Author Topic: ฟิวเจอร์ เสิร์ช กูเกิลโชว์วิชั่นเอเชีย  (Read 891 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


สมาร์ทโฟน และโซเชียล เน็ตเวิร์คกิ้ง ดันเสิร์ชเอ็นจินปรับตัว ล่าสุด "กูเกิล" ซุ่มพัฒนา "ฟิวเจอร์ เสิร์ช" ระบบค้นหาแบบใหม่

สมาร์ทโฟน และโซเชียล เน็ตเวิร์คกิ้ง ต่างเป็นปัจจัยดันเสิร์ชเอ็นจินปรับตัว ล่าสุด "กูเกิล" ลุยเอเชียโชว์วิชั่น "ฟิวเจอร์ เสิร์ช" ซุ่มพัฒนาระบบค้นหาแบบใหม่ต่อเนื่อง หนุนตลาดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พกพา - เทคโนโลยีใหม่ขยายตัวสูง

พร้อมกันนี้ ยังระบุตลาดไทยยังมีศักยภาพสูงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมินการเมืองไม่นิ่ง มุ่งเดินหน้าทำตลาดต่อ เร่งหนุนนักพัฒนาไทยครีเอทแอพฯ หวังเป็นหนึ่งในกลไกสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ บนเสิร์ชแห่งอนาคต

นายอลัน อุสทาสซ์ รองประธานอาวุโส ฝ่ายเอ็นจิเนีย และวิจัย บริษัทกูเกิล อิงค์ กล่าวว่า กูเกิลกำลังให้ความสำคัญเพิ่มมากขึ้นในตลาดเอเชีย-แปซิฟิก เพราะถือเป็นตลาดใหญ่ และมีอัตราการขยายตัวของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากกว่า 20% ทั้งยังเป็นตลาดที่มีจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตกว่าครึ่งหนึ่งของทั่วโลก เช่นเดียวกับจำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟนก็เติบโตอย่างรวดเร็ว และความนิยมของโซเชียล เน็ตเวิร์คกิ้งที่มีแนวโน้มจะใช้งานบนสมาร์ทโฟนมากขึ้น บริษัทจึงเดินหน้าพัฒนาระบบเสิร์ชยุคใหม่ เพื่อรองรับการขยายตัวดังกล่าว

"พฤติกรรมการใช้โซเชียล เน็ตเวิร์คกิ้งบนสมาร์ทโฟน กำลังเป็นตลาดที่น่าสนใจ และมีแนวโน้มจะขยายตัวเพิ่ม กูเกิลจึงเดินหน้าพัฒนาให้เสิร์ชเอ็นจินใช้งานได้บนทุกอุปกรณ์พกพา และสามารถเข้าถึงด้วยวิธีการใหม่ๆ เช่น ใช้เสียงพูดของคน หรือทำให้เสิร์ชเอ็นจินฉลาดขึ้นด้วยการแปลภาพถ่ายจากกล้องบนมือถือให้เป็นข้อมูลเชิงลึกด้วยภาษาท้องถิ่นได้อย่างเรียลไทม์"

ปัจจุบัน แอนดรอยด์โฟน ของกูเกิลก็สามารถเสิร์ชด้วยเสียง และภาพได้แล้ว แต่ยังอยู่ระยะเริ่มต้น โดยกูเกิลตั้งเป้าว่าระบบเสิร์ชรูปแบบดังกล่าวจะกลายเป็นมาตรฐานที่สามารถใช้งานได้ในทุกแพลตฟอร์มบนสมาร์ทโฟน และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ขณะที่ "เสิร์ชเอ็นจิน" ก็ถือเป็นความต้องการแรกๆ ที่ผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนต้องการใช้

มือถือตลาดสำคัญของเสิร์ช
ทั้งนี้ กูเกิลยังประเมินว่า โทรศัพท์มือถือจะเป็นตลาดสำคัญของเสิร์ชเอ็นจินในอนาคต เพราะผู้ใช้งานทั่วโลกเติบโตมากกว่าคอมพิวเตอร์ 3 เท่า ขณะที่ธนาคารโลกก็เคยประเมินว่า มากกว่า 2 ใน 3 ของประชากรโลกจะต้องมีชีวิตอยู่ภายใต้เครือข่ายของโทรศัพท์มือถือ

