Author Topic: 'ดีแทค’ เสริมทัพสายงานโครงข่าย ยันพร้อมลุย 4.5G LTE Advance  (Read 1002 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


นายปัญญา เวชบรรยงรัตน์ (ซ้าย)

‘ดีแทค' ปั้นลูกหม้อขึ้นคุมสายงานโครงข่าย มั่นใจแนวคิดไตรเน็ตข่วยสร้างความแตกต่าง และประสิทธิภาพในการใช้งานดีที่สุด ลุยหาพาร์ทเนอร์เพิ่มวางเคเบิลใยแก้วโครงข่ายสำรองภาคใต้เป็นเส้นที่ 4 กันเครือยข่ายล่มซ้ำรอย พร้อมเผยผลประกอบการไตรมาส 3 เติบโตต่อเนื่อง
       
       นายปัญญา เวชบรรยงรัตน์ ผู้อำนวยการอาวุโสสายงานปฏิบัติการโครงข่าย บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค กล่าวหลังจากเข้ารับตำแหน่งเพื่อมาดูแลการขยายโครงข่ายไตรเน็ตของดีแทคว่า แนวคิดของการบริหารจัดการโครงข่ายที่สำคัญคือการสร้างเน็ตเวิร์กเพื่อให้ใช้งานได้ดีในวันนี้ และพร้อมรองรับการขยายตัวในอนาคต
       
       “ที่บอกว่าสร้างเน็ตเวิร์กให้ใช้งานได้ดีในวันนี้ก็คือ แม้ว่าจะมีการขยายโครงข่าย 3G เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ปัจจุบันดีแทคก็ยังมีลูกค้าส่วนใหญ่ที่ใช้งาน 2G อยู่ ทำให้ต้องไม่ละเลยการพัฒนาโครงข่ายเก่าให้มีสเถียรภาพด้วย ส่วนการขยายเน็ตเวิร์กไปในอนาคตก็เพื่อให้รองรับกับการเติบโตของอุตสาหกรรมโทรคมนาคม"
       
       โดยยังคงยึดมั่นในแนวทางของไตรเน็ต ที่จะใช้การบริหารจัดการโครงข่าย โดยให้ตัวโทรศัพท์เลือกจับคลื่นที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในบริเวณนั้นๆ เพื่อเพิ่มความประทับใจในการใช้งานให้แก่ลูกค้า อย่างเช่นกรณีที่ใช้วอยซ์ถ้าสัญญาณ 3G ดรอบลงก็จะส่งต่อให้ไปใช้งานบนคลื่น 2G แทน เพื่อให้ได้การใช้งานที่ดีที่สุด
       
       ขณะเดียวกันยังมีแนวคิดที่จะเพิ่มเคเบิลใยแก้วเชื่อมโยงโครงข่ายสำรองเพื่อใช้งานในกรณีฉุกเฉินไปยังแต่ละภูมิภาค โดยเฉพาะในภาคใต้ที่เคยเกิดอุบัติเหตุขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีเคเบิลใยแก้วที่เชื่อมต่อแล้ว 3 เส้น แต่กำลังหาแนวทางเพิ่มอีก 1 เส้น โดยการลากผ่านใต้น้ำ ซึ่งกำลังดูว่าจะร่วมกับการไฟฟ้า หรือหาพาร์ทเนอร์เป็นโอเปอเรเตอร์รายอื่นมาใช้ร่วมกัน
       
       ส่วนในกรณีของ 4G LTE ที่ทางกสทช. เปรยมาว่าจะเปิดประมูลในรูปแบบของ 4.5G LTE Advance นั้นมองว่า ถือเป็นเรื่องดี เพราะในการใช้งานระบบ LTE Advance ควรจะมีปริมาณแบนด์วิธในการให้บริการที่กว้างพอ ซึ่งก็จะเข้ากับแนวคิดของดีแทค ที่จะคืนคลื่น 1800 MHz ให้นำกลับไปร่วมประมูล เพราะถ้านำเฉพาะคลื่นที่หมดสัญญาสัมปทานจากทรูมูฟ และดีพีซี มาประมูลนั้น ไม่น่าเพียงพอที่จะรองรับการใช้งานระบบ LTE Advance ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
       
       นายจอน เอ็ดดี้ อับดุลลาห์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค กล่าวว่า ดีแทคยังมั่นใจว่าจะสามารถย้ายลูกค้าทำได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ 10 ล้านรายภายในสิ้นปีนี้ เนื่องมาจากปัจจุบันมีลูกค้าที๋โอนย้ายมาใช้งาน ดีแทค ไตรเน็ตแล้วราว 3.7 ล้านราย และมีลูกค้ารอการโอนย้ายอยู่อีก 8 ล้านราย ยังไม่นับรวมกับลูกค้าที่ซื้อซิมการ์ดใหม่
       
