Author Topic: โลกอาจขาดแคลน พื้นที่เก็บข้อมูลใน 2 ปี เหตุเพราะ วิดีโอ-เพลง-ไฟล์มหาศาล  (Read 1062 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


       วัฒนธรรมถ่ายวิดีโอ ภาพ และการส่งต่อไฟล์ความละเอียดสูงผ่านระบบออนไลน์กำลังทำพิษ ล่าสุดผู้บริหารซีเกท (Seagate) บริษัทผลิตฮาร์ดไดร์ฟและระบบเก็บข้อมูลให้สัมภาษณ์เตือนชาวดิจิตอลว่าอาจพบวิกฤติพื้นที่เก็บข้อมูลไม่เพียงพอในช่วง 2 ปีนับจากนี้ เบื้องต้นประเมินปัญหานี้อาจบานปลายโดยเฉพาะในวันที่ชาวโลกสร้างข้อมูลดิจิตอลรวมมากกว่า 44 เซตตาไบต์ต่อปีในปี 2020 โดย 1 เซตตาไบต์มีค่าเท่ากับ 10 ยกกำลัง 21
       
       มาร์ก วิตบี (Mark Whitby) รองประธานบริษัทซีเกท ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวเทคเรดาร์ดอทคอม (techradar.com) ว่าในปี 2016 ฮาร์ดไดร์ฟที่ติดตั้งในอุปกรณ์ออนไลน์ทั่วโลกจะเริ่มถึงขีดจำกัดและอาจไม่เพียงพอที่จะเก็บข้อมูลดิจิตอลที่ชาวโลกสร้างขึ้น จุดนี้มีการศึกษาว่าข้อมูลดิจิตอลที่ถูกสร้างขึ้นช่วงปี 2013 ที่ผ่านมานั้นมีจำนวนราว 3.5 เซตตาไบต์ (ศูนย์ 20 ตัวต่อท้ายเลข 35 ไบต์) และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจนถึง 44 เซตตาไบต์ต่อปีในอีก 6 ปีข้างหน้า (ปี 2020)

       
       “มีโอกาสเพียงน้อยนิดที่ฮาร์ดไดร์ฟซึ่งสร้างจากซิลิกอนจำนวนหลักพันล้านชิ้นทั่วโลกจะสามารถให้พื้นที่เพียงพอกับมหาสมุทรของข้อมูลที่ขับเคลื่อนด้วยอุปกรณ์ออนไลน์มากกว่า 2.6 หมื่นล้านชิ้น ซึ่งยังไม่รวมสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และพีซี 7.3 พันล้านเครื่องที่บริษัทวิจัยการ์ทเนอร์พยากรณ์ว่าจะถูกใช้งานในปี 2020”
       
       ปัจจัยหลักที่ทำให้ผู้บริหารซีเกทฟันธงว่าฮาร์ดไดร์ฟทั่วโลกจะมีพื้นที่ไม่เพียงพอเก็บข้อมูลคือการคำนวณจากปริมาณข้อมูล 44 เซตตาไบต์ ร่วมกับมาตรฐานพื้นที่เก็บข้อมูลส่วนใหญ่ของสมาร์ทโฟนปัจจุบันที่ 32 กิกะไบต์ ซึ่งจะพบว่าเพื่อให้เก็บข้อมูลได้ 1 เซตตาไบต์ โลกจะต้องใช้สมาร์ทโฟนมากกว่า 34,359,738,368 เครื่อง
       
       ผู้บริหารซีเกทให้สัมภาษณ์ด้วยว่าปี 2016 ปริมาณข้อมูลดิจิตอลมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเกินหน้าพื้นที่เก็บข้อมูลอย่างน้อยราว 6 เซตตาไบต์ โดย 6 เซตตาไบต์นี้เทียบเป็น 2 เท่าของปริมาณข้อมูลที่ถูกสร้างในปี 2013 ปริมาณข้อมูลที่เพิ่มขึ้นแซงหน้าพื้นที่เก็บข้อมูลนี้ถูกซีเกทมองเป็นช่องว่างความจุข้อมูลหรือ capacity gap ซึ่งเป็นประเด็นท้าทายหลักของอุตสาหกรรมผู้ค้าสื่อเก็บข้อมูลในช่วง 5 ปีนับจากนี้
       
       อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารซีเกทยอมรับว่าการเพิ่มโรงงานผลิตฮาร์ดไดร์ฟหรือการสร้างศูนย์ข้อมูลแห่งใหม่อาจเป็นคำตอบที่หลายคนมองว่าสามารถแก้ปัญหาได้ แต่ประเด็นที่โลกควรให้ความสำคัญคือความจริงที่ว่าการเตรียมพื้นที่เก็บข้อมูลนั้นยากกว่าการสร้างข้อมูลมากนัก แถมการสร้างโรงงานแห่งใหม่เพื่อตอบความต้องการของตลาดนั้นต้องใช้การลงทุนหลายหมื่นล้านเหรียญ จุดนี้การเพิ่มจำนวนโรงงานผลิตฮาร์ดไดร์ฟจึงอาจไม่ใช่ทางออก

วิดีโอ-เพลง-ไฟล์มหาศาลทำพิษ โลกอาจขาดแคลนพื้นที่เก็บข้อมูลใน 2 ปี

        หนึ่งในทางออกของปัญหานี้คือการพัฒนาเทคโนโลยี จุดนี้แม้จะไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำให้ระบบสามารถเก็บข้อมูลเพิ่มขึ้นได้โดยใช้พื้นที่เท่าเดิม แต่ที่ผ่านมา ผู้ผลิตฮาร์ดไดร์ฟและศูนย์ข้อมูลต่างเตรียมเงินทุนให้กับการค้นคว้าวิจัยเพื่อตอบความต้องการให้ได้ จุดนี้สะท้อนว่าถึงเวลาแล้วที่ผู้ผลิตสื่อเก็บข้อมูลต้องพัฒนาเทคโนโลยีใหม่อีกครั้ง
       
       “ซีเกทผลิตฮาร์ดไดร์ฟครั้งแรกในปี 1979 ฮาร์ดไดร์ฟรุ่นนั้นมีความจุ 5 เมกะไบต์ซึ่งเทียบเท่ากับวิดีโอความละเอียดต่ำ 2 วินาทีที่ถ่ายได้จากสมาร์ทโฟนปัจจุบัน หรือภาพละเอียดสูง 2 ภาพเท่านั้น วันนี้ฮาร์ดไดร์ฟ 5 เทราไบต์สามารถเก็บภาพได้มากกว่า 2 ล้านภาพ, เพลงกว่า 2.5 ล้านเพลง และภาพยนตร์กว่า 1,000 เรื่อง เทียบความจุแล้วฮาร์ดไดร์ฟถูกเพิ่มพื้นที่เก็บข้อมูลมากกว่า 1 ล้านเท่าตัว”
       
       ทั้งหมดนี้ ผู้บริหารซีเกทยืนยันว่าบริษัทมีการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อตอบความต้องการของโลกดิจิตอลในอนาคต โดยเทคโนโลยีดังกล่าวมีชื่อว่า Heat-assisted magnetic recording (HAMR) ซึ่งมีการใช้เลเซอร์ในการเพิ่มความร้อนก่อนที่ข้อมูลจะถูกเขียนลงแม่เหล็กเพื่อให้ข้อมูลถูกบันทึกได้มากขึ้นบนพื้นที่เท่าเดิม เบื้องต้นเทคโนโลยีนี้ยังอยู่ระหว่างการพัฒนา บนเป้าหมายเก็บข้อมูลให้ได้ 50 เทราบิตต่อตารางนิ้ว

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)