Author Topic: เจาะลึก งานวิจัยอารมณ์ สุดฉาวของ Facebook  (Read 994 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


       ทั้งที่ควรเป็นเรื่องดีงามเมื่อเครือข่ายสังคมอันดับ 1 ของโลกอย่าง "เฟซบุ๊ก (Facebook)" ประกาศว่าได้ศึกษาวิจัยอารมณ์ความรู้สึกของผู้ใช้ทั่วโลกเพื่อปรับปรุงบริการของตัวเอง แต่ปรากฏว่าการประกาศครั้งนี้ทำให้เฟซบุ๊กถูกตรวจสอบและเพ่งเล็งจากทุกฝ่ายทั้งภาครัฐและองค์กรพิทักษ์สิทธิ์ผู้ใช้ทั่วไป รวมถึงผู้บริโภคที่มองว่ากำลังถูกละเมิดสิทธิ์อย่างไม่น่าให้อภัย
       
       หนึ่งในข้อสังเกตที่ทำให้งานวิจัยเป็นสาเหตุให้เฟซบุ๊กถูกวิจารณ์อย่างหนักคือนโยบายใช้ข้อมูลหรือ Data Use Policy ของเฟซบุ๊กที่พบว่าถูกเปลี่ยนแปลงไปนับตั้งแต่เฟซบุ๊กลงมือทำวิจัยชิ้นนี้เสร็จสมบูรณ์ การเปลี่ยนแปลงนี้เองที่ทำให้เฟซบุ๊กถูกเพ่งเล็งอย่างหนักว่าละเมิดสิทธิ์ผู้ใช้จนเข้าข่ายผิดกฎมายคุ้มครองผู้บริโภคหรือไม่ ซึ่งแม้จะถูกกระแสสังคมวิจารณ์เพียงไร เฟซบุ๊กก็ประกาศว่ายังคงเดินหน้าทำการวิจัยต่อไปเพื่อปรับปรุงบริการให้ดีที่สุด

       
       เฟซบุ๊กนั้นยืนยันว่าการวิจัยที่เกิดขึ้นนั้นไม่ผิดกฎหมาย แม้วิธีการทดลองนั้นจะเข้าข่าย"หลอกลวงตบตา"โดยที่ผู้ใช้ไม่ได้รับรู้ว่ากำลังถูกคัดเลือกให้อยู่ในกลุ่มตัวอย่างแม้แต่น้อย เนื่องจากเฟซบุ๊กใช้การเพิ่ม"โพสต์ปลอม"มากกว่า 3 ล้านโพสต์ลงในหน้าข่าวสารหรือ News Feeds ของผู้ใช้ โดยกลุ่มตัวอย่างบางส่วนจะถูกเสนอให้อ่านโพสต์ข่าวด้านลบมากกว่า ด้วยการลดจำนวนโพสต์ด้านบวกบน News Feeds ลง ขณะที่บางกลุ่มตัวอย่างถูกเสนอให้อ่านโพสต์ข่าวดีด้านบวกมากกว่า แน่นอนว่า News Feeds ของผู้ใช้กลุ่มนี้จะถูกลดจำนวนโพสต์ที่เป็นข่าวด้านลบ
       
       เฟซบุ๊กไม่ได้แจ้งว่าผู้ใช้รายใดถูกคัดเลือกให้เป็นกลุ่มตัวอย่าง เพราะรายงานระบุว่าทีมวิจัยใช้วิธีสุ่มเลือกชื่อบัญชีเฟซบุ๊กมากกว่า 689,003 ราย จากผู้ใช้ทั่วโลก 1.3 พันล้านคน แน่นอนว่าผู้พิทักษ์สิทธิ์มนุษยชนมองว่าการกระทำนี้เป็นสิ่งน่าละอายและเข้าข่ายละเมิดสิทธิ์ผู้ใช้งาน แม้เฟซบุ๊กจะยืนยันเจตนาบริสุทธิ์ว่า การวิจัยนี้เกิดขึ้นเพื่อหาคำตอบว่าความสุขหรือความโกรธรวมถึงอารมณ์ด้านลบอื่นๆนั้นสามารถ"ติดต่อ"บนเครือข่ายสังคมหรือไม่ ซึ่งผลการวิจัยสะท้อนชัดเจนว่าชาวเฟซบุ๊กสามารถรับอารมณ์ของเพื่อนเหมือนเป็นโรคติดต่อได้จริง
       
       งานวิจัยชิ้นนี้พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ถูกเสนอให้อ่านโพสต์ข่าวด้านลบมากกว่าจะมีแนวโน้มแสดงความเห็นด้วยถ้อยคำเชิงลบมากขึ้น ขณะที่กลุ่มตัวอย่างที่ถูกเสนอให้อ่านโพสต์ข่าวดีด้านบวกมากกว่า จะมีแนวโน้มโพสต์ความเห็นในเชิงบวกตามไปด้วย จุดนี้ทำให้เฟซบุ๊กสรุปผลการทดลองว่า ผู้ใช้ที่ติดต่อกับผู้ที่มีความสุขและแสดงความเห็นเชิงบวก มีโอกาสสูงที่จะรู้สึกมีความสุขและเห็นโลกในเชิงบวกมากขึ้นตามไปด้วย
       
