Author Topic: ความแตกต่าง dvd 5+ dvd 9 + blue-ray แบบถึงกึ๋น  (Read 29513 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46027
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai

สุดของการวิเคราะห์ ความแต่กต่าง dvd 5 / dvd 9 / blue-ray 

เรามาเริ่มกันถึงต้นกำเนิด ของ ดีวีดี ที่เราใช้กันอยู่มาความเป็นมากันอย่างไร

ความเป็นมาของดีวีดี DVD (Digital Video disc/Digital Versatile Disc)

DVD ในชื่อเต็มว่า Digital Video Disc   ดีวีดีมีเมื่อปี 1995 หลังจากซีดี 13 ปี โดยมีกลุ่มพันธมิตรใหม่ได้ก่อตั้งขึ้นเป็นสมาคม ดีวีดี (DVD Consortium) มีบริษัทฟิลิปส์ โซนี่ และอีก 7 บริษัทได้แก่ ฮิตาชิ แมทซูชิต้า (พานาโซนิค) ไพโอเนียร์ มิตซูบิชิ เจวีซี ธอมสัน โตชิบ้า และบริษัทไทม์ วอร์นเนอร์ แรกๆใช้ชื่อเต็มว่า "Digital Video Disc" ต่อมา เมื่อวันที่ 29 มีนาคม ปี 1996 สมาคมผู้ผลิตภาพยนตร์สหรัฐอเมริกาและสมาคมผู้ผลิตสินค้าเนื่องจากซอฟต์แวร์หรือข้อมูลที่รองรับจะเกี่ยวกับด้านมัลติมีเดียและภาพยนตร์ ต่อมามีการประยุกต์ใช้ดีวีดีให้สามารถรองรับการทำงาน ด้านอื่นมากขึ้น โดยเฉพาะความสามารถ ในการเก็บบันทึกข้อมูลต่างๆ นอกจากภาพยนตร์วีดีโอ เปลี่ยนมาเป็นคำว่า Digital Versatile Disc แทนแต่ก็ยังคงเรียกใช้ทั้งสองแบบ หลังจากบริษัทโซนี่ และฟิลิปส์ ได้ร่วมมือกันพัฒนาซีดีรูปแบบต่างๆ ออกมาสู่ตลาดโลกและพัฒนาสื่อ DVDอีกชนิดหนึ่งโดยรูปลักษณ์ภายนอกของแผ่น DVD นั้นมีลักษณะเช่นเดียวกันกับแผ่นซีดีถ้าไม่บอกหรืออ่านโลโก้บนแผ่นเพียง มองดูด้วยตาเปล่าก็คงแยกไม่ออกว่าแผ่นใดเป็น DVD แผ่นใดเป็นซีดีธรรมดา แผ่น DVD สามารถเก็บข้อมูลได้มากเมื่อเทียบกับแผ่นซีดี มาตรฐานสามารถเก็บข้อมูลได้ 700 เมกะไบต์ แต่แผ่น DVD สามารถเก็บได้มากกว่าถึง 7 เท่า ในแบบ 1 ชั้น (Layer) คือประมาณ 4.7 กิกะไบต์ เมื่อกล่าวถึงระบบภาพแล้ว DVD สามารถให้ภาพที่คมชัดใกล้เคียงกับเทปต้นแบบจากสตูดิโอ ซึ่งมากกว่า 500 เส้น ด้วยระบบการบีบอัดสัญญาณดิจิตอล รวมถึงการส่งผ่านของข้อมูลที่มีความเร็วถึง 9.8 Mbps ซึ่งมากกว่า VCD ที่มีอัตราการส่งผ่านเพียง 1.5 Mbps และเมื่อเปรียบเทียบความคมชัด DVDให้รายละเอียดที่มากกว่า VCD ถึง 4 เท่า และระบบเสียงนั้นสามารถเก็บเสียงที่เป็นระบบ Dolby Digital (AC-3), DTS 5.1 Channel ได้ภายในแผ่นเดียวอีกทั้งสามารถบรรจุเสียงพากย์ได้ 8 ภาษา และบันทึกคำบรรยายได้ถึง 32 ภาษา


