Author Topic: Google Now เลขาชีวิตดิจิตอล  (Read 1020 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


    มองดูรอบตัวให้ดีและถามว่า “ปัจจุบันคนไทยคนไหนไม่ใช้บริการกูเกิลบ้าง” คำตอบที่ได้คงเป็นทิศทางเดียวกันทั้งประเทศว่า “ไม่มี” ทั้งระบบค้นหากูเกิล ยูทูป แผนที่นำทางจากกูเกิล ไปถึงสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์หลากหลายแบรนด์ สิ่งเหล่านี้ทุกคนเคยสัมผัสและทำให้กูเกิลเรียนรู้พฤติกรรมการใช้งานของคน ทั่วโลกได้ตลอดเวลา
       
       โดยเฉพาะประเทศไทย หลังจากกูเกิลเข้ามาเปิดสำนักงานในไทยอย่างเป็นทางการและเริ่มเข้ามาเก็บข้อมูลทำสถิติคำค้นหาของไทย การนำรถออกไปสำรวจภูมิประเทศรวมไปถึงการทำแผนที่นำทางสตรีทวิว ทั้งหมดเหล่านี้ทำให้ฐานข้อมูลกูเกิลในประเทศไทยเริ่มมีขนาดใหญ่ขึ้นมาก
       
       จนในที่สุดก็ถึงเวลาที่กูเกิลจะนำบริการอำนวยความสะดวกครั้งใหม่มามอบให้กับ คนไทยอย่างเต็มรูปแบบอีกครั้งกับ Google Now หลังจากตลาดแอนดรอยด์โฟนในประเทศไทยเติบโตสูงขึ้นและทำตลาดได้ทุกระดับ ตั้งแต่ราคาประหยัดไม่เกิน 3 พันบาทถึงไฮเอนด์หลายหมื่นบาท
       
       สำหรับ Google Now (กูเกิล นาว) ถือเป็นบริการและฟีเจอร์หนึ่งที่ฝังอยู่ในระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ (Android) ตั้งแต่รุ่น 4.1 Jelly Bean เป็นต้นไป เปรียบเสมือนเลขาส่วนตัวที่สามารถเรียนรู้พฤติกรรมผู้ใช้ และนำเสนอเส้นทางการใช้ชีวิตประจำวันแก่ผู้ใช้ได้อย่างชาญฉลาด โดยที่เราไม่ต้องสั่งงาน เช่น สามารถเรียนรู้ว่าเราจะเริ่มไปทำงานกี่โมงและเดินทางผ่านถนนเส้นไหน
       
       ซึ่งเมื่อถึงเวลาที่เราออกไปทำงาน Google Now จะแจ้งเตือนว่าถึงเวลาไปทำงานแล้วพร้อมบอกสภาพการจราจรถนนที่เราต้องเดินทาง ไปทำงาน เป็นต้น


      **กูเกิลกับคนไทย
       
       ถึงแม้ทางแอปเปิลหรือ ไมโครซอฟท์เองก็มีบริการคล้ายกับกูเกิลไม่ว่าจะเป็น Siri, Cortana (บนฐานข้อมูลของ Bing) ที่ใช้เป็นฐานข้อมูลระบบสั่งงานด้วยเสียงซึ่งเหนือกว่า Google Now อย่างมาก แต่เอาเข้าจริงแล้วรูปแบบการใช้งานที่ดูเหมือนขายฝัน ใช้งานจริงก็ดูแสนยากลำบากโดยเฉพาะการใช้งานในไทยที่ยังห่างไกลกับคำว่า "ผู้ช่วยเหลือเหมือนมนุษย์"
       
       เพราะเรื่องการเข้ามาทำการตลาด วิจัยและพัฒนาฐานข้อมูลในบ้านเรานั้นยังไม่จริงจังเหมือนกูเกิล และมองว่าเราเป็นประเทศโลกที่สาม ทำให้บริการต่างๆ ในไทยทำได้ไม่สมบูรณ์เลยแม้จะผ่านมาหลายปีแล้วก็ตาม
       
