Author Topic: “ทรู มันนี่” เดินหน้าเพิ่มส่วนแบ่งธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์  (Read 589 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


     “ทรู มันนี่” เร่งเครื่องให้บริการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เชื่อปริมาณผู้ใช้งานเติบโตขึ้นต่อเนื่อง ตั้งเป้าเติบโตปีนี้ 15% สร้างรายได้ราว 2,150 ล้านบาท พร้อมลุยสร้างเพย์เมนต์เกตเวย์ รับตลาดอี-คอมเมิร์ซ
       
       นายปุณณมาศ วิจิตรกุลวงศา กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทรู มันนี่ จำกัด กล่าวว่า เทรนด์หนึ่งที่กำลังเกิดขึ้นในทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วยคือสัดส่วนการใช้เงินสดในชีวิตประจำวันของผู้บริโภคจะลดลง และมีการใช้เงินอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น ทั้งจากบัตรเครดิต และบัตรเดบิต ที่จะเริ่มมีสัดส่วนมากขึ้น
       
       ในขณะเดียวกัน ความนิยมของการใช้งานกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-wallet) ก็จะได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคส่วนใหญ่ที่ไม่มีบัตรเครดิตก็สามารถใช้งานได้ผ่านเลขหมายโทรศัพท์มือถือที่มีใช้งานกันทุกคน ที่สำคัญคือค่าธรรมเนียมการใช้งานถูกกว่า และสะดวกมากกว่า
       
       “ในประเทศไทย กลุ่มคนที่มีบัตรเครดิตจะอยู่ที่ราว 9 ล้านคนเท่านั้น แม้ว่าจะมีบัตรเครดิตถึง 27 ล้านใบก็ตาม ซึ่งถ้าคำนวนจากประชากรของประเทศไทย โดยคัดผู้บริโภคที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี และ สูงกว่า 55 ปี ออก จะเหลืออยู่ราว 50 ล้านคนที่อยู่ในกลุ่มเป้าหมาย ดังนั้นจึงมีช่องว่างของผู้ใช้งานเกือบ 40 ล้านคนที่มีโอกาสจะหันมาใช้งาน e-wallet”
       
       ขณะเดียวกัน เทรนด์การใช้งาน e-wallet ในต่างประเทศยังพบว่า กลุ่มผู้ใช้งานที่มีบัตรเครดิตส่วนหนึ่งก็นิยมหันมาใช้ e-wallet เนื่องมาจากมีความสะดวกในการใส่เงินเข้าระบบผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งถ้าเติมเงินสูงกว่า 2,000 บาท ทางทรู มันนี่จะเป็นผู้ออกค่าเติมเงินให้ และยังปลอดภัยมากกว่า เพราะไม่ต้องชำระเงินผ่านบัตรเครดิตในโลกออนไลน์
       
       “เชื่อว่าในท้ายที่สุดระบบจ่ายเงินอิเล็กทรอนิกส์จะเติบโตสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะถ้าสามารถนำไปใช้ร่วมกับการชำระค่าสินค้าออนไลน์ในระบบอี-คอมเมิร์ซได้ด้วย ก็จะยิ่งทำให้มูลค่าตลาดตรงนี้เพิ่มสูงขึ้นไปอีก จากปัจจุบันที่ค่าเฉลี่ยการใช้เงินต่อธุรกรรมจะอยู่ที่ 170 บาท อาจะเพิ่มสูงขึ้นเป็นมากกว่า 1,000 บาท”
       
       นายปุณณมาศกล่าวต่อว่า สำหรับผลประกอบการของทรู มันนี่ ในปีที่ผ่านมามีรายได้รวมอยู่ที่ 1,870 ล้านบาท เติบโตจากปีที่ผ่านมา 16% และตั้งเป้าว่าในปีนี้จะสามารถรักษาอัตราการเติบโตที่ใกล้เคียงกันอยู่ที่ 15% ซึ่งคาดว่ารายได้ในปีนี้จะอยู่ที่ 2,150 ล้านบาท โดยรายได้ที่เพิ่มขึ้นจะมาจากการขยายตัวของการขายบัตรเติมเงิน และปริมาณการใช้งาน e-wallet ที่เพิ่มขึ้น
       