DVD-R/RW และ DVD+R/RW คืออะไร

ทำไมถึงต้องมีเครื่องหมายบวกและเครื่องหมายลบสำหรับดีวีดีทั้งสองประเภทนี้ ในตอนแรกมาตรฐาน DVD R/RW เริ่มต้นกับเครื่องหมายลบก่อน โดยเกิดจากการพัฒนาและวางมาตรฐานของกลุ่ม DVD Forum ซึ่งเรียกว่าเป็นสมาคมสำหรับควบคุมมาตรฐานสื่อบันทึกข้อมูลในรูปแบบของดีวีดีขึ้นมาตั้งแต่เริ่มต้น แต่ด้วยการพัฒนามาตรฐานของ DVD Forum ดูเหมือนว่าช้า และไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอสำหรับการใช้งานและการพัฒนาต่อไปในอนาคตด้วย ทางสมาชิกกลุ่มหนึ่งจึงร่วมมือกันพัฒนามาตรฐานดีวีดีที่บันทึกได้ในรูปแบบของ DVD+R/RW ขึ้นมา เป็นกลุ่ม DVD Alliance ทำให้มาตรฐานใหม่นี้ไม่ได้ถูกยอมรับจาก DVD Forum ที่เป็นผู้ดูแลมาตรฐานเดิมอยู่มาตรฐาน DVD+R/RW จึงเป็นมาตรฐานต่างหากที่ไม่สามารถใช้งานร่วมกันได้กับมาตรฐานเดิม แต่ด้วยการที่กลุ่มสมาชิกที่แยกตัวมาตั้งมาตรฐานใหม่ ต่างก็เป็นผู้นำด้านการผลิตDVD+R/RW จึงได้เริ่มมีการยอมรับและไดร์ฟดีวีดีรุ่นใหม่ๆ ต่างก็สามารถที่จะอ่านข้อมูลและใช้งาน DVD+R/RW มาตรฐานใหม่นี้ได้ด้วย จึงไม่ต้องเป็นห่วงว่าเมื่อซื้อไดร์ฟประเภทนี้มาแล้วจะไม่สามารถนำไปใช้กับเครื่องเล่นใดๆ ได้ เพียงแต่ไดร์ฟทั้งสองมาตรฐานจะไม่ สามารถใช้งานข้ามไดร์ฟ เป็นไดร์ฟประเภทไหนก็ต้องใช้ประเภทนั้น เช่น ไดร์ฟ DVD+R/RW จะไม่สามารถเขียนข้อมูลลงในแผ่น DVD-R/RW ได้ และไดร์ฟ DVD-R/RW ก็ไม่สามารถเขียนข้อมูลลงแผ่น DVD+R/RW ได้เช่นเดียวกัน แต่เมื่อเขียนแล้ว แผ่นทั้งสองมาตรฐานต่างก็สามารถนำไปใช้กับไดรฟ์ดีวีดีรอมรุ่นใหม่ๆ ได้ไม่เป็นปัญหาส่วนในการอ่านไม่ได้เป็นปัญหาความแตกต่างของทั้งสองมาตรฐานเท่าที่เห็นก็จะเป็นลักษณะของการบันทึกข้อมูลมากกว่า โดย DVD+R/RW เนื่องจากพัฒนาออกมาภายหลัง เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดของ DVD-R/RW จึงมีความสามารถที่เหนือกว่า เช่น สั่งให้หยุดการเขียนและเขียนต่อได้ทันที ไม่ต้องเสียเวลาในการรอ และใช้เทคโนโลยี Lossless Linking ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพการบันทึกและการอ่านข้อมูล ใช้งานได้ง่ายและสะดวกขึ้น ส่วนการบันทึกรูปแบบของ R และ RW ก็ไม่ได้ต่างไปจากเครื่องบันทึกซีดีปัจจุบัน R คือ Recordable หรือบันทึกได้ครั้งเดียว และ RW คือ Re-Writeable ที่สามารถนำกลับมาบันทึกซ้ำใหม่ได้ ซึ่งทั้งสองมาตรฐาน DVD-R/RW และ DVD+R/RW ต่างก็สามารถบันทึกใหม่ได้ประมาณ 10,000 ครั้ง


ประเภทของไดร์ฟ DVD

ปัจจุบันไดร์ฟดีวีดีแบ่งออกเป็น 2 ประเภทตามลักษณะของการติดตั้งดังนี้

-ไดร์ฟภายใน (Internal Drive) เป็นไดร์ฟที่ติดตั้งภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ราคาถูกลงเรื่อยๆและน่าจะทดแทนไดร์ฟซีดีรอมได้ทั้งหมด
-ไดร์ฟภายนอก (External Drive) ติดตั้งอยู่ภายนอกคอมพิวเตอร์ คุณสมบัติอื่นๆเทียบเท่ากับไดร์ฟภายใน



