ความเป็นมา ของ บรูเรย์ บลูเรย์ดิสค์ (Blu-ray Disc) หรือ บีดี (BD) คือรูปแบบของแผ่นออพติคอลสำหรับบันทึกข้อมูลความละเอียดสูง ชื่อของบลูเรย์มาจาก ช่วงความยาวคลื่นที่ใช้ในระบบบลูเรย์ ที่ 405 nm ของเลเซอร์สี "ฟ้า" ซึ่งทำให้สามารถทำให้เก็บข้อมูลได้มากกว่าดีวีดี ที่มีขนาดแผ่นเท่ากัน โดยดีวีดีใช้เลเซอร์สีแดงความยาวคลื่น 650 nm
มาตรฐานของบลูเรย์พัฒนาโดย กลุ่มของบริษัทที่เรียกว่า Blu-ray Disc Association ซึ่งนำโดยโซนี และ ฟิลิปส์ เปรียบเทียบกับ เอ็ชดีดีวีดี (HD-DVD) ที่มีลักษณะและการพัฒนาใกล้เคียงกัน บลูเรย์มีความจุ 25 GB ในแบบเลเยอร์เดียว (Single-Layer) และ 50 GB ในแบบสองเลเยอร์ (Double-Layer) ขณะที่ เอ็ชดีดีวีดีแบบเลเยอร์เดียว มี 15 GB และสองเลเยอร์มี 30 GB
ความจุของบลูเรย์ดิสค์ ซึ่งปกติแผ่นบลูเรย์นั้นจะมีลักษณะคล้ายกับแผ่น ซีดี/ดีวีดี โดยแผ่นบลูเรย์จะมีลักษณะแบบหน้าเดียว และสองหน้า โดยแต่ละหน้าสามารถรองรับได้มากถึง 2 เลเยอร์ อาทิ แผ่น BD-R (SL) หมายถึง Blu-Ray Disc ROM แบบ Single Layer แบบหน้าเดียว มีความจุ 25 GB แผ่น BD-R (DL) หมายถึง Blu-Ray Disc ROM แบบ Double Layer แบบหน้าเดียว มีความจุ 50 GB แผ่น BD-R (2DL) หมายถึง Blu-Ray Disc ROM แบบ Double Layer แบบสองหน้า มีความจุ 100 GB
ส่วนความเร็วในการอ่านหรือบันทึกแผ่น Blu-Ray ที่มีค่า 1x, 2x, 4x ในแต่ละ 1x จะมีความเร็ว 36 เมกะบิต ต่อ วินาที นั่นหมายความว่า 4x นั่นจะสามารถบันทึกได้เร็วถึง 144 เมกะบิต ต่อ วินาที
เครื่องเล่นบลูเรย์รุ่นแรก
โซนี่ เพลย์สเตชัน 3
[โซนี่ รุ่น BDP-S1
ซัมซุง รุ่น BD-P1000
พานาโซนิค รุ่น DMP-BD10
ไพโอเนียร์ รุ่น BDP-HD1
ฟิลิปส์ รุ่น BDP9000
ชาร์ป รุ่น DV-BP1
แอลจี รุ่น BD100
ไลท์-ออน รุ่น BDP-X1
ย้ำ แผ่น Blue- ray ไม่สามารถ เล่นกับเครื่องเล่นทั่วไปได้ จึงจำเป้นต้องซื้อเครื่อง เล่น Blue- ray โดย เฉพาะ
ต่อ มา จึงเกิด ศึก แดง ศึก น้ำเงิน ขึ้น
Blu-ray vs HD-DVD
เทคโนโลยีในปัจจุบันได้รับการพัฒนาและค้นคว้าวิจัยอยู่ตลอดเวลาจากผู้ผลิต ไม่ว่าจะเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องเสียงชนิดต่างๆ รวมถึงแผ่นดิสก์ ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการบันทึกข้อมูลต่างๆ ที่สามารถนำไปใช้กับเครื่องเสียงได้ โดยแผ่นดิสก์นั้นได้รับการพัฒนามาตั้งแต่อดีตซึ่งเป็นแผ่นดิสก์ที่มีความจุเพียง 700 เมกะไบต์ จนถึงปัจจุบันแผ่นดิสก์ธรรมดาๆนั้นได้รับการพัฒนาจนกลายเป็นแผ่นดีวีดีที่มีชื่อเรียกว่า เอชดี ดีวีดี ที่มีความจุมากถึง 15 จิกะไบต์
