Author Topic: กสทช. ออกเบอร์ *106# กัน “บิลช็อก โรมมิ่ง” ก่อนไปต่างประเทศ  (Read 695 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


แฟ้มภาพ : นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

กสทช.แนะกดเบอร์ *106# ปิดเน็ตเบอร์เดียวฟรีทุกเครือข่ายก่อนไปเที่ยวต่างประเทศ โดยเฉพาะกัมพูชา ลาว พม่า พร้อมเตรียมออกเบอร์ปิด SPAM SMS ฟรีเบอร์เดียวทุกเครือข่ายต้นปี 2557 กำชับผู้ประกอบการทุกค่ายเพิ่มสัญญาณมือถือช่วงปีใหม่หวั่นระบบล่ม
       
       นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า ปัญหาอัตราค่าบริการแพงเกินจริงหรือที่เรียกว่าบิลช็อก ซึ่งเกิดจากการเปิดบริการดาต้าโรมมิ่งระหว่างประเทศ (International Data Roaming) จากการนำโทรศัพท์ประเภทสมาร์ทโฟนไปใช้งานในต่างประเทศ โดยที่ผู้บริโภคไม่ทราบรายละเอียดการใช้งานที่แท้จริงนั้น ทำให้ในปี 2556 มีเรื่องร้องเรียนเข้ามายังสำนักงาน กสทช.ราว 1,000 ราย โดยเฉพาะบริเวณชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ประเทศพม่า ลาว และกัมพูชา เป็นต้น รวมถึงประเทศในฝั่งยุโรป และอเมริกาด้วย
       
       โดยล่าสุดสำนักงาน กสทช.กำหนดเบอร์ *106# แล้วกดโทร.ออก เพื่อใช้สำหรับการปิดบริการดาต้าโรมมิ่งเมื่อต้องเดินทางไปยังต่างประเทศทุกเครือข่าย โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ซึ่งเริ่มให้บริการตั้งแต่ 16 ธ.ค. 2556 โดยได้รับความร่วมมือจากผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทุกเครือข่ายเป็นอย่างดี
       
       “เชื่อว่าการกำหนดเบอร์เดียวทุกเครือข่ายเพื่อใช้ในการปิดดาต้าโรมมิ่งจะช่วยให้ปัญหาร้องเรียนลดลง 60-70% อย่างแน่นอน”
       
       ทั้งนี้ถือเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ต้องการระงับการใช้บริการดาต้าโรมมิ่งระหว่างประเทศได้อย่างรวดเร็ว และมั่นใจได้ว่ามีการปิดบริการทุกครั้งเมื่อจะเดินทางไปต่างประเทศ ซึ่งเมื่อผู้ใช้บริการกลับมายังประเทศไทยก็สามารถขอเปิดใช้บริการดาต้า (Data Service) เพื่อให้สามารถกลับมาใช้บริการดาต้าภายในประเทศได้ตามปกติ
       
       “เมื่อผู้ใช้บริการกด *106# แล้วกดโทร.ออกแล้ว ระบบจะส่งข้อความกลับมายืนยันการปิดบริการดาต้าโรมมิ่งแล้ว พร้อมทั้งวิธีการเปิดใช้งานเมื่อกลับมาประเทศไทย ซึ่งแต่ละเครือข่ายจะใช้เบอร์การเปิดใช้บริการไม่เหมือนกัน”
       
       สำหรับเบอร์ติดต่อเพื่อใช้ในการเปิดใช้งานบริการดาต้าตามปกติเมื่อกลับมายังประเทศไทย โดยเครือข่ายเอไอเอสกด *129*2 # โทร.ออก เครือข่ายดีแทคกด *123*4# โทร.ออก และเครือข่ายทรูมูฟ เอช กด*113*1# กดโทร.ออก
       
       นายฐากรกล่าวว่า สำนักงาน กสทช.กำลังอยู่ระหว่างดำเนินการกำหนดเบอร์โทร.ฟรีที่ใช้สำหรับปิด SPAM SMS ที่ถือเป็นอีกหนึ่งปัญหาใหญ่ที่ผู้บริโภคร้องเรียนเข้ามา โดยคาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ภายในต้นปี 2557 ซึ่งตอนนี้อยู่ในขั้นตอนหารือกับผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทุกรายอยู่ในเรื่องของระบบแต่ละบริษัทที่ไม่เหมือนกัน พร้อมทั้ง กสทช.ยังกำชับให้ดูแลเรื่องระบบสัญญาณโทรศัพท์ในช่วงปีใหม่ตั้งแต่วันที่ 31 ธ.ค. 2556-1 ม.ค. 2557 ด้วย เนื่องจากในช่วงเวลาดังกล่าวจะมีผู้ใช้บริการมากกว่าช่วงเวลาปกติทั้งดาต้า และเสียง ซึ่งอาจเกิดปัญหาระบบล่มได้นั่นเอง
       
       ที่ผ่านมาสำนักงาน กสทช.ได้รับเรื่องร้องเรียนปัญหาการถูกเรียกเก็บค่าบริการระหว่างประเทศในอัตราที่สูงมาก บางรายสูงถึงหลักล้านบาท ซึ่งโดยส่วนใหญ่เกิดจากบริการดาต้าโรมมิ่งระหว่างประเทศ โดยปัญหาที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เกิดจากผู้ใช้บริการไม่ทราบถึงระบบการทำงานของเครื่องโทรศัพท์สมาร์ทโฟนที่ตนเองใช้งานอยู่ว่ามีการใช้อินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่อยู่ โดยเฉพาะจากการใช้งาน Social Network ที่ต้องมีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตตลอดเวลา และส่วนใหญ่จะเป็นการเชื่อมต่อการใช้งานข้อมูลอัตโนมัติ ซึ่งทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่สูงมาก
       
       “ส่วนใหญ่ผู้บริโภคไม่ทราบถึงวิธีการตั้งค่าโทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่อปิดการใช้งานดาต้า หรือไม่ทราบว่าสามารถโทร.ไปยัง Call Center เพื่อขอปิดการใช้งานดาต้าชั่วคราวได้อย่างไร รวมถึงไม่ทราบวิธีการเลือกดาต้า โรมมิ่ง แพกเกจ (Data Roaming Package) ที่เหมาะสมกับการใช้งานของตน และไม่ทราบถึงเงื่อนไขแพกเกจที่สามารถจำกัดวงเงินสูงสุดได้ รวมถึงการแจ้งเตือนเมื่อเชื่อมต่อเครือข่ายที่ไม่ถูกต้อง”
       
       Company Related Link :
       กสทช.

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)