1 แสตมป์ที่มีการบวกราคา เงินที่บวกเพิ่มจะเอาไปใช้ทำอะไร
ก. ทำการกุศล
ข. ใช้หนี้ประเทศ

คำตอบ ก. ทำการกุศล

อธิบาย
แสตมป์ของไทยที่มีการบวกราคาเพิ่ม เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 โดยรายได้จากราคาที่บวกเพิ่มมาจะถูกนำไปบริจาคเพื่อการกุศลในด้านต่าง ๆ เช่น บำรุงกาชาด บำรุงเสือป่า ส่วนแสตมป์ชุดฉลองรัฐธรรมนูญ ที่นำมาเป็นตัวอย่าง รายได้จากราคาที่บวกเพิ่มไป ถูกนำไปใช้บำรุงโรงพยาบาลต่างๆ





ข้อที่ 2 เพลง Whatever will be, will be (Que sera, sera) ถูกแต่งขึ้นครั้งแรก เพื่อใช้ทำอะไร
ก. ปลอบขวัญแม่บ้านทหารบก
ข. ประกอบหนังเขย่าขวัญ

คำตอบ ข. ประกอบหนังเขย่าขวัญ

อธิบาย
เพลง Whatever will be, will be (Que sera, sera) ถูกแต่งขึ้นเพื่อเป็นประกอบภาพยนตร์ฮอลลีวู้ดเรื่อง
The Man Who Knew Too Much ภาพยนตร์แนวลึกลับ เขย่าขวัญของอัลเฟรด ฮิชค็อกซ์ ออกฉายเมื่อปี 1956
มีเนื้อหาเกี่ยวกับการตามหาตัวลูกชายที่ถูกลักพาตัวไป โดยเพลงนี้จะเป็นเพลงที่แม่ร้องขึ้น แล้วลูกชายจำได้ จึงได้ทำทั้งสองได้กลับมาพบกัน เพลงนี้ยังได้รับรางวัลออสการ์สาขาเพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยมในปี 1957 อีกด้วย





ข้อที่ 3 จากบทกลอน "เป็นผู้หญิงแท้จริงแสนลำบาก เป็นผู้ชายยิ่งยากกว่าหลายเท่า" เป็นผู้ชายยากกว่าตรงไหน
ก. ต้องบวชเรียน
ข. ต้องทำให้ผู้หญิงรัก

คำตอบ ข.ต้องทำให้ผู้หญิงรัก

อธิบาย
กลอนที่ว่า "เป็นผู้หญิงแท้จริงแสนลำบาก" มีที่มาจากบทพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 6 เรื่อง วิวาห์พระสมุทร
โดยบทพระราชนิพนธ์เต็ม ๆ มีอยู่ว่า
"เป็นผู้หญิงแท้จริงแสนลำบาก เป็นผู้ชายยิ่งยากกว่าหลายเท่า
หญิงต้องเจียมกายามาแต่เยาว์ ชายต้องเฝ้าวิงวอนให้หล่อนรัก
หญิงถึงรักต้องแสร้งแกล้งทำเฉย หวังให้ชายอยากเชยยิ่งขึ้นหนัก
ต่างคนต่างซัดกันน่าขันนัก ที่แท้ต่างสมัครจะรักกัน"


ที่มา: http://www.facebook.com/yoksiam10

 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)