Computer & Services > Discussion
เฉลยคำถามย้อนหลังรายการ ยกสยาม 10
Nick:
เฉลยคำถามย้อนหลัง วันที่ 15 มิถุนายน 53
ข้อที่ 1 วัดพระพุทธบาทตากผ้า ห้ามโยนเหรียญลงบนรอยพระพุทธบาท เพราะอะไร
ก. ขี้เกียจเก็บ
ข. เดี๋ยวเงินหาย
คำตอบ ข.เดี๋ยวเงินหาย
อธิบาย เหนือรอยพระพุทธบาท วัดพระพุทธบาทตากผ้า จ.ลำพูน จะมีป้ายเขียนว่า "อย่าโยน หรือ วางเหรียญต่างๆ ลงบนรอยพระุพุทธบาทนี้ (มักสูญหาย) กรุณานำใส่ตู้บริจาค"
ข้อที่ 2 SB เฟอร์นิเจอร์ ตัวอักษร SB ย่อมาจากอะไร
ก.สมุทร บุญถาวร
ข.ชอว์ บราเดอร์ส
คำตอบ ข.ชอว์ บราเดอร์ส
อธิบาย แบรนด์ SB เฟอร์นิเจอร์ ก่อตั้งมาจากธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ของพี่น้องในตระกูลชวาลดิษฐ์ คำว่า Shaw ย่อมาจาก "ชวาลดิษฐ์" ที่เขียนในภาษาอังกฤษ (Shawaladit) และบราเดอร์ส หมายถึง พี่น้อง SB เฟอร์นิเจอร์ จึงย่อมาจาก ชอว์ บราเดอร์ส นั่นเอง
ที่มา: http://www.facebook.com/yoksiam10
Nick:
เฉลยคำถามย้อนหลังยกสยาม 10 วันที่ 17 มิถุนายน 53
ข้อที่ 1 ยักษ์วัดแจ้ง กับ ยักษ์วัดโพธิ์ตีกัน เพราะเรื่องอะไร
ก. ปัญหาการเงิน
ข. ปัญหาหัวใจ
คำตอบ ก. ปัญหาการเงิน
อธิบาย
ตำนานเกี่ยวกับยักษ์วัดโพธิ์และยักษ์วัดแจ้ง ซึ่งทำให้เกิดท่าเตียน มีอยู่ว่า แต่เดิมยักษ์วัดแจ้ง กับ ยักษ์วัดโพธิ์ เป็นเพื่อนรักกัน วันหนึ่งยักษ์วัดแจ้งไปขอยืมเงินจากยักษ์วัดโพธิ์ เมื่อถึงกำหนดส่งเงินคืนกลับไม่ยอมจ่าย
ดังนั้น ยักษ์ทั้ง 2 ตนจึงทะเลาะกัน จนพระอิศวรต้องลงมาห้าม และลงโทษให้ยักษ์วัดโพธิ์ยืนเฝ้าพระอุโบสถวัดโพธิ์ และยักษ์วัดแจ้งยืนเฝ้าวิหารวัดแจ้งตั้งแต่นั้นมา
ข้อที่ 2 ตัว "C" ในชื่อบิ๊กซี ย่อมาจากอะไร
ก. Customer
ข. Central
คำตอบ ก.Customer
อธิบาย
ชื่อบิ๊กซีนั้น คำว่า บิ๊ก หมายถึง พื้นที่ขนาดใหญ่ และสินค้าที่มีจำนวนมาก
ส่วน ซี ย่อมาจาก Customer หรือ ลูกค้าผู้ให้การสนับสนุนบิ๊กซี
ข้อที่ 3 ตัวเลขบน "ผาหินศิลาเลข" จ.อุบลราชธานี ใช้บอกอะไร
ก. ระดับน้ำ
ข. จำนวนศพ
คำตอบ ก. ระดับน้ำ
อธิบาย
ผาหินศิลาเลข เป็นผาหินที่ทหารฝรั่งเศสสมัยอาณานิคม ได้สลักตัวเลขบอกระดับน้ำไว้ สำหรับนำเรือแล่นเข้ามาทางด้านนี้ เพื่อเดินทางไปหลี่ผีหรือหลวงพระบางในประเทศลาว
ที่มา: http://www.facebook.com/yoksiam10
Nick:
เฉลยคำถามย้อนหลังยกสยาม 10 วันที่ 18 มิถุนายน 53
ข้อที่ 1 พิธีโล้ชิงช้า ยกเลิกไปเพราะอะไร