เอชดี ดีวีดี เป็นแผ่นดิสก์เพิ่งที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาเมื่อไม่กี่ปีมานี้จากบริษัท โตชิบา โดยเริ่มใช้มาตั้งแต่ปี 2006 ซึ่งเป็นแผ่นดิสก์ที่ได้รับการยอมรับจากผู้ผลิตโฮมวีดีโอทั้งหลายบริษัทเช่น วอร์เนอร์ บราเธอร์ ซึ่งถือเป็นผู้ผลิตโฮมวีดีโอที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา, วอลต์ ดิสนีย์, ทเวนตี้ เซนจูรี่ ฟ็อกซ์ และอีกหลายๆค่ายของโฮมวีดีโอ และนอกจากนี้เอชดี ดีวีดี ยังได้รับการสนับสนุนจากผู้ผลิตเครื่องเสียงหลายๆยี่ห้อ เช่น ซัมซุง, พานาโซนิค, ไพโอเนียร์, ฟิลิปส์ และผู้ผลิตเครื่องเสียงชั้นนำอื่นๆ
ต่อมาปี 2007 บริษัท โซนี่ ได้ทำการพัฒนาแผ่นดิสก์ขึ้นมาอีกประเภทหนึ่งซึ่งมีชื่อเรียกว่า บลู-เรย์ ซึ่งเป็นสินค้าที่มีคุณสมบัติสามารถบันทึกข้อมูลได้ถึง 25 จิกะไบต์ และยังสามารถบันทึกภาพได้ละเอียดคมชัดกว่าเอชดี ดีวีดี นั้น คุณสมบัติที่โดดเด่นกว่าเอชดี ดีวีดีนี้เองทำให้ บลู-เรย์ได้รับความสนใจจากผู้ผลิตโฮมวีดีโอขนาดใหญ่อย่าง วอร์เนอร์บราเธอร์ส และตามมาด้วย วอลต์ ดิสนีย์, ทเวนตี้ เซนจูรี่ ฟ็อกซ์ และไลออนส์เกต แต่บริษัทที่ให้ความสนใจกับบลู-เรย์นั้นก็ไม่ได้เปลี่ยนไปใช้บลู-เรย์ทั้งหมดโดยได้แบ่งสัดส่วนเป็นอย่างละครึ่ง ส่วนทางด้านเอชดี ดีวีดี ก็มียูนิเวอร์แซล และพาราเมาท์ ที่ยังคงเป็นกลุ่มผู้สนับสนุน เอชดี ดีวีดีอย่างมั่นคง ซึ่งส่วนนี้เป็นฐานการสนับสนุนในเชิงของอุตสาหกรรมภาพยนตร์และยังมีส่วนของอุตสาหกรรมเกมด้วย คือ บลู-เรย์นั้นได้รับการสนับสนุนจากทางเพลย์สเตชั่นของโซนี่และเอชดี ดีวีดีนั้นก็ได้รับการสนับสนุนจากเอ็กซ์บ็อกซ์จากไมโครซอฟต์ นอกจากนี้แล้วบลู-เรย์ยังได้รับการสนับสนุนจาก โซนี่ซึ่งผู้ผลิตหลักของตลาด และบริษัทผู้ผลิตเครื่องเสียงต่างๆเช่น ซัมซุง พานาโซนิค ไพโอเนียร์ ชาร์ป ฟิลิปส์ แอลจี และฮิตาชิ ต่างเลือกที่จะสนับสนุนบลู-เรย์
เนื่องจากบลู-เรย์ มีคุณภาพที่สูงกว่าเอชดี ดีวีดี แน่นอนว่าบลู-เรย์นั้นจะต้องมีราคาที่สูงกว่าเอชดี ดีวีดีด้วยเช่นกัน แต่อย่างไรก็ตามทั้งเอชดี ดีวีดีและบลู-เรย์นั้นในปัจจุบันยังคงเป็นสินค้าที่มีราคาค่อนข้างสูงอยู่ทั้งคู่ และยังไม่เป็นที่นิยมในตลาดมากเท่าใดนัก แต่ถ้าหากทั้งสองบริษัทยังมีเป้าหมายที่จะขยายฐานปริมาณความต้องการของตลาดนั้น อีกไม่นานราคาของเอชดี ดีวีดีและบลู-เรย์ก็คงจะมีราคาที่ถูกลงอย่างแน่นอน
