Author Topic: กทช.บีบทีโอทีคืนคลื่นก่อนคลอดเกณฑ์ไวแม็กซ์  (Read 899 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai

กทช.เตรียมหารือทีโอทีโอนคลื่นไวแม็กซ์ส่วนเกิน 30 เมกะเฮิรตซ์จัดสรรใหม่ พร้อมให้ค่าชดเชยตามความเป็นจริง เร่งเปิดประชาพิจารณ์ ก.ค.


กทช.เตรียมหารือทีโอทีโอนคลื่นไวแม็กซ์ส่วนเกิน 30 เมกะเฮิรตซ์จัดสรรใหม่ พร้อมให้ค่าชดเชยตามความเป็นจริง ระบุทีโอทีมีเวลาหลังประกาศในราชกิจจานุเบกษา 1 ปี หากไม่ดำเนินการใดๆ กทช.จะยึดคลื่นส่วนเกินคืนทันที เร่งเปิดประชาพิจารณ์เดือน ก.ค. หลังจัดโฟกัสกรุ๊ปแล้วเสร็จ เล็งเลือกใช้คลื่นความถี่ย่าน 2.3 เมกะเฮิรตซ์ให้บริการ

พ.อ.นที ศุกลรัตน์ กรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) กล่าวว่า กทช.จัดรับฟังความคิดเห็นเฉพาะกลุ่มเรื่องแนวทางการอนุญาตประกอบกิจการสื่อสารความเร็วสูงด้วยเทคโนโลยีไร้สาย หรือบีดับบลิวเอ (ไวแม็กซ์) ซึ่งเป็นการให้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูง เป็นไปได้สูงที่ กทช. จะเลือกใช้คลื่นความถี่ย่าน 2.3 กิกะเฮิรตซ์ตามแนวทางของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ไอทียู)

ทั้งนี้ คลื่นดังกล่าว กทช.กำหนดให้ผู้ประกอบการต้องมีแบนด์วิธไว้ในครอบครองไม่เกิน 30 เมกะเฮิรตซ์ ใครที่มีอยู่แล้วเพียงแต่เปลี่ยนมาใช้ให้บริการบีดับบลิวเอ แต่ถ้ามีเกิน 30 เมกะเฮิรตซ์ ต้องโอนให้ผู้ประกอบการรายอื่นพร้อมรับเงินค่าคลื่นตามเหมาะสม หรือคืนคลื่นให้ กทช. เพื่อจัดสรรใหม่ ซึ่งปัจจุบัน บมจ.ทีโอที มีอยู่กว่า 60 เมกะเฮิรตซ์

“ทีโอทีไม่ต้องเป็นห่วงว่าจะมีให้บริการประชาชนอยู่ เพราะบริการเดิมสามารถรับจัดสรรคลื่นใหม่ไปให้บริการได้ หรือผู้ประกอบการรายใหม่ที่รับคลื่น 2.3 ไป กทช. จะกำหนดให้ต้องให้บริการเดิมในพื้นที่เดิมด้วย ถือเป็นเรื่องการให้บริการทั่วถึง หรือยูเอสโอ แต่ กทช. ไม่อยากยึดคลื่นคืนเพราะจะทำให้มีเรื่องฟ้องร้องกันยาว”

เขาระบุด้วยว่า หากทีโอทีไม่ดำเนินการโอน หรือคืนคลื่นช่วงนี้ หากมีประกาศใช้หลักเกณฑ์การให้บริการไวแม็กซ์แล้ว กทช.สามารถใช้อำนาจในการกำกับดูแล เรียกคลื่นส่วนที่เกินกว่า 30 เมกะเฮิรตซ์กลับมา และทีโอทีก็จะไม่ได้รับเงินชดเชย

"ทีโอที อย่าเอาปัญหาของตัวเอง มาเป็นปัญหาของประเทศ" พ.อ.นที กล่าว

ส่วนคลื่น 2.5 กิกะเฮิรตซ์ ได้เสนอให้เก็บไว้สำหรับเทคโนโลยีแอลทีอี ซึ่งเป็นเทคโนโลยีต่อยอดจาก 3จี แต่ กทช. พิจารณาแล้วว่าระหว่างรอเทคโนโลยีสามารถนำคลื่นมาใช้ประโยชน์ได้ก่อน เมื่อถึงเวลาค่อยจัดสรรใหม่ได้ โดยหลังจากนี้จะนำข้อเสนอทั้งหมดเข้าพิจารณาในที่ประชุม จากนั้นจะเปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะประมาณเดือนก.ค.

พร้อมทั้งจะเชิญชวนและเปิดรับคำขอรับการอนุญาตภายในเดือน ส.ค. คาดว่าจะได้ผู้ได้รับใบอนุญาตภายในเดือนก.ย. นี้ ซึ่งหลังจากปีแรกของการให้บริการคาดอินเทอร์เน็ตครอบคลุม 25%

ด้านตัวแทนทีโอที เปิดเผยว่า ทีโอทีใช้คลื่นความถี่ 2.3 กิกะเฮิรตซ์ให้บริการโทรศัพท์สาธารณะประชาชนในพื้นที่ห่างไกลประมาณ 6.5 หมื่นแห่ง มีรายได้ประมาณ 230 บาทต่อเดือนต่อเลขหมาย ถ้าคืนคลื่น ประชาชนจะทำอย่างไร และการจะเปลี่ยนคลื่นความถี่อื่นมาแทน ก็ต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ด้วย คาดว่าต้องใช้งบประมาณ 2,000 ล้านบาท กทช. จะยอมจ่ายชดเชยให้ทีโอทีหรือไม่

ขณะที่ นายพิรุณ ไพรีพ่ายฤทธิ์ ผู้อำนวยการสายงานบริการมัลติมีเดียและการตลาด บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า คลื่น 2.3 กิกะเฮิรตซ์มีความพร้อมใช้งาน จะสามารถนำมาทดแทนการให้บริการอินเทอร์เน็ตตามสายได้เป็นอย่างดี ส่วนคลื่น 2.5 กิกะเฮิรตซ์อาจจะสงวนไว้ใช้สำหรับเทคโนโลยีแอลทีอีจะดีกว่า

ที่มา: bangkokbiznews.com


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)