Author Topic: หัวเว่ย โชว์เทคโนโลยี LTE-A ครั้งแรกในประเทศไทย  (Read 1183 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


หัวเว่ยจับมือ กสทช.จัดงาน Thailand LTE and Beyond Summit 2014 หวังกระตุ้นเทคโนโลยี LTE-A ในประเทศไทย พร้อมตั้งเป้ารายได้กลุ่ม LTE ทะลุ 4,000 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2557 ด้าน “พ.อ.เศรษฐพงค์” ประธาน กทค.ระบุตอนนี้เป็นเวลาที่เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับ 4G LTE ของประเทศไทย
       
       นายอิง เว่ยหมิง ประธานกลุ่มเทคโนโลยี GSM/UMTS/ LTE Networks ของหัวเว่ย กล่าวภายในงาน Thailand LTE and Beyond Summit 2014 ซึ่งหัวเว่ยจัดขึ้นร่วมกับคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ว่า การจัดงานในครั้งนี้เพื่อเป็นการโชว์ศักยภาพเทคโนโลยี LTE / LTE-Advanced (LTE-A) เพื่อพัฒนาการสื่อสาร และคุณภาพชีวิตคนไทย เนื่องจากเทคโนโลยี LTE ถือเป็นเทคโนโลยีที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ซึ่งในปัจจุบันมีอุปกรณ์สื่อสารที่รองรับเทคโนโลยี LTE ทั้งสิ้น 1,563 รุ่น โดยเป็นสมาร์ทโฟน 636 รุ่น และในทศวรรษหน้าจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี LTE อย่างชัดเจน ทั้งในด้านแอปพลิเคชันการใช้งาน และการเติบโตของการรับส่งข้อมูล ที่สำคัญเทคโนโลยีดังกล่าวจะเชื่อมโยงผู้คนได้มากขึ้น รวมถึงมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นแก่ลูกค้าทั้งในแง่ของความเร็วในการรับส่งข้อมูล ศักยภาพที่ดีขึ้นกว่าเดิม และมีความล่าช้าน้อยลง

       
       ทั้งนี้ เมื่อเดือน มี.ค. 2557 ที่ผ่านมาหัวเว่ยได้มีการเซ็นสัญญา LTE เชิงพาณิชย์ไปแล้วกว่า 290 สัญญา และมีการติดตั้งเครือข่าย LTE เชิงพาณิชย์ไปแล้ว 133 เครือข่าย รวมถึงเครือข่าย EPC เชิงพาณิชย์อีก 113 เครือข่าย โดยทั้งหมดหัวเว่ยอาศัยจุดแข็งของการมีเครือข่ายองค์กรที่ตั้งกระจายอยู่ใน 6 ทวีป ส่งผลทำให้เทคโนโลยี LTE ของหัวเว่ยให้บริการครอบคลุมเมืองหลวง และศูนย์กลางการเงินของโลกกว่า 100 แห่ง ทั้งในลอนดอน ฮ่องกง สิงคโปร์ ซูริก โซล โตเกียว เจนีวา และโทรอนโต


       นอกจากนี้ ในปัจจุบันหัวเว่ยยังช่วยผู้ประกอบการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือระดับโลกมากมายเปิดให้บริการ LTE ในเชิงพาณิชย์ เช่น Vodafone, Deutsche Telekom, EE, Etisalat, Bell, MTS, SoftBank, STC, Telefonica, Telenor, TeliaSonera, TELUS เป็นต้น
       
       “รายได้ของหัวเว่ยในส่วนของเทคโนโลยี LTE นั้น ในปี 2556 สามารถสร้างรายได้ถึง 2,500 ล้านเหรียญสหรัฐ และคาดว่าในปี 2557 นี้จะเพิ่มสูงขึ้นเป็น 4,000 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยหัวเว่ยจะยังลงทุนด้านวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และนำเสนอโซลูชัน E2E ที่สร้างสรรค์ และเชื่อถือได้แก่ลูกค้า”
       