ก. อันตราย
ข. เปลืองเงิน
คำตอบ ข. เปลืองเงิน
ิอธิบาย
พิธีตรียัมปวาย หรือ โล้ชิงช้า ถูกยกเลิกไปในสมัยรัชกาลที่ 7 เพราะพิธีโล้ชิงช้าเป็นพิธีใหญ่ มีพิธีการมาก
แต่ในสมัยรัชกาลที่ 7 เกิดปัญหาเศรษฐกิจฝืดเคืองติดต่อกันเป็นเวลานาน จึงต้องประหยัดค่าใช้จ่ายด้วยวิธีต่าง ๆ รวมถึงยกเลิกพิธีโล้ชิงช้าด้วย
ข้อที่ 2 พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ระบุว่า "ลูกเกด" มีที่มาจากคำว่าอะไร
ก. ลูกเกล็ด
ข. Grape
คำตอบ ข. Grape
อธิบาย
ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ. 2542 ระบุว่า คำว่า "ลูกเกด" เพี้ยนมาจากคำว่า Grape ในภาษาอังกฤษ ที่แปลว่าองุ่น
ข้อที่ 3 โรงย่างกิเลส ในวัดดอยแม่ปั๋ง ได้ชื่อนี้เพราะอะไร
ก. มีเตาผิง
ข. มีพระไตรปิฎก
คำตอบ ก. มีเตาผิง
อธิบาย
โรงย่างกิเลส หรือ โรงไฟ เกิดจากเมื่อหลวงปู่แหวนมาพำนักอยู่ที่วัดดอยแม่ปั๋ง ท่านได้อาพาธ เกิดตุ่มคันทั่วทั้งตัว ท่านจึงบอกให้หลวงปู่หนูช่วยสร้างเตาผิงไว้ในกุฎิสำหรับอบตัว ซึ่งกุฏินี้สร้างขึ้นจากไม้โลงศพที่ใช้แล้วทั้งหมด ภายในจะก่อไฟลุกโชนอยู่ตลอดทั้งวัน และหลวงปู่แหวนจะอยู่ในกุฏินี้เกือบจะตลอดเวลา เป็นเวลาติดต่อกันหลายปี ลูกศิษย์เรียกว่า "กุฏิโรงไฟ" แต่หลวงปู่เรียกว่า "โรงย่างกิเลส" หรือ "กุฏิย่างกิเลส"
ที่มา: http://www.facebook.com/yoksiam10
Nick:
เฉลยคำถามย้อนหลังรายการยกสยาม10 วันที่ 21 มิถุนายน 53
ข้อที่ 1 สำนวน "กินน้ำใต้ศอก" มีที่มาจากศอกของใคร
ก. ชาวอินเดีย
ข. ชาวเมโสโปเตเมีย
คำตอบ ก.ชาวอินเดีย
อธิบาย
หนังสือสืบสนองสำนวนไทย ของ อ.ล้อม เพ็งแก้ว อ้างอิงคำบอกเล่าของ เสนีย์ เสาวพงษ์ อดีตทูตไทยประจำอินเดียว่า คนอินเดียจัณฑาล ถ้าอยากดื่มน้ำจะต้องไปยืนคอยที่ก๊อกน้ำสาธารณะ รอจนกว่าคนวรรณะสูงกว่าจะมาเปิดก๊อกเอามือรองน้ำกิน แล้วคนจัณฑาลจะรีบเข้าไปกอบน้ำที่ไหลมาตาศอกของคนนั้นเพื่อกิน เพราะคนจัณฑาลไม่มีสิทธิเปิดก๊อกน้ำกินเอง คนไทยรับรู้ และรับเอาธรรมเนียมหลายอย่างมาจากอินเดีย พฤติกรรมนี้จึงเป็นที่มาของสำนวน "กินน้ำใต้ศอก"
ข้อที่ 2 ตลาดบ้านใหม่ จ.ฉะเชิงเทรา ที่ได้ชื่อนี้เพราะบ้านเก่าไปไหน
ก. ถูกไฟไหม้
ข. อยู่จังหวัดอื่น
คำตอบ ก. ถูกไฟไหม้
อธิบาย
ตลาดบ้านใหม่ เป็นตลาดเก่าอายุมากกว่า 100 ปี และรัชกาลที่ 5 เคยเสด็จเยือนตลาดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2450 โดยสันนิษฐานว่าสาเหตุที่ได้ชื่อว่าบ้านใหม่ เพราะสร้างขึ้นทดแทนตลาดริมน้ำที่โดนไฟไหม้ไป