       จึงกลายเป็นโชคดีของคนไทยที่กูเกิลคิดต่างออกไปด้วยความพยายามเป็นผู้นำการให้บริการเทคโนโลยี อำนวยความสะดวกที่มีฐานข้อมูลใหญ่ที่สุดในโลก ทำให้กูเกิลต้องเข้าถึงแกนข้อมูลที่สอดคล้องกับบริการของตนในทุกประเทศ และประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในหลายประเทศที่กูเกิลให้ความสนใจและเริ่มเข้ามา เก็บข้อมูลว่า ในทุกวันคนไทยส่วนใหญ่ต้องการสิ่งใด
       
       จึงไม่แปลกที่เราจะเห็นกูเกิลอยู่รอบตัวไม่ว่าจะเป็น สตรีทวิว, การเก็บข้อมูลเพื่อจัดทำอันดับการค้นหาในไทยที่คนสนใจ ความร่วมมือกับ ขสมก. ในการเก็บข้อมูลขนส่งสาธารณะหรือแม้แต่การร่วมมือกับ บก.จร. (กองบังคับการตำรวจจราจร) สำหรับการตรวจสภาพจราจรบนแผนที่กูเกิลและล่าสุดกับความร่วมมือกับสายการบินเอมิเรตส์และอีกหลายสายการบินเพื่อให้ ระบบแจ้งเตือนเที่ยวบินหลังจากเราซื้อตั๋วแล้วรองรับกับ Google Now สิ่งเหล่านี้กูเกิลพัฒนามาอย่างต่อเนื่องหลายปีและพยายามขยายฐานข้อมูลให้ เป็นไปตามลักษณะของคลาวด์คือ มีฐานข้อมูลที่ลอยอยู่ในอากาศ ทำให้ทั้งคนของกูเกิลเองหรือแม้แต่ผู้ใช้ทั่วไปก็สามารถเพิ่มข้อมูลเหล่านั้นเองได้
       
       โดยเมื่อฐานข้อมูลในประเทศไทยเริ่มมีขนาดใหญ่ กูเกิลก็คิดต่อยอดไปยังบริการในมือของตนต่อไป และ Google Now ที่ปรากฏครั้งแรกบนแอนดรอยด์สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่กูเกิลประเทศไทยเลือก กับความมั่นใจว่า “เราเข้าใจผู้ใช้คนไทยได้ดีกว่าแพลตฟอร์มอื่น (iOS, Windows Phone) และคนไทยทุกคนจะต้องถูกใจกับแนวคิดและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น”


      **Google Now เลขาดิจิตอลคู่ใจชาวไทย
       
       ด้วยคอนเซ็ปต์การทำงานของ Google Now ซึ่งไม่เน้นด้านการตอบโต้กับผู้ใช้เหมือน Siri บน iOS หรือ Cortana จาก Microsoft แต่ Google Now เป็นระบบที่เน้นการแนะนำการใช้ชีวิตและคาดเดาความในใจของผู้ใช้อุปกรณ์กูเกิล (หรือบางคนจะเรียกว่าเทพพยากรณ์) ที่สามารถเติบโตได้ตามขนาดฐานข้อมูลกูเกิลที่โตขึ้นทุกวัน โดยส่วนใหญ่ผลลัพธ์จากการใช้ Google Now มักสร้างความประทับใจให้กับผู้ใช้เสมอ
       และทุกวันข้อความเริ่มต้นที่ Google Now ทำนายได้แม่นยำที่สุดก็คือ "เวลาที่เราควรออกไปทำงานพร้อมแนะนำเส้นทางการเดินทางพร้อมสภาพจราจรที่ถูก ต้อง ส่วนวันเสาร์อาทิตย์ที่ไม่ใช่วันทำงาน Google Now ก็เรียนรู้ด้วยว่าเราชอบไปไหน เวลาใด”
       