       ทั้งนี้ เทคโนโลยี 4G LTE ของหัวเว่ยสามารถทำให้การรับส่งวิดีโอ (Video Streaming) และการดาวน์โหลดอินเทอร์เน็ตทำได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยไม่มีการหยุดชะงัก เหมาะสำหรับการประชุมทางไกลผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ 4G LTE เป็นเทคโนโลยีมาตรฐานล่าสุดของการสื่อสารไร้สายความเร็วสูงสำหรับโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์สื่อสาร เมื่อเทียบกับเทคโนโลยี 3G แล้ว LTE สามารถมอบประสบการณ์ที่ดีกว่าด้วยศักยภาพที่เหนือกว่า ช่วยให้การท่องอินเทอร์เน็ต ทำวิดีโอคอล การค้นหาวิดีโอทำได้อย่างรวดเร็ว ไม่ต้องรอคอย ให้ความคมชัดของเสียงในการสนทนาผ่านโทรศัพท์มือถือด้วยคุณภาพที่สูงกว่าด้วย VoLTE (Voice Over LTE) พร้อมทั้งประสบการณ์และบริการใหม่อื่นๆ อีกหลายอย่าง
       
       สำหรับภายในงานดังกล่าวมีการสาธิตเทคโนโลยี LTE-A ครั้งแรกในประเทศไทยด้วยการใช้เทคโนโลยีของหัวเว่ยด้วย Carrier Aggregation ซึ่งเป็นเทคโนโลยีควบรวมคลื่นความถี่แบบอินเตอร์แบนด์ ที่ให้ความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงสุดที่ 300 Mbps ต่อวินาที และยังมีการสาธิตบริการหลักๆ ของ LTE เช่น VoLTE และ eMBMS เพื่อแสดงให้เห็นถึงศักยภาพด้านต่างๆ ของเทคโนโลยี LTE อีกด้วย โดยงาน Thailand LTE and Beyond Summit 2014 จัดขึ้นภายใต้ธีม “LTE-Inspiring the Life” โดยมีผู้ประกอบการโทรศัพท์มือถือทั้งไทย และต่างประเทศ ผู้ผลิตชิปเซต และนักวิเคราะห์ในอุตสาหกรรมให้ความสนใจเข้าร่วมงานมากมาย เพื่อร่วมแชร์ความคิดเห็นถึงพัฒนาการของเทคโนโลยี LTE/LTE-A รวมถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากการติดตั้งและการให้บริการ LTE-A เชิงพาณิชย์ในประเทศไทยต่อไป

       ด้าน พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ กรรมการ กสทช.ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ได้กล่าวในงาน Thailand LTE and Beyond Summit 2014 ว่า กสทช.จะจัดประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz ในเดือนสิงหาคม และคลื่น 900 MHz ในเดือนพฤศจิกายนที่จะถึงนี้ ซึ่งได้ประเมินแล้วว่าเป็นเวลาที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการจัดสรรคลื่น1800 MHz ที่มีความสามารถในการรองรับเทคโนโลยี 4G LTE และเป็นเวลาที่ถูกต้องสำหรับการจัดการประมูล เนื่องจากความพร้อมของอุปกรณ์ปลายทางในราคาที่เหมาะสมขึ้น อุปกรณ์โครงข่ายที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงความพร้อมของภาคส่วนต่างๆ ในการรองรับการพัฒนาธุรกิจบนเทคโนโลยี LTE เวลาจึงถูกต้องและเหมาะสมอย่างยิ่ง
       
       “ผมเชื่อมั่นในแนวทางนโยบายในการกำกับดูแลในลักษณะ Soft-Touch Regulation ก็จะเป็นกุญแจสำคัญที่จะส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยี LTE และ LTE Advanced ด้วย และหัวเว่ย ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำที่มีความเชี่ยวชาญในเทคโนโลยีนี้ ก็พร้อมที่จะแบ่งปันข้อมูลอันมีคุณค่าแก่พวกเราในวันนี้ ถือว่าเป็นโอกาสอันดียิ่งสำหรับประเทศไทยที่จะได้รับฟังข้อมูลจากหัวเว่ย ในฐานะที่เป็นผู้ผลิตอุปกรณ์ปลายทาง อุปกรณ์เครือข่าย และมีความเชี่ยวชาญในเทคโนโลยี LTE และ LTE Advanced เพื่อเป็นข้อมูลที่ยืนยันได้ว่าเวลานี้ถือว่าเป็นเวลาที่เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับ 4G LTE ของประเทศไทย”
       
       Company Related Link :
       หัวเว่ย

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)