ตลาดของเอชดี ดีวีดีหรือบลู-เรย์ นั้นยังไม่เป็นที่กว้างขวางมากนัก ดังนั้นการขยายฐานตลาดจึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับทั้งสองบริษัท โดยดีมานด์ของเอชดี ดีวีดีและบลู-เรย์ ในประเทศไทยนั้นยังไม่เป็นที่กว้างขวางมากนัก โดยกลุ่มลูกค้าที่คาดว่าจะเป็นเป้าหมายนั้นจะเป็นกลุ่มลูกค้าประเภทที่มีไลฟ์สไตล์ชื่นชอบในเรื่องที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี ชอบการดูหนังฟังเพลง และกลุ่มผู้ผลิตและตัดต่อภาพยนตร์
เมื่อนำสินค้าทั้ง 2 ชนิดมาเปรียบเทียบกัน เอชดี ดีวีดี นั้น นอกจากจะมีข้อได้เปรียบทางด้านราคาที่ถูกกว่าแล้วนั้น เอชดี ดีวีดี ยังมีข้อได้เปรียบอีกอย่างหนึ่งคือ สามารถเล่นได้กับเครื่องเสียงรุ่นเก่าที่ผลิตขึ้นมาในระหว่างปี 2006 ได้ ซึ่งที่ได้กล่าวไปแล้วนั้นว่า บลู-เรย์ได้ถือกำเนิดขึ้นมาเมื่อปี 2007 ซึ่งระยะเวลา 1 ปีนั้น เป็นเวลาที่เครื่องเสียงจำนวนไม่น้อยได้ถูกผลิตขึ้นมาเพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภค แต่อย่างไรก็ตามปัญหาด้านเครื่องเสียงที่เป็นอุปสรรคในการเล่น บลู-เรย์ นั้นไม่ใช่ปัญหาใหญ่เลยเพราะเครื่องเสียงในปัจจุบันส่วนใหญ่จะมีอายุการใช้งานที่ไม่ยาวนัก ดังนั้นข้อได้เปรียบของเอชดี ดีวีดีนี้เป็นเพียงแค่ข้อได้เปรียบในระยะสั้นเท่านั้น
ในปัจจุบันนั้นทั้งเอชดี ดีวีดีและบลู-เรย์ได้มีการแข่งขันในการแย่งชิงความเป็นเจ้าตลาดและแผ่นดิสก์ของผู้ผลิตทั้งสองนั้นไม่สามารถเล่นในเครื่องเล่นเดียวกันได้ กล่าวคือเครื่องเล่นที่สามารถรองรับเอชดี ดีวีดีได้จะไม่สามารถรองรับบลู-เรย์ได้ และเครื่องเล่นที่สามารถรองรับบลู-เรย์ ดีวีดีได้จะไม่สามารถรองรับเอชดี ดีวีดี ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่าทั้งสองบริษัทนั้นมีการฮั้วกันในอุตสาหกรรมผู้ผลิตเครื่องเสียงกล่าวคือทางด้านผู้ผลิตเครื่องเสียงนั้นก็ได้มีการแยกออกเป็น 2 ฝ่ายโดยวิธีการในการสนับสนุนความเป็นเจ้าตลาดของผู้ผลิตทั้งสองคือ ทั้งแผ่นดีวีดีและเครื่องเสียงต่างเป็นสินค้าที่มีความเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน ดังนั้นในการที่ผู้ผลิตเครื่องเสียงออกมาให้มีความสามารถในการรองรับแผ่นดิสก์เพียงชนิดเดียวนั้นก็ถือว่าเป็นการต่อต้านแผ่นดิสก์อีกชนิดเช่นกันซึ่งทางด้านในการแย่งชิงความเป็นเจ้าตลาดแผ่นดีวีดีนั้น ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้ผลิตแผ่นดีวีดีว่าจะดึงความเชื่อใจจากผู้ผลิตเครื่องเสียงที่เป็นเจ้าตลาดมาอยู่ฝ่ายเดียวกันได้มากน้อยเพียงใด