รูปแบบของแผ่นดีวีดี

แผ่น DVD-ROM ป็นแผ่นดีวีดีที่บันทึกข้อมูลเพียงอย่างเดียวเหมือนกับซีดีรอม โดยการบันทึกข้อมูลจากโรงงานเราไม่สามารถบันทึกข้อมูลเพิ่มเติมได้
แผ่น DVD-R (DVD-Recordable) เป็นแผ่นดีวีดีที่สามารถบันทึกข้อมูลได้เพียงครั้งเดียว โดยสามารถบันทึกได้ทั้งข้อมูลเพลงและวิดีโอ ขึ้นอยู่กับโปรแกรมที่ใช้เขียนแผ่น
แผ่น DVD-RW (DVD-Rewritable) สามารถเขียนข้อมูลซ้ำได้หลายครั้งจะเล่นได้กับไดร์ฟ DVD-R/RW บนเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น
แผ่น DVD+R/RW เป็นแผ่นที่ใกล้เคียงกับ DVD-RW ป็นมาตรฐานที่ทำให้แผ่นที่สามารถเขียนซ้ำได้สามารถนำไปใช้งานได้กับเครื่องเล่น ดีวีดีอื่นๆ ที่ไม่ใช่ไดร์ฟของดีวีดีบนคอมพิวเตอร์
แผ่น DVD-RAM (DVD-Random Access Memory) เป็นดิสก์แบบใหม่ที่กำลังได้รับความนิยม สามารถบันทึกซ้ำได้เช่นเดียวกับ DVD-R, DVD+R/RW การบันทึกข้อมูลจะเป็นแบบฮาร์ดดิสก์ ซึ่งจะต้องมีไดร์ฟชนิดพิเศษในการอ่านและเขียนข้อมูลจะใช้งานผ่านไดร์ฟดีวีดีปกติไม่ได้ แต่ข้อดีของดีวีดีชนิดนี้ก็คือสามารถบันทึกข้อมูลซ้ำได้มากกว่า 100,000 ครั้งทำให้มันถูกนำไปใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบใหม่มากขึ้น เช่น กล้องดิจิทัล


ประเภทของแผ่นดีวีดี

ดีวีดีมีให้เลือกใช้งานหลายความจุ ซึ่งแต่ละแบบมีเทคนิคในการเก็บข้อมูลที่ไม่ เหมือนกัน ปัจจุบันแบ่งเป็น 4 รูปแบบตามความจุดังนี้

1. Single-Side, Single Layer หรือ DVD5 เป็นแผ่นที่ทำการจัดเก็บภาพได้เพียงชั้นเดียวและหน้าเดียว โดยสามารถบันทึกข้อมูลได้ 4.7 กิกะไบต์ DVD5 จะแบ่งใช้วัสดุ 2 แผ่น ประกบกัน จะใช้งานเพียงแค่ส่วนล่างเพียงแค่แผ่นเดียวในการบันทึกข้อมูลและ บันทึกลงไปเพียงแค่ชั้นเดียว แผ่นรูปแบบนี้ใช้งานแพร่หลายมากที่สุด

2. Single-Side, Dual Layer : หรือ DVD9จะคล้ายกับ DVD5คือการบันทึก ข้อมูลลงในหน้าเดียว แต่จะบันทึกข้อมูลไว้ 2 ชั้นกระบวนการผลิตจะเป็นวัสดุแผ่นเดียวบันทึก ข้อมูลได้ประมาณ 8.5 กิโลไบต์ จึงเรียกว่า DVD9 โดยทั่วไป DVD9 จะใช้บันทึกข้อมูลที่ต้องการรายละเอียดมากๆ เช่น ภาพยนตร์ที่ต้องการคุณภาพของภาพสูงๆ เรื่องยาวๆ ซึ่งจะบรรจุข้อมูลเสียงไว้อีกชั้นหนึ่ง

