Author Topic: “วัฒน์ชัย” ฮุบเอ็มลิงค์ ดึง “ทอม” นั่งซีอีโอ  (Read 557 times)

0 Members and 2 Guests are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


วัฒน์ชัย วิไลลักษณ์ พร้อมพวกฮุบเอ็มลิงค์ กว้านซื้อหุ้นในตลาด 30% ร่วมกับ ทอม เครือโสภณ กับ ประสิทธิ์ ศรีสุวรรณ ถืออีก 10% ผ่าโครงสร้างบริษัท เลิกอิงการเมือง ยันไม่ประมูลโครงการภาครัฐ ฝากอนาคตโทรศัพท์มือถือโนเกีย ธุรกิจ SI และเอ็มลิงค์ เวอร์ชวล แบงกิ้ง
       
       นายทอม เครือโสภณ ว่าที่ประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่ของบริษัท เอ็ม ลิ้งค์ เอเชียคอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า ได้รับการทาบทามจากกลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหม่ที่นำโดยนายวัฒน์ชัย วิไลลักษณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สามารถ คอร์ปอเรชั่น ให้เป็นผู้บริหารในเอ็มลิ้งค์ โดยโครงสร้างผู้ถือหุ้นใหม่ นายวัฒน์ชัยและกลุ่มจะเข้าถือหุ้น 30% ของหุ้นทั้งหมด
       
       ส่วนตัวเขาเองและ ดร.ประสิทธิ์ ศรีสุวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทหลักทรัพย์ คันทรี่ กรุ๊ป จะถือหุ้น 10% ของหุ้นทั้งหมด หรือคิดเป็นมูลค่ามากกว่า 240 ล้านบาท โดย ดร.ประสิทธิ์ให้ความเห็นว่าธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมกับธุรกิจพลังงานเป็นธุรกิจที่น่าสนใจ เมื่อมีโอกาสลงทุนรวมทั้งเข้ามาเป็นผู้บริหารด้วยก็ไม่ลังเล เพราะเชื่อว่าด้วยหลักการบริหารแล้วไม่น่าจะต่างกันมากนักระหว่างธุรกิจไฟแนนซ์กับธุรกิจสื่อสาร
       
       ขณะที่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในปัจจุบันอย่างครอบครัววงศ์สวัสดิ์ จะลดสัดส่วนการถือหุ้นลงเหลือไม่เกิน 10% โดยหุ้น 10% ที่เหลืออยู่ของครอบครัววงศ์สวัสดิ์หลังการปรับโครงสร้าง คือหุ้นที่เตรียมไว้เพื่อการปฏิบัติตามเงื่อนไขของสัญญาเงินกู้ที่มีอยู่ สำหรับชินณิชา วงศ์สวัสดิ์ ที่เป็นกรรมการผู้จัดการก็จะเลื่อนเป็นประธานบริษัทต่อไป และเปลี่ยนตำแหน่งกรรมการผู้จัดการเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารแทน
       
       “การปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นจะแล้วเสร็จภายในเดือนนี้ จากนั้นรายชื่อผู้บริหารระดับสูงที่ถูกแต่งตั้งใหม่จะถูกส่งไปรายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดย ดร.ประสิทธิ์จะมาเป็นซีเอฟโอของเอ็มลิ้งค์ด้วย”
       
       ทอม เครือโสภณ มีประสบการณ์ในธุรกิจไอซีทีมายาวนาน เคยเป็นผู้บริหารระดับสูงของกลุ่มสามารถ อดีตผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท นอร์เทลเน็ตเวิร์ก และอดีตประธานบริษัท แพนด้าซีเคียวริตี้ (สหรัฐอเมริกา และเอเชียแปซิฟิก) ร่วมทุนกับโทนี่ เฟอร์นันเดส ให้บริการแอร์เอเชีย เอ็กซ์ที่กำลังจะเปิดตัวในไทยต้นปีหน้า รวมทั้งเคยสนใจธุรกิจ MVNO ของ 3G TOT และทำธุรกิจดาต้าเซ็นเตอร์ก่อนขายให้เอไอที โดยเขาระบุว่างานแรกในเอ็มลิ้งค์คือต้องล้างภาพลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับการเมืองออกจากธุรกิจของเอ็มลิ้งค์ให้หมด โดยเริ่มจากสิ่งที่ทำได้เร็วที่สุดคือ ไม่เข้าร่วมการประมูลโครงการภาครัฐเด็ดขาด
       
       “การเมืองเหมือนดาบสองคม ทางที่ดีที่สุดคือไม่เข้าร่วมประมูลโครงการรัฐ”
       
