Author Topic: กทช.พร้อมให้ใบอนุญาต 'ไวแม็กซ์' ได้ ก.ย.นี้  (Read 681 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai

มติบอร์ด กทช. เปิดให้บริการไวแม็กซ์ แบ่ง 2 ย่านความถี่ คือ 2.3-2.4 และ 2.5-2.69 ในการให้บริการวางกรอบก.ย.53 ได้ผู้ได้รับใบอนุญาตแน่นอน...

เมื่อวันที่ 9 มิ.ย. พ.อ.นที ศุกลรัตน์ กรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) กล่าวว่า ขณะนี้ คณะทำงานบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (Broadband Wireless Access:BWA) หรือ ไวแม็กซ์ ได้สรุปร่างนโยบายการดำเนินงานเรียบร้อยแล้ว พร้อมเสนอให้ กทช.ลงมติเห็นชอบกรอบร่างดังกล่าว โดยหลังจากนี้จะนำร่างมาจัดรับฟังความคิดเห็นเฉพาะกลุ่มภายในวันที่ 11 มิ.ย. 2553 เพื่อหามติร่วมกันในการดำเนินการต่อไป

สำหรับกรอบการดำเนินงานได้กำหนดกรอบคลื่นความถี่ออกเป็น 2 ย่าน คือ ช่วงย่านความถี่  2.3-2.4  กิกะเฮิร์ตซ ที่จะนำมาเปิดให้บริการไวแม็กซ์  และ 2.5-2.69 กิกะเฮิร์ตซ จะนำมาจัดทำโครงการเพื่อให้บริการในลักษณะบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึง หรือ ยูโซ่ (USO) โดยปัจจุบันย่านความถี่ 2.3-2.4 กิกะเฮิร์ตซ ปัจจุบัน คลื่นดังกล่าวมีจำนวน 100 เมกะเฮิร์ตซ มีผู้ถือครองเดิมคือ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) กว่า 64 เมกะเฮิร์ตซ  และหน่วยงานราชการและบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ถือครองอยู่ 36 เมกะเฮิร์ตซ ส่วนย่านความถี่  2.5-2.69  กิกะเฮิร์ตซ ปัจจุบันกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์และผู้ให้บริการโทรคมนาคมเป็นผู้ให้บริการอยู่ กทช.จึงได้กำหนดให้หน่วยงานใดก็ตามที่ถือครองคลื่นมากกว่า 30 เมกะเฮิร์ตซ นั้นให้คืนคลื่นส่วนที่เหลือเพื่อที่ กทช.จะได้นำไปจัดสรรต่อไป หรืออีกแนวทางให้ผู้ที่มีคลื่นความถี่บริหารจัดการโอนคลื่นดังกล่าว ขณะที่คลื่นความถี่ย่าน 2.5 กิกะเฮิร์ตซ นั้น สามารถให้บริการทางด้านโทรคมนาคมได้ จำนวน 40 เมกะเฮิร์ตซ จึงได้กำหนดให้นำมาจัดทำโครงการเพื่อให้บริการในลักษณะบริการยูโซ่

กรรมการ กทช. กล่าวต่อว่า เบื้องต้นกรอบดังกล่าวมีวัตถุประสงค์หลัก คือ ต้องการให้เกิดการกระตุ้นการแข่งขันและยกระดับการแพร่หลายของบริการบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตของประเทศ และเพื่อส่งเสริมให้เกิดบริการในพื้นที่เป้าหมายในการใช้ไวแม็กซ์ สำหรับพื้นที่ที่มีค่าครองชีพ หรือมีการใช้จ่ายค่าบริการไวแม็กซ์น้อย เนื่องจากขณะนี้ค่าบริการไวแม็กซ์อยู่ที่ 700-800 บาท ต่อเดือน จะเป็นพื้นที่ที่จะนำมาเป็นโครงการนำร่องในการเปิดให้บริการไวแม็กซ์  และกำหนดว่าจะมี 4 จังหวัดแรกเปิดให้บริการ โดยพิจารณาคัดเลือกจากจังหวัดที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ จีดีพี น้อยที่สุด

พ.อ. นที กล่าวอีกว่า กรอบดำเนินการครั้งนี้จะมีประเด็นต่างๆ ที่จะมีการพิจารณา คือ จัดทำร่างสรุปข้อสนเทศ (IM) ร่างประกาศหลักเกณฑ์ จัดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ และลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา ภายในเดือน ก.ค. 2553 ทั้งนี้ จะเชิญชวนและเปิดรับคำขอรับการอนุญาตภายในเดือน ส.ค. 2553 พร้อมดำเนินกระบวนการตามประกาศ โดยคาดการณ์ว่าจะได้ผู้ได้รับใบอนุญาตภายในเดือน ก.ย. 2553

ขั้นตอนผู้ที่จะเข้ารับใบอนุญาตไวแม็กซ์ทั้ง 2 ย่านความถี่จะมีลักษณะต่างกัน โดยผู้ที่จะได้รับใบอนุญาต 2.3-2.4 กิกะเฮิร์ตซ จะได้ใบอนุญาตแบบที่ 3 คือแบบมีโครงข่ายพร้อมจะสามารถให้บริการโดยใช้คลื่นความถี่ไม่เกิน 30 เมกะเฮิร์ตซ สำหรับผู้ที่ถือครองคลื่นเกินกว่านี้จะต้องโอนคลื่นให้กับผู้ประกอบการรายใหม่ตามระยะเวลา กทช.กำหนด แต่ถ้าไม่สามารถดำเนินการได้ก็ต้องคืนคลื่นให้กับ กทช.ดำเนินการเพื่อที่จะได้ให้ใบอนุญาตแก่ผู้ประกอบการที่ต้องการดำเนินการบริการไวแม็กซ์  สำหรับผู้ที่จะได้รับใบอนุญาต 2.5-2.69 กิกะเฮิร์ตซ จะได้ใบอนุญาตแบบที่ 2 แบบมีโครงข่าย ปัจจุบันเปิดให้บริการแบบทับซ้อน กทช.มองว่าจะจัดประกาศเพื่อรับสมัครผู้ดำเนินโครงการ โดยจะต้องขอรับเงินอุดหนุนจากทาง กทช.น้อย ก็จะมีสิทธิ์เปิดให้บริการโดยมีกำหนดราคาบริการขั้นต่ำภายใน 5 ปี โดยหลังจากนี้ถึงจะขึ้นราคาได้ พร้อมมีใบอนุญาต 10 ปี อย่างไรก็ตาม ถือว่าย่านความถี่นี้จะเป็นการเปิดให้บริการแบบยูโซ่ และจะเปิดให้บริการแบบเชิงพาณิชย์เพียง 15-20 จังหวัด.



ที่มา: thairath.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)