3. Double-Sided, Single Layer : หรือ DVD10สามารถบันทึกข้อมูลลงไปในแผ่นได้ทั้งสองหน้า และในแต่ละหน้าก็จะสามารถบันทึกข้อมูลได้เพียง 1 ชั้น แผ่นแบบนี้สามารถบันทึกข้อมูลได้เป็น 2 เท่าของ DVD5 คือสามารถบันทึกข้อมูลได้ 9.4 กิกะไบต์

4. Double-Sided, Dual Layer : หรือ DVD17 สามารถบันทึกข้อมูลลงไปในแผ่นได้ทั้งสองด้าน และแต่ละด้านสามารถบันทึกได้มากถึงสองชั้น ซึ่งแผ่นชนิดนี้สามารถบรรจุข้อมูลได้ถึง 17 กิกะไบต์ นำไปบันทึกข้อมูลขนาดใหญ่มาก เช่น ภาพยนตร์ความยาวมากๆ



เปรียบเทียบดีวีดีทั้ง 4 ประเภท

Format ความจุ เวลาโดยประมาณที่บันทึกได้


1. Single-Side, Single Layer หรือ DVD5 4.7 GB 2 ชั่วโมง
2. Single-Side, Dual Layer : หรือ DVD9 8.5 GB 4 ชั่วโมง
3. Double-Sided, Single Layer : หรือ DVD10 9.4 GB 4.5 ชั่วโมง
4. Double-Sided, Dual Layer : หรือ DVD18 17 GB มากกว่า 8 ชั่วโมง


สำหรับวิธีดูอย่างง่ายๆ

DVD5 มักใช้วัสดุสีเงิน ความหนาของแผ่นจะไม่มาก
DVD9 เนื้อแผ่นมักเห็นเป็นสีทอง วงรอบในของแผ่นด้านข้อมูล อาจจะมีตัวหนังสือเล็กๆ เช่น side A, side B หรือ side 1, side2


ที่มา: tumragame.com


Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46027
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai
ความเป็นมา ของ บรูเรย์

บลูเรย์ดิสค์ (Blu-ray Disc) หรือ บีดี (BD) คือรูปแบบของแผ่นออพติคอลสำหรับบันทึกข้อมูลความละเอียดสูง ชื่อของบลูเรย์มาจาก ช่วงความยาวคลื่นที่ใช้ในระบบบลูเรย์ ที่ 405 nm ของเลเซอร์สี "ฟ้า" ซึ่งทำให้สามารถทำให้เก็บข้อมูลได้มากกว่าดีวีดี ที่มีขนาดแผ่นเท่ากัน โดยดีวีดีใช้เลเซอร์สีแดงความยาวคลื่น 650 nm
มาตรฐานของบลูเรย์พัฒนาโดย กลุ่มของบริษัทที่เรียกว่า Blu-ray Disc Association ซึ่งนำโดยโซนี และ ฟิลิปส์ เปรียบเทียบกับ เอ็ชดีดีวีดี (HD-DVD) ที่มีลักษณะและการพัฒนาใกล้เคียงกัน บลูเรย์มีความจุ 25 GB ในแบบเลเยอร์เดียว (Single-Layer) และ 50 GB ในแบบสองเลเยอร์ (Double-Layer) ขณะที่ เอ็ชดีดีวีดีแบบเลเยอร์เดียว มี 15 GB และสองเลเยอร์มี 30 GB

ความจุของบลูเรย์ดิสค์ ซึ่งปกติแผ่นบลูเรย์นั้นจะมีลักษณะคล้ายกับแผ่น ซีดี/ดีวีดี โดยแผ่นบลูเรย์จะมีลักษณะแบบหน้าเดียว และสองหน้า โดยแต่ละหน้าสามารถรองรับได้มากถึง 2 เลเยอร์ อาทิ แผ่น BD-R (SL) หมายถึง Blu-Ray Disc ROM แบบ Single Layer แบบหน้าเดียว มีความจุ 25 GB แผ่น BD-R (DL) หมายถึง Blu-Ray Disc ROM แบบ Double Layer แบบหน้าเดียว มีความจุ 50 GB แผ่น BD-R (2DL) หมายถึง Blu-Ray Disc ROM แบบ Double Layer แบบสองหน้า มีความจุ 100 GB