       โดยหลักการทำงาน Google Now จะเก็บพิกัดและเวลาบนแผนที่ตลอดเวลาผ่าน Cellsite เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ WiFi และ GPS ผสมกันว่าตอนนี้เจ้าของเครื่องอยู่ที่ไหนในเวลาใด อาศัยอยู่สถานที่เหล่านั้นนานเท่าไร ซึ่งเมื่อกูเกิลเก็บข้อมูลสถานที่ต่างๆ ที่ผู้ใช้เดินทางไปเกิน 3-4 วัน ระบบจะมีการตรวจเทียบและวิเคราะห์ว่าผู้ใช้ชอบไปสถานที่ไหนในช่วงเวลาใดและถ้าผู้ใช้มีการลงรายละเอียดของที่อยู่บ้านและออฟฟิสไว้ ระบบจะนำรายละเอียดเหล่านั้นมาเทียบกันและแสดงเป็นผลลัพธ์เริ่มต้นได้อย่างแม่นยำ
       
       รวมไปถึงการอ่านอีเมล์ของเราที่อยู่ในสมาร์ทโฟนทั้งหมดและสามารถแยกข้อความในอี เมล์สำคัญเช่น ตั๋วเครื่องบิน หรือเอกสารสำคัญบางอย่างออกมาเป็นข้อความแจ้งเตือนบน Google Now ได้
       
       อีกทั้งยังสามารถอ่านประวัติการเข้าชมเว็บไซต์โดย Google Now จะเรียนรู้พฤติกรรมของผู้ใช้ว่าชื่นชอบเว็บไซต์แบบใด เนื้อหาเกี่ยวข้องกับอะไร ยิ่งถ้าเราค้นหาเว็บไซต์เหล่านั้นหลายครั้งติดต่อกัน ในวันต่อไปเมื่อเราเปิดเข้าหน้า Google Now ระบบจะค้นหาเว็บไซต์ที่สนใจและนำเสนอให้ผู้ใช้ได้ทราบซึ่งถ้าครั้งต่อไปผู้ใช้เปลี่ยนความสนใจไปชื่นชอบเว็บไซต์แนวอื่นอีก กูเกิลก็จะเรียนรู้ใหม่เพิ่มเติมไปเรื่อยๆ
       
       นอกจากนั้นล่าสุด Google Now สามารถดึงข้อมูลขนส่งสาธารณะจาก ขสมก. (องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ) เพื่อบอกสายรถเมล์และจุดจอดรถเมล์ได้แล้ว เมื่อทำงานร่วมกับ GPS, Mobile Cellsite และ WiFi ระหว่างที่เราเดินเท้าหรืออยู่บริเวณใกล้กับป้ายรถเมล์ Google Now จะสามารถแสดงผลรายละเอียดของป้ายรถเมล์ที่อยู่ใกล้พร้อมรายละเอียดของสายรถ เมล์ที่ผ่านบริเวณนั้นได้
       
       หรือแม้แต่รอบฉายของโรงภาพยนตร์ Google Now จะใช้ความสามารถของ GPS และเสาสัญญาณโทรศัพท์มือถือในการตรวจจับ เมื่อผู้ใช้อยู่ใกล้กับโรงภายนตร์ระบบจะแสดงชื่อโรงภาพยนตร์ที่อยู่ใกล้ พร้อมรอบฉายภาพยนตร์ทั้งหมดขึ้นมา และถ้าอยากให้ Google Now ค้นหาและแสดงผลลัพธ์ของสิ่งที่เราต้องการนอกเหนือจากที่ระบบให้มาก็สามารถพูดบอกให้ระบบค้นหาสิ่งที่ต้องการผ่าน Google Voice Searchภาษาไทยที่ตอนนี้ถูกผูกติดเข้ากับ Google Now แล้วเพียงแต่การตอบกลับด้วยเสียงอาจเหมือนหุ่นยนต์ไม่ธรรมชาติเหมือนของค่ายคู่แข่ง และผลลัพธ์การค้นหามักแสดงผลเป็นรูปภาพและข้อความเสียมากกว่า
       