       ในขณะที่เอไอเอสเน้นไปที่การหาลูกค้าบนเครือข่ายใหม่บน 3G 2100 เพิ่มมากขึ้น เนื่องมาจากใกล้สิ้นสุดสัญญาสัมปทานแล้ว ส่งผลให้ต้องเร่งขยายฐานลูกค้าเพิ่มอย่างต่อเนื่อง กลับกันดีแทค ยังมีสัญญาสัมปทานเหลืออีกเกือบ 5 ปี ทำให้ไม่ต้องรีบเพิ่มฐานลูกค้าในส่วนนี้
       
       โดยรูปแบบของการโอนย้ายลูกค้า เบื้องต้นจะใช้การนัมเบอร์พอร์ต ที่จำกัดสิทธิวันละ 60,000 เลขหมายไปก่อน แต่ก็จะมีการทำระบบคอลล์ฟอร์เวิร์ดร่วมด้วย เพื่อให้ลูกค้าที่แจ้งความประสงค์ สามารถสัมผัสประสบการณ์เครือข่ายไตรเน็ตได้ ในระหว่างที่ยังรอยื่นเลขหมายเข้าเคลียริงเฮาส์
       
       อย่างไรก็ตาม ดีแทคได้มีการประกาศผลประกอบการในช่วงไตรมาส 3 ว่ามีผลประกอบการเพิ่มขึ้น 10.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในส่วนของอินเทอร์เน็ตไร้สายทีมีการเติบโตมากกว่า 80% ติดต่อกัน 7 ไตรมาส
       
       ขณะที่รายได้จากการขายเครื่องโทรศัพท์เพิ่มขึ้น 32.6% จากที่มีสัดส่วน 26% ในไตรมาสที่ 2 หรือคิดเป็น 7.1 ล้านเครื่องเป็น 8 ล้านเครื่อง หรือ 29.1% ซึ่งถือว่าอัตราการเติบโต 9 แสนเครื่องต่อไตรมาสถือว่าเร็วกว่าที่คาดคิดไว้
       
       ในส่วนของปริมาณลูกค้าที่มีการใช้งานอินเทอร์เน็ต ก็เติบโตขึ้น 11% จากเดิม 9.4 ล้านราย เป็น 10.5 ล้านราย เพิ่มขึ้นราว 1.1 ล้านราย แต่ถ้าคำนวนเฉพาะ 3G ถือว่ามีการเติบโต 21.5% จาก 3.4 ล้านราย เป็น 4.2 ล้านราย หรือคิดเป็น 8 แสนราย
       
       ปัจจุบัน ดีแทค มีลูกค้าทั้งสิ้น 27.5 ล้านราย เป็นลูกค้าใหม่ที่เข้ามาในช่วงไตรมาส 3 ราว 2.4 แสนราย ซึ่งสัดส่วนลูกค้าใหม่ที่เข้ามายังอยู่ระหว่างดีแทค และดีแทค ไตรเน็ต อย่างละครึ่ง ขณะที่ดีแทค ไตรเน็ตเองปัจจุบันมีลูกค้าย้ายมาใช้งานแล้ว 3.7 ล้านราย ตั้งแต่เปิดให้บริการเมือ 23 กรกฏาคม
       
       “เหตุผลที่ลูกค้าใหม่ยังไม่ใช่ดีแทคไตรเน็ตทั้งหมด เนื่องจากตอนนี้ดีแทค ยังไม่ได้วางขายซิมการ์ด ดีแทค ไตรเน็ต ทั่วประเทศ เพราะในบางพื้นที่ยังไม่สามารถใช้งานเครือข่ายได้ แต่เมื่อถึงเวลาที่ขยายเครือข่ายครอบคลุมแล้ว จึงจะเริ่มขายซิมการ์ดดีแทค ไตรเน็ต ทั่วประเทศ"
       
       ในส่วนของจำนวนสถานีฐาน ของดีแทคเมื่อสิ้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ระบุว่ามีสถานีฐาน 2G 11,000 สถานี สถานีฐาน 3G บนคลื่น 850 MHz 5,200 สถานี และ สถานีฐาน 3G บนคลื่น 2100 MHz 5,300 สถานี จากที่วางไว้ 5,500 สถานีฐานภายในสิ้นปีนี้ เพื่อให้ครอบคลุมการใช้งาน 55% ของประชากร
       
       ทั้งนี้ ก่อนหน้าที่จะเข้ามาดูแลสายงานปฏิบัติการโครงข่าย นายปัญญา เคยดูแลในส่วนของระบบงานไอทีของดีแทค ในตำแหน่งผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่าย Business Support System Division : Technology Group โดยเข้ามารับตำแหน่งแทนนายประเทศ ตันกุรานันท์ ที่ย้ายไปรับตำแหน่งรองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศ ในเทเลนอร์ที่ประเทศพม่า
       
       Company Relate Link :
       Dtac

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)


Related Topics