ส่วนความเร็วในการอ่านหรือบันทึกแผ่น Blu-Ray ที่มีค่า 1x, 2x, 4x ในแต่ละ 1x จะมีความเร็ว 36 เมกะบิต ต่อ วินาที นั่นหมายความว่า 4x นั่นจะสามารถบันทึกได้เร็วถึง 144 เมกะบิต ต่อ วินาที


 เครื่องเล่นบลูเรย์รุ่นแรก

โซนี่ เพลย์สเตชัน 3
[โซนี่ รุ่น BDP-S1
ซัมซุง รุ่น BD-P1000
พานาโซนิค รุ่น DMP-BD10
ไพโอเนียร์ รุ่น BDP-HD1
ฟิลิปส์ รุ่น BDP9000
ชาร์ป รุ่น DV-BP1
แอลจี รุ่น BD100
ไลท์-ออน รุ่น BDP-X1

ย้ำ แผ่น Blue- ray ไม่สามารถ เล่นกับเครื่องเล่นทั่วไปได้  จึงจำเป้นต้องซื้อเครื่อง เล่น Blue- ray โดย เฉพาะ

ต่อ มา  จึงเกิด ศึก แดง ศึก น้ำเงิน ขึ้น



Blu-ray vs HD-DVD

เทคโนโลยีในปัจจุบันได้รับการพัฒนาและค้นคว้าวิจัยอยู่ตลอดเวลาจากผู้ผลิต ไม่ว่าจะเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องเสียงชนิดต่างๆ รวมถึงแผ่นดิสก์ ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการบันทึกข้อมูลต่างๆ ที่สามารถนำไปใช้กับเครื่องเสียงได้ โดยแผ่นดิสก์นั้นได้รับการพัฒนามาตั้งแต่อดีตซึ่งเป็นแผ่นดิสก์ที่มีความจุเพียง 700 เมกะไบต์ จนถึงปัจจุบันแผ่นดิสก์ธรรมดาๆนั้นได้รับการพัฒนาจนกลายเป็นแผ่นดีวีดีที่มีชื่อเรียกว่า เอชดี ดีวีดี ที่มีความจุมากถึง 15 จิกะไบต์

เอชดี ดีวีดี เป็นแผ่นดิสก์เพิ่งที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาเมื่อไม่กี่ปีมานี้จากบริษัท โตชิบา โดยเริ่มใช้มาตั้งแต่ปี 2006 ซึ่งเป็นแผ่นดิสก์ที่ได้รับการยอมรับจากผู้ผลิตโฮมวีดีโอทั้งหลายบริษัทเช่น วอร์เนอร์ บราเธอร์ ซึ่งถือเป็นผู้ผลิตโฮมวีดีโอที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา, วอลต์ ดิสนีย์, ทเวนตี้ เซนจูรี่ ฟ็อกซ์ และอีกหลายๆค่ายของโฮมวีดีโอ และนอกจากนี้เอชดี ดีวีดี ยังได้รับการสนับสนุนจากผู้ผลิตเครื่องเสียงหลายๆยี่ห้อ เช่น ซัมซุง, พานาโซนิค, ไพโอเนียร์, ฟิลิปส์ และผู้ผลิตเครื่องเสียงชั้นนำอื่นๆ

ต่อมาปี 2007 บริษัท โซนี่ ได้ทำการพัฒนาแผ่นดิสก์ขึ้นมาอีกประเภทหนึ่งซึ่งมีชื่อเรียกว่า บลู-เรย์ ซึ่งเป็นสินค้าที่มีคุณสมบัติสามารถบันทึกข้อมูลได้ถึง 25 จิกะไบต์ และยังสามารถบันทึกภาพได้ละเอียดคมชัดกว่าเอชดี ดีวีดี นั้น คุณสมบัติที่โดดเด่นกว่าเอชดี ดีวีดีนี้เองทำให้ บลู-เรย์ได้รับความสนใจจากผู้ผลิตโฮมวีดีโอขนาดใหญ่อย่าง วอร์เนอร์บราเธอร์ส และตามมาด้วย วอลต์ ดิสนีย์, ทเวนตี้ เซนจูรี่ ฟ็อกซ์ และไลออนส์เกต แต่บริษัทที่ให้ความสนใจกับบลู-เรย์นั้นก็ไม่ได้เปลี่ยนไปใช้บลู-เรย์ทั้งหมดโดยได้แบ่งสัดส่วนเป็นอย่างละครึ่ง ส่วนทางด้านเอชดี ดีวีดี ก็มียูนิเวอร์แซล และพาราเมาท์ ที่ยังคงเป็นกลุ่มผู้สนับสนุน เอชดี ดีวีดีอย่างมั่นคง ซึ่งส่วนนี้เป็นฐานการสนับสนุนในเชิงของอุตสาหกรรมภาพยนตร์และยังมีส่วนของอุตสาหกรรมเกมด้วย คือ บลู-เรย์นั้นได้รับการสนับสนุนจากทางเพลย์สเตชั่นของโซนี่และเอชดี ดีวีดีนั้นก็ได้รับการสนับสนุนจากเอ็กซ์บ็อกซ์จากไมโครซอฟต์ นอกจากนี้แล้วบลู-เรย์ยังได้รับการสนับสนุนจาก โซนี่ซึ่งผู้ผลิตหลักของตลาด และบริษัทผู้ผลิตเครื่องเสียงต่างๆเช่น ซัมซุง พานาโซนิค ไพโอเนียร์ ชาร์ป ฟิลิปส์ แอลจี และฮิตาชิ ต่างเลือกที่จะสนับสนุนบลู-เรย์

