Author Topic: 3จีต่อมิติคุ้มครองผู้บริโภค ประชาชนได้ประโยชน์จริงหรือ  (Read 944 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai

เวทีเสวนาชี้ การเปิดประมูลใบอนุญาต 3.9จี ของกทช. เริ่มชัดเจนมากขึ้นๆ แต่ดูเหมือนเสียงสะท้อนจากหลายภาคส่วน ยังเคลือบแคลงสงสัยหลักเกณฑ์

การเปิดประมูลใบอนุญาต 3.9จี ของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) หรือที่เรียกว่าใบอนุญาต IMT 2100 3G and Beyond เริ่มชัดเจนมากขึ้นๆ แต่ดูเหมือนเสียงสะท้อนจากหลายภาคส่วน ยังเคลือบแคลงสงสัยหลักเกณฑ์ แม้แต่ผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นต่อผู้บริโภค และประเทศชาติ ที่จะเข้าสู่ยุคเปลี่ยนผ่านในอนาคตอันใกล้

จากเวทีเสวนาเปิดรับฟังความเห็นผู้บริโภค เรื่อง “มิติการคุ้มครองผู้บริโภคในยุค 3จี” ที่จัดขึ้นโดยสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) และ สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สกทช.) ปรากฏว่า ยังมีประชาชน ผู้บริโภคอีกมากขาดความรู้ความเข้าใจเรื่อง 3จี

ตั้งคำถาม3จีมีอะไรใหม่
นายวรรณชัย สุวรรณกาญจน์ ตัวแทนองค์กรผู้บริโภค กล่าวว่า การเปิดให้มีเทคโนโลยี 3.9จี หรืออะไรก็ตามที่ กทช. กำหนดคำนิยาม ไม่ใช่ทำขึ้นเพื่อคน กทม. หรือจังหวัดใหญ่เพียงอย่างเดียว ประชาชนในเขตพื้นที่ห่างไกลก็จำเป็นต้องทราบด้วยว่า โทรศัพท์มือถือที่ใช้อยู่ปัจจุบันนี้ แตกต่างอะไรกับ 3จี การใช้งานเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรบ้าง กทช. ต้องตอบให้ชัดเจนก่อน จะให้ประชาชนเข้าใจ 3จีอย่างไร

กทช.ระบุว่า เทคโนโลยี 3.9จี ความสามารถรับส่งข้อมูล อัพลิงค์-ดาวน์ลิงค์ได้สูงกว่าเดิม 20 เท่าเป็น 42 กิกะบิต ผู้บริโภคต่างจังหวัดจะนำฟังก์ชันเหล่านี้ไปเพื่ออะไร เมื่อคนสูงอายุในต่างจังหวัดมีโทรศัพท์มือถือไว้เพียงโทรออก-รับสายเท่านั้น ไม่เคยส่งข้อความ ไม่เคยเล่นเน็ตผ่านมือถือ ไม่ใช้แอพพลิเคชั่นอื่น ไม่ส่งเอสเอ็มเอส-เอ็มเอ็มเอส ประชาชนจะได้อะไรเมื่อเปิดให้บริการ 3จี

"การบ้านที่ กทช. ต้องรีบ คือทำให้ทุกคนเข้าใจว่า เทคโนโลยี 3จีไม่ได้มีเพียงการใช้งานผ่านโทรศัพท์มือถือ แต่ยังขยายไปถึงการใช้งานอินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูง (ไวร์เลส บรอดแบนด์) เพื่อให้พื้นที่สายโทรศัพท์ลากไปไม่ถึงมีอินเทอร์เน็ตใช้”
 

ราคาควรถูกลงเหตุต้นทุนต่ำ

นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ รองประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า อัตราค่าบริการของบริการ 3จีน่าจะต่ำกว่าการใช้งานระบบเดิม เพราะพิจารณาจากต้นทุนของผู้ชนะการประมูล รวมค่าใบอนุญาตที่ กทช. คิดค่าเริ่มต้นใบละ 1 หมื่นล้านบาท และค่าธรรมเนียมต่อปี ก็ต่ำกว่าส่วนแบ่งรายได้ที่เอไอเอส ดีแทค และทรูมูฟ ต้องนำส่งเจ้าของสัมปทานกว่า 15-20% โดยคำนวณบนพื้นฐานที่เอกชนจ่ายส่วนแบ่งรายได้เฉลี่ยปีละ 25-30%

ดังนั้น หากผู้ให้บริการไม่เอาเปรียบผู้บริโภคจนเกินไป ราคาโปรโมชั่นที่ออกมาจะต้องไม่โดดสูงไปจากเดิม และมีแนวโน้มต้องต่ำลงด้วย

อย่างไรก็ตาม กทช. ควรเข้ามากำกับดูแลให้เข้มงวด เพราะเมื่อต้นทุนราคาในไลเซ่นใหม่ ต่ำกว่าที่ต้องจ่ายให้แก่เจ้าของสัมปทานเดิม ผู้ประกอบการจะออกโปรโมชั่นดึงดูดใจให้ลูกค้าย้ายเข้ามา 3จี ด้วย ซึ่งหากทำโปรโมชั่นลดแลกแจกแถม ก็ถือเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคต่อไป

แต่ผลเสียที่ตามมาอาจเกิดปัญหาโทรไม่ติด หรือโทรติดยาก แม้แต่ใช้อินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือ (โมบาย อินเทอร์เน็ต) ไม่ได้ตามความเร็วที่โฆษณาไว้ หรือต่อไม่ติด จากราคาถูกทำให้คนใช้งานมากจนช่องสัญญาณเต็ม

“กลับกัน หากผู้ประกอบการต้องการให้ลูกค้าที่อยู่ในระบบ 2จี ย้ายออกจากระบบเร็วๆ ก็มีสิทธิ์ที่จะฮั้วราคากัน ขึ้นราคาค่าบริการระบบ 2จีเดิม หรือทำให้ระบบ 2จีใช้งานได้ยากมากขึ้น โทรติดยากโดยอ้างว่าพื้นที่นั้นๆ อยู่ในระบบ 3จี ไม่ว่าการเปลี่ยนแปลงจะทำให้ 2จี แพงขึ้นหรือถูกลงอย่างไม่สมเหตุสมผลก็จะกระทบต่อผู้บริโภคทันที” เขา กล่าว

เรียกร้องฟังเสียงตจว.

นอกจากนี้ การที่ กทช. จะจัดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ (ประชาพิจารณ์) วันศุกร์ที่ 25 มิ.ย. 2553 ตัวแทนองค์กรผู้บริโภคหลายเสียง ระบุว่า แม้ กทช.จะดึงนักวิชาการ เอกชน วิศวกร และประชาชน เข้าร่วมมากถึง 1,500 คน แต่ส่วนใหญ่เป็นเสียงของคนส่วนกลาง แม้ภาคประชาชนจะส่งตัวแทนจากภูมิภาคมาได้ ก็ยังมีสัดส่วนน้อยมาก

 ฉะนั้น กทช. จึงควรจัดทำประชาพิจารณ์ครบทุกภาคๆ ละ 1 ครั้งยังดีกว่าเปิดรับฟังความคิดเห็นเพียงครั้งเดียว

ที่มา: bangkokbiznews.com
 


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)