"เราลงทุนอย่างหนักเพื่อพัฒนารูปแบบการใช้เสิร์ชเอ็นจินบนสมาร์ทโฟนให้ง่าย และเรียลไทม์ ตอบสนองผู้ใช้งานได้ตลอดเวลา นอกเหนือไปจากการใช้เสิร์ชเอ็นจิน บนคอมพิวเตอร์"

เขา ระบุว่า กูเกิลยังมีแผนที่จะพัฒนาระบบเสิร์ชที่ตอบสนองความต้องการของแต่ละบุคคลด้วย โดยเสิร์ชเอ็นจินจะเข้าใจว่าผู้ที่ค้นหาข้อมูลนั้นต้องการอะไร โดยคาดว่าภายใน 5 ปี จะสามารถพัฒนา และให้คนทั่วโลกใช้งานได้

ก่อนหน้านี้ กูเกิล ได้เริ่มหันมาปรับปรุงหน้าผลการค้นหาของบริการหลัก Google.com โดยมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ คือ การเพิ่มเมนูแบ่งประเภทผลการค้นหาเข้ามาในด้านซ้ายมือของหน้า เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงคอนเทนท์ต่างประเภทที่เกี่ยวข้องกับคีย์เวิร์ดได้อย่างรวดเร็ว

ขณะเดียวกัน ยังปล่อยแอพพลิเคชั่นสมาร์ทโฟน กูเกิล ก็อกเกิลส์ (Google Goggles) เวอร์ชั่นใหม่ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถแปลข้อความด้วยการถ่ายภาพได้

ทั้งนี้ ในหน้าผลการค้นหาในกูเกิลดอทคอมแบบใหม่จะต่างจากแนวทางแสดงผลแบบเรียบง่ายดั้งเดิมเล็กน้อย โดยด้านซ้ายมือของหน้าจะมีแถบเครื่องมือใหม่ที่นอกเหนือจากการแบ่งประเภทเป็นภาพ วีดิโอ หรือข่าว แบบเดิมๆ เช่น ฟีเจอร์ ไทม์ไลน์ ที่จะทำให้ผู้ใช้เลือกอ่านข้อมูลที่เสิร์ชมาได้ตามลำดับเวลา รวมถึงฟีเจอร์อื่นๆ ที่เป็นผลการพัฒนาจากกูเกิล แล็ปส์ ตลอดช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของวิชั่น "ฟิวเจอร์ เสิร์ช"   

ตลาดไทยศักยภาพเปี่ยม
นายอดัม สมิธ ผู้อำนวยการด้านบริหารจัดการผลิตภัณฑ์ ของกูเกิล ได้กล่าวถึง แนวโน้มเสิร์ชเอ็นจินในประเทศไทยว่า แม้จะมีปัญหาทางการเมือง แต่กูเกิลก็ยังมีแผนที่จะลงทุนพัฒนาเสิร์ชเอ็นจิน เพื่อตอบสนองการใช้งานของคนไทยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

"ปัญหาการเมือง ไม่ได้มีผลให้เราหยุดดำเนินธุรกิจในไทย เพราะเป็นตลาดที่กูเกิลให้ความสำคัญมาก ด้วยอัตราการใช้เสิร์ชเอ็นจินที่เติบโตเร็ว การใช้อินเทอร์เน็ตขยายตัว รวมไปถึงการเติบโตอย่างน่าสนใจของจำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟน ซึ่งทำให้หลายๆ บริการของกูเกิลได้รับความนิยมสูงมากในไทย"

ขณะที่ ปีนี้ กูเกิล จะให้ความสำคัญมากขึ้นในการทำงานร่วมกับนักพัฒนาแอพพลิเคชั่นคนไทย โดยจะสนับสนุนทูลส์ต่างๆ ในการพัฒนา เพราะมองว่า ผู้พัฒนาจะสามารถเข้าใจความต้องการของคนท้องถิ่นตัวเองได้เป็นอย่างดี

ด้านนางสาวพรทิพย์ กองชุน หัวหน้าฝ่ายการตลาดประเทศไทย กูเกิล กล่าวว่า ช่วงเหตุปะทะทางการเมืองในไทย ส่งผลให้ผู้ที่ลงโฆษณากูเกิล แอดเวิร์สในไทยที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจท่องเที่ยวได้รับผลกระทบ ต้องชะลอการโฆษณาออกไประยะหนึ่งแต่ตอนนี้สถานการณ์เริ่มสู่ปกติ ลูกค้าได้กลับมาโฆษณาเหมือนเดิมแล้ว

ที่มา: bangkokbiznews.com


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)