เนื่องจากบลู-เรย์ มีคุณภาพที่สูงกว่าเอชดี ดีวีดี แน่นอนว่าบลู-เรย์นั้นจะต้องมีราคาที่สูงกว่าเอชดี ดีวีดีด้วยเช่นกัน แต่อย่างไรก็ตามทั้งเอชดี ดีวีดีและบลู-เรย์นั้นในปัจจุบันยังคงเป็นสินค้าที่มีราคาค่อนข้างสูงอยู่ทั้งคู่ และยังไม่เป็นที่นิยมในตลาดมากเท่าใดนัก แต่ถ้าหากทั้งสองบริษัทยังมีเป้าหมายที่จะขยายฐานปริมาณความต้องการของตลาดนั้น อีกไม่นานราคาของเอชดี ดีวีดีและบลู-เรย์ก็คงจะมีราคาที่ถูกลงอย่างแน่นอน

ตลาดของเอชดี ดีวีดีหรือบลู-เรย์ นั้นยังไม่เป็นที่กว้างขวางมากนัก ดังนั้นการขยายฐานตลาดจึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับทั้งสองบริษัท โดยดีมานด์ของเอชดี ดีวีดีและบลู-เรย์ ในประเทศไทยนั้นยังไม่เป็นที่กว้างขวางมากนัก โดยกลุ่มลูกค้าที่คาดว่าจะเป็นเป้าหมายนั้นจะเป็นกลุ่มลูกค้าประเภทที่มีไลฟ์สไตล์ชื่นชอบในเรื่องที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี ชอบการดูหนังฟังเพลง และกลุ่มผู้ผลิตและตัดต่อภาพยนตร์

เมื่อนำสินค้าทั้ง 2 ชนิดมาเปรียบเทียบกัน เอชดี ดีวีดี นั้น นอกจากจะมีข้อได้เปรียบทางด้านราคาที่ถูกกว่าแล้วนั้น เอชดี ดีวีดี ยังมีข้อได้เปรียบอีกอย่างหนึ่งคือ สามารถเล่นได้กับเครื่องเสียงรุ่นเก่าที่ผลิตขึ้นมาในระหว่างปี 2006 ได้ ซึ่งที่ได้กล่าวไปแล้วนั้นว่า บลู-เรย์ได้ถือกำเนิดขึ้นมาเมื่อปี 2007 ซึ่งระยะเวลา 1 ปีนั้น เป็นเวลาที่เครื่องเสียงจำนวนไม่น้อยได้ถูกผลิตขึ้นมาเพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภค แต่อย่างไรก็ตามปัญหาด้านเครื่องเสียงที่เป็นอุปสรรคในการเล่น บลู-เรย์ นั้นไม่ใช่ปัญหาใหญ่เลยเพราะเครื่องเสียงในปัจจุบันส่วนใหญ่จะมีอายุการใช้งานที่ไม่ยาวนัก ดังนั้นข้อได้เปรียบของเอชดี ดีวีดีนี้เป็นเพียงแค่ข้อได้เปรียบในระยะสั้นเท่านั้น