และเนื่องจากมีการแข่งขันเพื่อแย่งชิงความเป็นเจ้าตลาดมาเกินไปส่งผลให้เกิดการชะงักตัวของทั้งทางด้านผู้ผลิตโฮมวีดีโอและผู้บริโภค คือไม่สามารถตัดสินใจได้ว่าจะเลือกซื้อสินค้าที่จะสามารถรองรับแผ่นดีวีดีจากบริษัทใดเช่นเดียวกันกับผู้ผลิตโฮมวีดีโอนั้นไม่สามารถเลือกได้ว่าจะใช้แผ่นดีวีดีของบริษัทใดมาใช้ในการผลิตจึงจะให้ได้ผลดีกว่ากัน ทำให้บริษัทวอร์เนอร์บราเธอร์ส ซึ่งเป็นเจ้าตลาดในการผลิตโฮมวีดีโอตัดสินใจผลิตแผ่นดิสก์สายพันธุ์ใหม่เพิ่มขึ้นมาในตลาดอีกหนึ่งชนิดซึ่งมีชื่อเรียกว่า ทีเอชดี โดยทีเอชดีนั้นสามารถเล่นได้กับทั้งเครื่องเล่นที่รองรับเอชดี ดีวีดีและเครื่องเล่นที่รองรับบลู-เรย์ โดยการตัดสินใจของผู้บริหารวอร์เนอร์บราเธอร์สนั้นถือเป็นการแกไขปัญหาได้อย่างดีเยี่ยมเพราะจะส่งผลทำให้ในตลาดแผ่นดีวีดีที่มีการแข่งขันอย่างรุนแรงจนกระทั่งเกิดการชะลอตัวในการซื้อขายและการผลิตแผ่นโฮมวีดีโอนั้นสามารถดำเนินการได้อย่างปกติเช่นเดิม แต่อย่างไรก็ตามดีเอชทีนี้ยังไม่ได้รับการผลิตออกมาจำหน่ายในตลาดดังนั้นในปัจจุบันตลาดแผ่นดีวีดีก็ยังคงเป็นการแข่งขันของเอชดี ดีวีดีและบลู-เรย์
ตลาดสินค้าประเภทนี้ในปัจจุบันมีผู้แข่งขันในตลาดอยู่เพียงแค่ 2 รายเท่านั้นสาเหตุหลักมาจากสินค้าประเภทนี้เป็นสินค้าประเภทเทคโนโลยี ฉะนั้นในการที่จะค้นคว้า วิจัยสิ่งใหม่ขึ้นมาได้นั้นมีความจำเป็นที่จะต้องใช้เงินทุนค่อนข้างสูง ดังนั้นสำหรับ บริษัท โตชิบา หรือ บริษัท โซนี่ สามารถผลิตดิสก์ที่มีคุณสมบัติพิเศษแตกต่างจากดิสก์โดยทั่วไปได้เพราะมีทีมงานที่เป็นฝ่ายวิจัย และมีวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นจะต้องใช้ในการค้นคว้าอยู่แล้ว จึงไม่มีความจำเป็นที่ทั้งสองบริษัทนี้จะต้องลงทุนใหม่ทุกอย่างเพื่อการได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งถ้าหากว่ามีกิจการที่ตั้งบริษัทขึ้นมาเพื่อการค้นคว้าวิจัยโดยเฉพาะนั้นเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก เนื่องจากเมื่อต้องการที่จะปิดกิจการนั้นต้นทุนจมที่เกิดขึ้นนั้นมีค่ามากเกินกว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งสาเหตุนี้ถือได้ว่าเป็นอุปสรรคในการเข้าตลาดประการหนึ่ง
ที่มา: tumragame.com