Author Topic: NSN ชี้ ปีหน้าลูกค้าเป็นใหญ่ โอกาสย้ายค่ายสูง  (Read 613 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


โนเกีย โซลูชั่นส์ แอนด์ เน็ตเวิร์คส (NSN) เผยผลประกอบการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วโลกจากการเติบโตของ 3G และ LTE ชี้ปีหน้าหากไทยมี LTE วงการโทรคมนาคมจะมีสีสันเพิ่มขึ้น เชื่อเทรนด์ปีหน้าโอเปอเรเตอร์จะแชร์ใช้อุปกรณ์ต่างๆ ร่วมกันมากขึ้น และลูกค้าจะมีโอกาสย้ายค่ายเพราะไม่พอใจบริการ โดยเฉพาะการให้บริการอินเทอร์เน็ตที่ต้องมีคุณภาพเพียงพอ
       
       นายฮาราลด์ ไพรซ์ หัวหน้ากลุ่มธุรกิจเอเชียเหนือ โนเกีย โซลูชั่นส์ แอนด์ เน็ตเวิร์คส กล่าวว่า ภาพรวมธุรกิจของเอ็นเอสเอ็นทั่วโลกมีการเติบโตที่ดีขึ้น โดยในไตรมาส 3 ที่ผ่านมาได้เข้าไปทำโปรเจกต์ใหญ่ๆ อย่างการให้บริการ LTE ในบราซิล จีน และสหรัฐฯ รวมไปถึงการเข้าไปติดตั้ง LTE Advance ให้กับ NTT Docomo ในประเทศญี่ปุ่น ส่วนการทำตลาดในเมืองไทยในช่วงครึ่งปีหลังที่ผ่านมานั้นถือว่ามีอัตราการเติบโตที่ดีเช่นกัน เนื่องจากมีการวางโครงข่าย 3G อย่างเต็มรูปแบบ ทำให้มีการลงทุนทางด้านนี้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
       
       “ประเทศไทยในปีนี้ถือว่ามีการลงทุนด้านโทรคมนาคมสูงที่สุดในเอเชียเหนือ ที่ประกอบไปด้วย ไทย เวียดนาม ศรีลังกา ลาว และบังกลาเทศ ซึ่งในปีหน้าคาดว่าหากมีการออกใบอนุญาติเครือข่าย 4G หรือ LTE ยิ่งจะก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวทางธุรกิจโทรคมนาคมของไทยมากยิ่งขึ้นไปอีก และจะส่งผลดีต่อธุรกิจของเอ็นเอสเอ็นด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ เมื่อไทยมีโครงสร้างที่ดี เครือข่ายที่ดี ก็จะทำให้การขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปได้ด้วยดีเช่นกัน เพราะ LTE สำคัญมากในการขับเคลื่อนการเจริญเติบโต”
       
       ทั้งนี้ เทรนด์ของเทคโนโลยีโทรคมนาคมในปีหน้าจะมีสิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้นหลายอย่าง เช่น การที่โอเปอเรเตอร์ต่างๆ จะมีการใช้เทคโนโลยีร่วมกัน มีการใช้เน็ตเวิร์กแชริ่ง ใช้เบสสเตชันร่วมกัน คลาวด์และเวอร์ชวลไลเซชันจะได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในอุตสาหกรรมนี้ รวมไปถึงจะมีการแข่งกันเรื่องดาต้าอนาไลติกทำให้ลูกค้ามีความสุขกับการใช้งานเน็ตเวิร์กของตัวเองมากกว่าคนอื่น ซึ่งจะก่อให้เกิดการแข่งขันและทำให้โอเปอเรเตอร์ต้องหาทางที่จะปรับตัวรับกับเรื่องดังกล่าว
       
       ดังนั้น นอกเหนือไปจากการเติบโตและขยายตัวของวงการนี้แล้ว การให้บริการที่มีคุณภาพ และการใช้งานอินเทอร์เน็ตจะกลายเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้โอเปอเรเตอร์แต่ละรายต้องตระหนักมากขึ้น เพราะจะกลายเป็นเรื่องสำคัญต่อการตัดสินใจของลูกค้าว่าจะอยู่หรือย้ายค่าย ดังนั้นผู้ให้บริการต้องสร้างคุณภาพให้ลูกค้าพึงพอใจให้ได้มากที่สุด ซึ่งการสร้างประสบการณ์การใช้งานของลูกค้าเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึง โดยผลการศึกษาในต่างประเทศพบว่า 30-40% ของลูกค้าในปัจจุบันมีโอกาสที่จะย้ายค่ายไปอยู่ค่ายอื่น หากไม่ได้รับการบริการที่ดี
       
       นายฮาราลด์กล่าวต่อว่า จากแนวโน้มดังกล่าวทำให้เอ็นเอสเอ็นมองเห็นว่าโอเปอเรเตอร์ต้องการทำการปรับตัว และนำโซลูชันใหม่ๆ เข้ามาใช้งาน จึงได้นำเสนอชุดบริการที่มีกระบวนการทำงานตั้งแต่ต้นจนจบแบบครบวงจร เพื่อช่วยผู้ให้บริการสามารถใช้ประโยชน์จากการบริหารประสบการณ์การใช้งานของลูกค้าขั้นสูง (Advanced Customer Experience Management, Advanced CEM) เริ่มตั้งแต่การเตรียมความพร้อม การนำไปใช้งานร่วมกัน ตลอดจนการนำโซลูชันต่างๆ เพื่อใช้ในการประมวลผลสำหรับผู้ให้บริการโทรคมนาคมโดยเฉพาะ ซึ่งสามารถให้ผู้ให้บริการเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกอย่างรวดเร็ว
       
       “ภาพรวมโซลูชันจะมีการเก็บข้อมูลลูกค้าทั้งหมด ด้านการใช้งาน ใช้งานพื้นที่ไหน และระบบจะดูแลลูกค้า ช่วยให้โอเปอเรเตอร์รู้ข้อมูลและแก้ไขปัญหาให้แก่ลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว อย่างเช่นระบบจะรู้ว่าพื้นที่ไหนจะเกิดปัญหาเพื่อให้โอเปอเรเตอร์สามารถแก้ไขก่อนที่จะเกิดปัญหา รวมไปถึงยังสามารถดูแลกลุ่มลูกค้าที่มีการใช้งานสูงที่จะต้องใส่ใจมากกว่าปกติ ระบบก็จะสามารถแยกแยะเพื่อแบ่งไปบริหารจัดการได้”
       
       กลยุทธ์สำคัญของ CEM คือจะทำให้ผู้ให้บริการเข้าใจและเตรียมพร้อมที่จะใช้แอปพลิเคชันแบบเฉพาะเจาะจงของ CEM เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ให้บริการ ช่วยในการตัดสินใจ ประเมินการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นให้กับกระบวนการต่างๆ ที่ใช้อยู่ และสร้างรูปแบบคุณภาพประสบการณ์ที่ต้องการให้แก่ลูกค้าของผู้ให้บริการ สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลเชิงลึกของลูกค้า และปรับเปลี่ยนเป็นการให้บริการที่เน้นประสบการณ์ในการใช้งานที่ดี
       
       Company Relate Link :
       NSN

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)