ในปัจจุบันนั้นทั้งเอชดี ดีวีดีและบลู-เรย์ได้มีการแข่งขันในการแย่งชิงความเป็นเจ้าตลาดและแผ่นดิสก์ของผู้ผลิตทั้งสองนั้นไม่สามารถเล่นในเครื่องเล่นเดียวกันได้ กล่าวคือเครื่องเล่นที่สามารถรองรับเอชดี ดีวีดีได้จะไม่สามารถรองรับบลู-เรย์ได้ และเครื่องเล่นที่สามารถรองรับบลู-เรย์ ดีวีดีได้จะไม่สามารถรองรับเอชดี ดีวีดี ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่าทั้งสองบริษัทนั้นมีการฮั้วกันในอุตสาหกรรมผู้ผลิตเครื่องเสียงกล่าวคือทางด้านผู้ผลิตเครื่องเสียงนั้นก็ได้มีการแยกออกเป็น 2 ฝ่ายโดยวิธีการในการสนับสนุนความเป็นเจ้าตลาดของผู้ผลิตทั้งสองคือ ทั้งแผ่นดีวีดีและเครื่องเสียงต่างเป็นสินค้าที่มีความเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน ดังนั้นในการที่ผู้ผลิตเครื่องเสียงออกมาให้มีความสามารถในการรองรับแผ่นดิสก์เพียงชนิดเดียวนั้นก็ถือว่าเป็นการต่อต้านแผ่นดิสก์อีกชนิดเช่นกันซึ่งทางด้านในการแย่งชิงความเป็นเจ้าตลาดแผ่นดีวีดีนั้น ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้ผลิตแผ่นดีวีดีว่าจะดึงความเชื่อใจจากผู้ผลิตเครื่องเสียงที่เป็นเจ้าตลาดมาอยู่ฝ่ายเดียวกันได้มากน้อยเพียงใด

และเนื่องจากมีการแข่งขันเพื่อแย่งชิงความเป็นเจ้าตลาดมาเกินไปส่งผลให้เกิดการชะงักตัวของทั้งทางด้านผู้ผลิตโฮมวีดีโอและผู้บริโภค คือไม่สามารถตัดสินใจได้ว่าจะเลือกซื้อสินค้าที่จะสามารถรองรับแผ่นดีวีดีจากบริษัทใดเช่นเดียวกันกับผู้ผลิตโฮมวีดีโอนั้นไม่สามารถเลือกได้ว่าจะใช้แผ่นดีวีดีของบริษัทใดมาใช้ในการผลิตจึงจะให้ได้ผลดีกว่ากัน ทำให้บริษัทวอร์เนอร์บราเธอร์ส ซึ่งเป็นเจ้าตลาดในการผลิตโฮมวีดีโอตัดสินใจผลิตแผ่นดิสก์สายพันธุ์ใหม่เพิ่มขึ้นมาในตลาดอีกหนึ่งชนิดซึ่งมีชื่อเรียกว่า ทีเอชดี โดยทีเอชดีนั้นสามารถเล่นได้กับทั้งเครื่องเล่นที่รองรับเอชดี ดีวีดีและเครื่องเล่นที่รองรับบลู-เรย์ โดยการตัดสินใจของผู้บริหารวอร์เนอร์บราเธอร์สนั้นถือเป็นการแกไขปัญหาได้อย่างดีเยี่ยมเพราะจะส่งผลทำให้ในตลาดแผ่นดีวีดีที่มีการแข่งขันอย่างรุนแรงจนกระทั่งเกิดการชะลอตัวในการซื้อขายและการผลิตแผ่นโฮมวีดีโอนั้นสามารถดำเนินการได้อย่างปกติเช่นเดิม แต่อย่างไรก็ตามดีเอชทีนี้ยังไม่ได้รับการผลิตออกมาจำหน่ายในตลาดดังนั้นในปัจจุบันตลาดแผ่นดีวีดีก็ยังคงเป็นการแข่งขันของเอชดี ดีวีดีและบลู-เรย์