       โครงสร้างธุรกิจใหม่ของเอ็มลิ้งค์ จะฝากอนาคตไว้กับโนเกียที่เอ็มลิ้งค์เป็นดิสทริบิวเตอร์รายใหญ่ ผ่านการให้บริการและจัดจำหน่ายโดยเอ็มลิ้งค์ชอป 11 แห่งทั่วประเทศรวมทั้งคู่ค้าอีกจำนวนมาก เนื่องจากปีที่ผ่านมาเฉพาะการขายโทรศัพท์มือถือโนเกียทำกำไรให้เอ็มลิ้งค์กว่า 150 ล้านบาท และเมื่อโนเกียถูกไมโครซอฟท์ซื้อไป ทำให้ทอมมั่นใจว่าแบรนด์โนเกียจะกลับมาเป็นผู้เล่นในตลาดสมาร์ทโฟนรายใหญ่อีกครั้ง โดยเฉพาะหลังจากเห็นโรดแมปผลิตภัณฑ์โนเกียในยุคถัดไป ที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างพีซีตั้งโต๊ะกับสมาร์ทโฟนได้แบบไร้รอยต่อ รวมทั้งแอปพลิเคชันอีกมากมายในอนาคต
       
       “ผมเชื่อว่าตลาดมือถือยังสดใส เพราะโอเปอเรเตอร์เร่งย้ายลูกค้าเข้า 3G ลองสังเกตคนที่ถือสมาร์ทโฟนมากกว่า 1 เครื่องมักเลือกเครื่องแรกเป็นแอปเปิล หรือไม่ก็แอนดรอยด์ ซึ่งวินโดวส์โฟนของโนเกียไม่จำเป็นต้องเป็นทางเลือกแรก แต่ขอเป็นแค่สมาร์ทโฟนเครื่องที่ 2 เราก็พอใจแล้ว”
       
       ทอมระบุว่าเอ็มลิ้งค์จะไม่ขยายชอปไปมากกว่านี้ แต่จะใช้วิธีอีคอมเมิร์ซและให้คู่แข่งที่ขายโทรศัพท์มือถือหลากหลายยี่ห้อเป็นแหล่งประชาสัมพันธ์โทรศัพท์มือถือให้โนเกีย ซึ่งเมื่อผู้บริโภคตัดสินใจซื้อก็เพียงแวะเข้ามาเว็บไซต์เอ็มลิ้งค์ก็จะได้ราคาที่ถูกกว่าท้องตลาด รวมทั้งอุปกรณ์เสริมต่างๆ ก็จะสรรหามาให้จากทั่วทุกมุมโลกในราคาที่จับต้องได้
       
       นอกจากมือถือโนเกียแล้ว เอ็มลิ้งค์จะทำตัวเหมือนเป็น SI ที่เสนออุปกรณ์ไอซีทีประเภทต่างๆ ให้แก่องค์กรธุรกิจที่สนใจ และไม่ผูกติดกับแบรนด์เนมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นซิสโกหรือออราเคิล เพราะโลกไอทีทุกวันนี้มีอุปกรณ์สัญชาติจีนที่คุณภาพดีอีกจำนวนมากที่ยังไม่มีโอกาสเปิดตลาดในประเทศไทยหรือใน AEC โดยการทำธุรกิจด้านนี้ของเอ็มลิ้งค์จะยึดโมเดลที่หัวเว่ยประสบความสำเร็จ คือ การอ่อนน้อมถ่อมตัว และพร้อมปรับปรุงพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เข้ากับความต้องการของลูกค้าในลักษณะเทเลอร์เมด ซึ่งเอ็มลิ้งค์จะเสนอตัวให้บริการในลักษณะโทเทิลโซลูชันกับองค์กรธุรกิจต่างๆ รวมทั้งโครงการภาครัฐที่เอ็มลิ้งค์จะไม่เข้าประมูลตรง แต่ก็ไม่ปฏิเสธหากผู้ชนะได้โครงการ จะมาเลือกใช้โซลูชันของเอ็มลิ้งค์
       
       “ก้าวต่อไปของเอ็มลิ้งค์คือการเป็นโมบายล์แบงกิ้ง ด้วยบริการที่เราเรียกว่า เอ็มลิงค์ เวอร์ชวล แบงกิ้ง ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างศึกษารายละเอียด ใกล้จะเสร็จในเร็ววันนี้”
       
       ก่อนหน้านี้ วัฒน์ชัย วิไลลักษณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่สามารถคอร์ป กล่าวว่า เตรียมเงินไว้ประมาณ 1 พันล้านบาทสำหรับการสร้างการเติบโตด้วยการซื้อกิจการ ซึ่งไม่ได้จำกัดเฉพาะธุรกิจไอซีทีเท่านั้น แต่ยังรวมถึงธุรกิจบริการ สาธารณูปโภคและการขนส่ง ส่วนกรณีเอ็มลิ้งค์นั้น เพื่อสร้างความเข้มแข็งในส่วนบริการ MVNO หรือการให้บริการโทรศัพท์มือถือโดยไม่ต้องมีโครงข่ายเป็นของตัวเอง โดยไอโมบายจะเป็น MVNO ของ 3G TOT บนย่านความถี่ 1900 MHzส่วนเอ็มลิ้งค์จะเป็น MVNO ในส่วนบริการ 3G HSPA บนย่านความถี่ 850 MHz ของบริษัท กสท โทรคมนาคม
       
       Company Relate Link :
       M Link

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)