       ไม่ว่าเฟซบุ๊กจะนำผลการศึกษานี้ไปปรับปรุงบริการให้มีประโยชน์มากเพียงไร แต่เสียงวิจารณ์มองว่าการกระทำของเฟซบุ๊กถือเป็นสิ่งที่ไม่ชอบธรรม โดยเฉพาะการตรวจสอบพบว่านโยบาย Data Use Policy ถูกเปลี่ยนแปลงมาเป็นข้อความแจ้งว่า "เฟซบุ๊กสามารถนำข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้ไปดำเนินการในบริษัทได้ ทั้งการวิเคราะห์ข้อมูล การทดสอบ การวิจัย รวมถึงการพัฒนาบริการ" ซึ่งข้อความเหล่านี้พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงในช่วงหลังจากมกราคมปี 2012 ช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่ทีมวิจัยของเฟซบุ๊กเริ่มร่วมมือกับนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยคอร์แนล (Cornell) และยูซีซานฟรานซิสโก (UC San Francisco) โดยชื่อเต็มของงานวิจัยนี้คือ "Experimental Evidence of Massive-Scale Emotional Contagion Through Social Networks"
       
       สื่ออเมริกันอย่างฟอร์บส์ (Forbes) ตั้งข้อสังเกตว่าในช่วงปี 2012 นโยบาย Data Use Policy ของเฟซบุ๊กไม่มีคำว่า "research" หรืองานวิจัยปรากฏเลยแม้แต่น้อย โดยข้อความดั้งเดิมแจ้งว่า "เฟซบุ๊กสามารถนำข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้ไปดำเนินการในบริษัทได้" เท่านั้น ประเด็นนี้สำนักข่าวซีเน็ต (CNET) สอบถามไปยังโฆษกเฟซบุ๊กและได้รับการแจ้งว่าถึงแม้นโยบายฉบับเก่าจะไม่มีการระบุถึงงานวิจัย แต่แนวคิดของการศึกษาข้อมูลผู้ใช้ที่ระบุในนโยบาย Data Use Policy เวอร์ชันเดิมก็คือแนวคิดเดียวกัน
       
       โฆษกเฟซบุ๊กยังระบุอีกว่า ระบบของเฟซบุ๊กถูกออกแบบมาให้ขออนุญาตผู้ใช้ในการนำข้อมูลส่วนตัวไปใช้ในบริการเสมอ แต่สำหรับงานวิจัยที่ไม่มีการแจ้งผู้ใช้ว่ากำลังถูกจัดเข้าเป็นกลุ่มตัวอย่างในการทดลองครั้งนี้ เป็นเพราะเฟซบุ๊กต้องการพัฒนาบริการจากข้อมูลที่แท้จริง จุดนี้เท่ากับว่าเฟซบุ๊กสามารถทำการวิจัยต่อไปได้แม้จะมีคำว่า "research" ปรากฎในนโยบาย Data Use Policy ของเฟซบุ๊กหรือไม่ก็ตาม
       
       ขณะนี้ยังไม่ชัดเจนว่า หน่วยงานสหรัฐฯอย่างคณะกรรมการการค้ายุติธรรมหรือ Federal Trade Commission จะยื่นมือเข้ามาคุ้มครองผู้บริโภคหรือไม่ ซึ่งถือเป็นอีกเรื่องน่าจับตาเพราะหน่วยงานรัฐแดนลุงแซมเคยเข้ามามีส่วนร่วมจนทำให้เฟซบุ๊กต้องปรับนโยบายความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้มาแล้วในปี 2011

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)


Related Topics

  Subject / Started by Replies Last post
0 Replies
2150 Views
Last post March 04, 2010, 12:44:40 AM
by Nick
0 Replies
1649 Views
Last post June 24, 2010, 07:03:46 PM
by Nick
0 Replies
2515 Views
Last post September 06, 2010, 10:53:40 PM
by Nick
0 Replies
2032 Views
Last post September 08, 2010, 04:58:02 PM
by Nick
0 Replies
2062 Views
Last post September 23, 2010, 01:38:22 PM
by Nick
0 Replies
1999 Views
Last post October 10, 2010, 03:54:04 PM
by Nick
0 Replies
2143 Views
Last post October 19, 2010, 03:49:30 PM
by Nick
0 Replies
3247 Views
Last post March 08, 2012, 01:28:50 PM
by Nick
0 Replies
3074 Views
Last post May 12, 2014, 03:53:12 PM
by Nick
0 Replies
9397 Views
Last post June 18, 2014, 02:09:30 AM
by Nick