ตลาดสินค้าประเภทนี้ในปัจจุบันมีผู้แข่งขันในตลาดอยู่เพียงแค่ 2 รายเท่านั้นสาเหตุหลักมาจากสินค้าประเภทนี้เป็นสินค้าประเภทเทคโนโลยี ฉะนั้นในการที่จะค้นคว้า วิจัยสิ่งใหม่ขึ้นมาได้นั้นมีความจำเป็นที่จะต้องใช้เงินทุนค่อนข้างสูง ดังนั้นสำหรับ บริษัท โตชิบา หรือ บริษัท โซนี่ สามารถผลิตดิสก์ที่มีคุณสมบัติพิเศษแตกต่างจากดิสก์โดยทั่วไปได้เพราะมีทีมงานที่เป็นฝ่ายวิจัย และมีวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นจะต้องใช้ในการค้นคว้าอยู่แล้ว จึงไม่มีความจำเป็นที่ทั้งสองบริษัทนี้จะต้องลงทุนใหม่ทุกอย่างเพื่อการได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งถ้าหากว่ามีกิจการที่ตั้งบริษัทขึ้นมาเพื่อการค้นคว้าวิจัยโดยเฉพาะนั้นเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก เนื่องจากเมื่อต้องการที่จะปิดกิจการนั้นต้นทุนจมที่เกิดขึ้นนั้นมีค่ามากเกินกว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งสาเหตุนี้ถือได้ว่าเป็นอุปสรรคในการเข้าตลาดประการหนึ่ง


ที่มา: tumragame.com


Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46027
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai
นอกจากนี้แล้วในการที่บริษัท โตชิบา และ บริษัท โซนี่ ซึ่งเป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อการผลิตเครื่องเสียงนั้นเป็นกิจการที่ต้องใช้เงินลงทุนค่อนข้างสูงตามที่ได้กล่าวไปแล้ว ซึ่งเงินลงทุนในส่วนนี้ก็คือต้นทุนคงที่ดังนั้นเมื่อมีบริษัทที่เปิดขึ้นใหม่เพื่อแข่งขันกับผู้ผลิตรายเก่าย่อมเสียเปรียบผู้ผลิตเดิมอย่างแน่นอนคือในด้านการประหยัดต่อขนาดซึ่งเป็นอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาดอีกประการหนึ่ง

เอชดี ดีวีดีและบลู-เรย์นั้นไม่ใช่สินค้าที่มีเหมือนกันทุกประการทั้งในส่วนของคุณสมบัติและราคาซึ่งผู้บริโภคนั้นสามารเลือกได้ว่าต้องสินใช้สินค้าที่มีคุณสมบัติสูงเพียงใด โดยอาจจะไม่ใช่สินค้าที่มีการแข่งขันสูงถึงขั้นนี้ ถ้าหากว่าไม่มีส่วนของอุตสาหกรรมเครื่องเสียงและอุตสาหกรรมภาพยนตร์เข้ามาเกี่ยวข้องนั้น เอชดี ดีวีดีและบลู-เรย์อาจเป็นเพียงสินค้าทั่วไป แต่การที่ผู้ผลิตทั้งสองมีการแข่งขันกันอย่างเข้มข้นนั้นอาจเป็นการทำเพื่อให้ได้เป็นผู้ผลิตเพียงรายเดียวในตลาดและสามารถสร้างอำนาจเหนือตลาดภายในอนาคตข้างหน้าได้เมื่อตนเป็นเพียงผู้ผลิตเพียงรายเดียว

เครดิด

1.)http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02mar03240151&day=2008-01-24&sectionid=0207

2.)http://allthaiit.com/technews/view_tech_update.php?technoU_ID=124

3) http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=ibus&date=29-01-2006&group=5&gblog=


ที่มา: tumragame.com

 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)


Related Topics

  Subject / Started by Replies Last post
0 Replies
2634 Views
Last post January 12, 2011, 05:45:02 PM
by Nick
0 Replies
2091 Views
Last post April 16, 2011, 03:44:59 PM
by Nick
0 Replies
1996 Views
Last post November 09, 2011, 03:30:40 PM
by Nick
0 Replies
2109 Views
Last post November 13, 2011, 10:47:44 AM
by Nick
0 Replies
1251 Views
Last post January 04, 2012, 06:22:22 PM
by Nick
0 Replies
1442 Views
Last post February 27, 2012, 01:26:03 PM
by Nick
0 Replies
1312 Views
Last post April 22, 2012, 07:38:49 PM
by Nick
0 Replies
1644 Views
Last post May 16, 2012, 07:27:22 PM
by Nick
0 Replies
1300 Views
Last post January 24, 2013, 03:19:24 PM
by Nick
0 Replies
1343 Views
Last post February 08, 2013, 11:19:15 AM
by Nick