       โดยสัดส่วนรายได้ของทรู มันนี่ จะมาจากการเติมเงิน (Top Up) ราว 55% ถัดมาคือระบบจ่ายเงินค่าบริการ (Bill Payment) 28% การใช้งาน e-wallet 14% และสุดท้ายคือการเป็นตัวกลางชำระเงินค่าสินค้า (Payment Gateway) 3% ขณะเดียวกัน ในช่วงกลางปีก็จะมีบริการใหม่ออกมา ซึ่งจะเปลี่ยนวิธีในการซื้อสินค้าที่จะช่วยสร้างรายได้ก้อนใหญ่ให้แก่ทรู มันนี่อีกด้วย
       
       ทั้งนี้ ถ้าแยกย่อยมาดูถึงสัดส่วนในแต่ละตลาดเติมเงิน จะแบ่งเป็นการเติมเงินโทรศัพท์มือถือ ที่มีอัตราการเข้าถึงการใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนเติบโตขึ้น 131% (ข้อมูล ณ ไตรมาส 2 ปี 2013) ทำให้สัดส่วนในตลาดเติมเงินมือถือเติบโตตาม ซึ่งมีมูลค่ารวมราว 1.8 แสนล้านบาท
       
       ในขณะที่ตลาดเติมเงินเกมออนไลน์ ในปี 2013 ที่ผ่านมามีมูลค่าราว 3,780 ล้านบาท และคาดว่าในปีนี้จะเติบโตขึ้นราว 5% กลายเป็น 3,970 ล้านบาท โดยส่วนแบ่งตลาดของทรู มันนี่ในปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 65% และตั้งเป้าว่าในปีนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 75%
       
       ส่วนตลาดบริการวอยซ์โอเวอร์ไอพี (VoIP) มีมูลค่าราว 1,100 ล้านบาท คาดว่าในปีนี้จะเติบโตราว 5% เป็น 1,155 บาท ซึ่งในกลุ่มนี้ทรู มันนี่มีส่วนแบ่งทั้งตลาดราว 10% แต่ถ้านับเฉพาะส่วนแบ่งตลาดในกลุ่มบัตรเติมเงินจะสูงถึง 60% นอกจากนี้ก็จะมีบริการเติมเงินเข้าโซเชียลเน็ตเวิร์กแพลตฟอร์มอย่าง ไลน์ (Line) และเฟซบุ๊ก (Facebook) ด้วย
       
       “รายได้ในส่วนของบริการเติมเงินจะมาจากการเติมเงินมือถือราว 70-75% ซึ่งคาดว่าจะเติบโตใกล้เคียงกับตลาดที่ 7-8% ส่วนตลาดเกมคิดเป็นสัดส่วนราว 15% คาดว่าในปีนี้จะโตราว 20% สูงกว่าตลาดรวม ส่วนที่เหลือก็จะอยู่ในส่วนของ VoIP และโซเชียลเน็ตเวิร์ก”
       
       ขณะที่ในกลุ่มของบริการจ่ายค่าบริการผ่านทรู มันนี่ ในปีที่ผ่านมามีมูลค่าเงินหมุนเวียนในระบบราว 2.33 หมื่นล้านบาท คิดเป็นจำนวนบิลที่ชำระราว 23.5 ล้านบิล หรือราว 2.7 ล้านบิลต่อเดือน
       
       ส่วนในกลุ่มของ e-wallet หลังจากเปิดให้บริการมา 6 เดือน ปัจจุบันมีผู้ดาวน์โหลดแอปฯ มาใช้งานแล้วราว 2.3 แสนดาวน์โหลด มีผู้ใช้บริการเป็นประจำ (Active User) ราว 6 หมื่นราย แต่ถ้านับรวมกับการใช้งานผ่านเว็บไซต์ด้วยจะเป็น 1 แสนราย จากจำนวนผู้สมัครใช้บริการทั้งหมด 6 ล้านราย โดยตั้งเป้าในส่วนของ e-wallet ในปีนี้ว่า จะมีผู้ดาวน์โหลดแอปฯไปใช้งานเพิ่มเป็น 1 ล้านดาวน์โหลด และเพิ่มผู้ใช้บริการประจำให้เป็น 4 แสนราย
       
       นอกจากนี้ ทรู มันนี่ ยังได้เตรียมงบลงทุนอีกราว 50 ล้านบาท เพื่อพัฒนาระบบเพย์เมนต์เกตเวย์ ที่จะขยายจำนวนผู้ใช้งานให้กว้างขึ้น รับกับความนิยมการใช้งานอี-คอมเมิร์ซที่เพิ่มสูงขึ้น และคาดว่าจะกลายเป็นอีกหนึ่งในรายได้หลักของทรู มันนี่ในอนาคต
       
       Company Relate Link :
       True Money


ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)