       ส่วนในอนาคตกูเกิลก็มีแผนจะอัปเดตความสามารถของ Google Now ให้สามารถแจ้งเตือนบิลค่าบัตรเครดิตและบิลอื่นๆ ได้ พร้อมให้ผู้ใช้สามารถกดจ่ายบัตรได้ทันที โดยในส่วนระบบรักษาความปลอดภัยที่ใช้ป้องกันการเข้าดูข้อมูลเลขบัญชีบัตร เครดิตที่ผูกติดกับ Google Account ยังไม่มีการรายงานจากทางกูเกิลว่าจะเป็นไปในรูปแบบใด
       
       สิ่งเหล่านี้ถ้าผู้ใช้เปิดใช้งานไว้ตามที่กูเกิลกำหนด ทุกการแจ้งเตือนที่เกิดขึ้นผ่าน Google Now จะหลั่งไหลเป็นกระแสน้ำอัปเดตเรื่องราวต่างๆ อย่างอัตโนมัติและเมื่อเวลายิ่งผ่านเนิ่นนานออกไป Google Now จะเติบโตไปตามผู้ใช้และการเรียนรู้พฤติกรรมรวมถึงระบบคาดเดาต่างๆ จะทำได้แม่นยำขึ้นเหมือนเรามีเพื่อนที่รู้ใจที่พัฒนาความสัมพันธ์ได้ตลอดเวลา
       
       จากวันแรกที่ Google Now จะไม่แสดงผลลัพธ์ใดๆ แต่เมื่อใช้งานไปสัก 2-3 วัน กูเกิลจะเริ่มเข้าใจผู้ใช้มากขึ้นและพยายามเอาใจผู้ใช้ด้วยการคาดเดาสิ่งที่ต้องทำในช่วงเวลานั้นด้วยข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับผู้ใช้ โดยในอนาคตกูเกิลเองก็มีแผนปรับปรุงเพิ่มความฉลาดให้ Google Now ต่อไปด้วยฐานข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ขึ้นอย่างไม่สิ้นสุดตราบใดที่โลกและชีวิตคนยังคงดำเนินอยู่และโลกไม่แตกสลายไปเสียก่อน
       
       และสำหรับประเทศไทยเองก็เป็นเรื่องน่ายินดีที่กูเกิลจะปรับปรุงพัฒนาฐานข้อมูลที่มีประโยชร์ ต่อคนไทยต่อไป แต่ประเด็นสำคัญที่กูเกิลควรใส่ใจและตอบคำถามคนไทยให้ได้ก็คือ เรื่องการรุกล้ำชีวิตส่วนตัวไม่ว่าจะเป็นอีเมล์ ข้อมูลการเดินทาง ตลอดจนการลงพื้นที่เพื่อเก็บภาพสามมิติทำแผนที่ประเทศไทย
       
       สิ่งเหล่านี้คนไทยหลายคนยังไม่เข้าใจและมองว่ากูเกิลทำเรื่องที่ไม่ควรทำในลักษณะ 'หวังดีแต่ประสงค์ร้าย' จนนำไปสู่ปัญหาภาพลักษณ์ของแบรนด์ที่เริ่มเกิดขึ้นแล้วในปัจจุบัน
       
       Company Related Link :
       Google

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)


Related Topics

  Subject / Started by Replies Last post
0 Replies
4919 Views
Last post January 15, 2010, 09:12:18 AM
by Nick
0 Replies
3665 Views
Last post April 24, 2010, 02:16:24 PM
by Nick
0 Replies
2806 Views
Last post July 05, 2012, 01:51:26 PM
by Nick
0 Replies
2623 Views
Last post July 13, 2012, 03:23:30 PM
by Nick
0 Replies
2253 Views
Last post November 23, 2012, 03:23:24 PM
by Nick
0 Replies
2174 Views
Last post May 14, 2013, 06:13:21 PM
by Nick
0 Replies
2311 Views
Last post June 18, 2013, 12:39:41 PM
by Nick
0 Replies
2258 Views
Last post July 31, 2013, 08:36:23 PM
by Nick
0 Replies
2194 Views
Last post November 21, 2013, 12:31:17 PM
by Nick
0 Replies
2572 Views
Last post January 28, 2014, 01:38:42 PM
by Nick