ข้อที่ 3 ก่อนจะเป็นเพลงในอัลบั้ม เพลงจดหมายผิดซอง เคยถูกร้องในโอกาสไหนมาก่อน
ก. แห่นาค
ข. เชียร์กีฬา
คำตอบ ข. เชียร์กีฬา
อธิบาย
เพลงจดหมายผิดซอง แต่งโดยครูสลา คุณวุฒิ ซึ่งเคยเป็นครูประชาบาลในเขตจังหวัดอุบลราชธานี และอำนาจเจริญมาก่อน เพลงนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากการที่มีคนส่งจดหมายผิดมาหาจริงๆ จึงนำมาแต่งเป็นเพลง แล้วลองให้เพื่อนครูที่สอนภาษาไทยเอาไปให้เด็กนักเรียนร้องในชั่วโมงเรียนดู ปรากฏว่าเด็กชอบ และกลายเป็นเพลงฮิตในโรงเรียน เด็ก ๆ ต้องนำไปร้องเชียร์กีฬาทุกครั้ง หลังจากนั้นอีก 2 ปี ครูสลาจึงนำเพลงจดหมายผิดซองมาเสนอค่ายเพลง
ที่มา: http://www.facebook.com/yoksiam10
Nick:
เฉลยคำถามย้อนหลังรายการยกสยาม10 วันที่ 22 มิถุนายน 53
ข้อที่ 1 คำว่า "ห้าร้อย" ในชื่อโจรห้าร้อย หมายถึงอะไร
ก. จำนวนคน
ข. ค่าหัว
คำตอบ ก. จำนวนคน
อธิบาย
หนังสือรู้รักภาษาไทยเล่ม 2 ของราชบัณฑิตยสถาน ระบุว่า ในภาษาบาลีมีคำกล่าวว่า "ปญฺจสตมตฺตา โจรา" (ปัญจะ สะตะมัตตา โจรา) แปลว่า โจรจำนวน 500 เช่นเดียวกับที่เรียกพระสงฆ์ 500 รูปว่า "ปญฺจสตมตฺตภิกฺขุ" (ปัญจะ สะตะมัตตา ภิกขุ) โดยจำนวนห้าร้อย ไม่ได้หมายความว่ามีโจร 500 คน แต่เป็นเพียงจำนวนโดยประมาณ และคนไทยนำมาใช้แทนความหมายว่ามากมาย
ข้อที่ 2 การทำปลาทูต้มเค็ม ต้องใช้ท่อนอ้อยวางก้นหม้อ เพื่ออะไร
ก.ดับคาว
ข. ไม่ให้ปลาติดก้นหม้อ
คำตอบ ข.ไม่ให้ปลาติดก้นหม้อ
อธิบาย
จากหนังสือหัวหิน 170 ปีมีเรื่องเล่า ของประพนธ์ เรืองณรงค์ ระบุว่า การทำปลาทูต้มเค็ม จะต้องอุ่นอยู่ตลอดเวลาหลายวัน และห้ามคน ถ้าไม่มีอะไรรองก้นหม้อไว้ ตัวปลาจะติดก้นหม้อ จนไหม้ จึงต้องใช้ท่อนอ้อยมารองก้นไว้ ซึ่งดีกว่าใช้อย่างอื่น เพราะนอกจากจะกันไม่ให้ปลาติดก้นหม้อแล้ว อ้อยยังมีรสหวานเข้ากันได้กับต้มเค็มอีกด้วย
ข้อที่ 3 ดอยมด หรือ ดอยหมด จ.เชียงราย ได้ชื่อนี้เพราะอะไรหมด
ก. ต้นไม้
ข. แรง
คำตอบ ก. ต้นไม้
อธิบาย
อนุสาร อ.ส.ท. ระบุว่า ชาวบ้านพื้นถิ่นเรียกภูเขาลูกนี้ว่า "ดอยหมด" เพราะส่วนยอดของภูเขาโล่งเตียน ไม่มีต้นไม้ใหญ่ชนิดไหนขึ้นได้เลย เนื่องจากไม่สามารถต้านทานแรงลมบนยอดดอยได้นั่นเอง
ที่มา: http://www.facebook.com/yoksiam10
Navigation
[0] Message Index
[#] Next page
Go to full version