Author Topic: iNet จับมือ NetApp รุกคลาวด์เซอร์วิส หวังยอดโต 30%  (Read 838 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


จากซ้าย - วัลล์ชัย เวชชีวะดำรงค์ รองกรรมการผู้จัดการ -มรกต กุลธรรมโย ธิน และ วีระ อารีรัตนศักดิ์ ผู้จัดการ ประจำประเทศไทย บริษัท เน็ตแอพ (ประเทศไทย) จำกัด

      ไอเน็ตจับมือเน็ตแอพเปิดให้บริการคลาวด์เซอร์วิสหวังเจาะกลุ่มลูกค้าที่ต้องการมีดาต้าเซ็นเตอร์แต่ไม่อยากลงทุน เผยการเช่าใช้ช่วยลดต้นทุนได้มากกว่าสร้างเองถึง 60% คาดบริการใหม่นี้จะช่วยดันยอดรายได้เพิ่ม 30% จากรายได้รวมในปีก่อน 380 ล้านบาท เล็งเจาะภาคเอกชนมากขึ้นหลังภาครัฐชะลอตัวลง ด้านเน็ตแอพเผยเทรนด์การเช่าใช้ดาต้าเซ็นเตอร์กำลังจะมา พร้อมส่งเทคโนโลยี FlexPod มาเป็นแพลตฟอร์มหลักในการให้บริการ
       
       นางมรกต กุลธรรมโยธิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ไอเน็ต (INET) กล่าวว่า ไอเน็ตได้จับมือเป็นพันธมิตรกับ บริษัท เน็ตแอพ (ประเทศไทย) จำกัด ในการเปิดให้บริการคลาวด์รูปแบบใหม่ เพิ่มประสิทธิภาพในการตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยคลาวด์เซอร์วิสที่จะให้บริการนี้จะช่วยให้ลูกค้าที่อยากจะมีดาต้าเซ็นเตอร์เป็นของตนเองสามารถประหยัดอย่างน้อยในส่วนอินฟราสตรักเจอร์ได้ถึง 60% จากการเช่าใช้บริการแทนการลงทุนเอง และด้วยบริการนี้จะทำให้ยอดรายได้ของไอเน็ตโตขึ้น 30%
       
       ไอเน็ตมีรายได้ในปีที่ผ่านมาประมาณ 380 ล้านบาท แบ่งสัดส่วนรายได้เป็นในส่วนของ อินเทอร์เน็ต 25% ไอดีซี 25% คลาวด์เซอร์วิส 25% และบริการอื่นๆ 25% ซึ่งในปีนี้คาดว่าสัดส่วนของคลาวด์เซอร์วิสน่าจะเพิ่มเป็น 50% เนื่องจากเป็นบริการที่กำลังได้รับความสนใจ นอกจากนี้ยังคาดว่าจะสามารถสร้างกำไรให้เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากคลาวด์เซอร์วิสเป็นบริการใหม่ที่ให้ผลตอบแทนดีกว่าบริการอื่นๆ
       
       “ปัจจุบันกระแสการสร้างดาต้าเซ็นเตอร์กำลังมาแรง แต่หากธุรกิจจะมีการลงทุนใหม่ก็ต้องใช้งบประมาณขั้นต่ำ 30-40 ล้านบาท แต่หากใช้ของเราจะไม่ต้องลงทุนเองเพราะเป็นแบบเช่าใช้ โดยมีพื้นที่ดาต้าเซ็นเตอร์ให้บริการรวมประมาณ 3,000 ตารางเมตร จากการใช้เงินลงทุนไปกว่า 600 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบันมีลูกค้าใช้งานไปแล้ว 60-70% โดยลูกค้าใหม่ๆ ที่จะเข้ามาใช้นั้นไอเน็ตจะเน้นให้ลูกค้าเข้าสู่ดาต้าเซ็นเตอร์ยุคใหม่ที่จะใช้พื้นที่ในการเก็บข้อมูลน้อยกว่า และมีต้นทุนที่ถูกกว่า”
       
       นางมรกตกล่าวว่า ที่ผ่านมาการลงทุนด้านไอทีในปัจจุบันยังกังวลปัญหาเรื่องงบประมาณ แต่การเช่าใช้จะกลายเป็นทางออกให้แก่ธุรกิจต่างๆ ได้ โดยเฉพาะคลาวด์เซอร์วิสที่จะช่วยธุรกิจได้มาก โดยไอเน็ตจะเน้นการให้บริการในรูปแบบ Infrastructure As A Service ส่วนการให้บริการอื่นๆ จะใช้พาร์ตเนอร์เข้ามาร่วมด้วย อย่างเช่นการใช้ผลิตภัณฑ์และโซลูชันต่างๆ บนระบบคลาวด์เพื่อองค์กรของเน็ตแอพ เป็นต้น
       
       “ไอทีในปีที่ผ่านมาโดยเฉพาะในตลาดภาครัฐมีการชะลอตัวลงมาก ไอเน็ตจึงต้องหันมาสร้างบริการใหม่ๆ ที่สามารถเข้าถึงธุรกิจที่หลากหลายมากขึ้น โดยในปีนี้จะมุ่งเอกชนมากขึ้น หลังจากในปีที่ผ่านมาได้รับผลกระทบจากการลงทุนของภาครัฐ โดยการดำเนินธุรกิจในปีที่ผ่านมานั้นไอเน็ตเองมีการลงทุนอย่างระมัดระวังอยู่แล้ว และไม่ได้มีการลงทุนใหญ่ๆ”
       
       ด้านนายวีระ อารีรัตนศักดิ์ ผู้จัดการประจำประเทศไทยของบริษัท เน็ตแอพ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ความร่วมมือระหว่างเน็ตแอพกับไอเน็ตนั้น เน็ตแอพได้นำเทคโนโลยี FlexPod มาเป็นแพลตฟอร์มหลักในการให้บริการ Cloud Service ของไอเน็ต และได้รับการยอมรับจากลูกค้าชั้นนำของประเทศมากว่า 2 ปี และบริการคลาวด์เซอร์วิสดังกล่าวถือเป็นการสร้างมาตรฐานใหม่ในการพัฒนาระบบโครงสร้างพี้นฐานด้านไอทีที่มีประสิทธิภาพ ตอบโจทย์ของธุรกิจได้อย่างหลากหลาย
       
       “เดิมตลาดไอทีมักจะมองเรื่องคลาวด์เป็นอุปสรรค เพราะยังมองไม่เห็นความสำคัญ แต่สำหรับเน็ตแอพมองว่าในขณะนี้คลาวด์กำลังจะกลายเป็นตัวเลือกแรกๆ ที่ต่อไปภาคธุรกิจลงทุนซื้อของจะหันมาที่คลาวด์มากขึ้น เพราะปัจจุบันคลาวด์ในเมืองไทยก็มีความพร้อมอยู่แล้ว และจากการที่ไอเน็ตใช้ระบบการจัดการข้อมูลและสตอเรจของเน็ตแอพ จะช่วยให้สามารถให้บริการ Cloud Service ในกลุ่มธุรกิจ Enterprise ในประเทศไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ส่วนเน็ตแอพเองความร่วมมือในครั้งนี้ก็จะช่วยให้สามารถดึงลูกค้าให้เข้ามาใช้โซลูชันของเน็ตแอพได้มากขึ้นเช่นกัน”
       
       Company Related Link :
       INET

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)