Author Topic: แอสตัน มาร์ติน อวดมาตรฐาน การดีไซน์ใหม่ ด้วย Autodesk Alias  (Read 688 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai




แอสตัน มาร์ติน สร้างมาตรฐานใหม่ของการออกแบบพื้นผิวภายนอกของตัวรถ ด้วยโปรแกรม Autodesk Alias หนึ่งในชุดโปรแกรมสำหรับรถยนต์ตัวแรกทุกกระบวนการผลิต ภายใต้แนวคิดหยินและหยางเพื่อสร้างสรรค์รถสปอร์ตสุดหรู สะท้อนการออกแบบทางกายภาพสู่ดิจิตอลดีไซน์ตามวลี “จากศิลป์...สู่ชิ้นส่วน...ด้วยความสมจริง” พร้อมไขเคล็ดลับความกลมกลืนของการออกแบบที่ออโตเดสก์และแอสตัน มาร์ตินได้ค้นพบผ่านกิจกรรม
       
       “จากศิลป์...สู่ชิ้นส่วน...ด้วยความสมจริง” วลีดังกล่าวได้อธิบายถึงขั้นตอนการออกแบบไว้อย่างสมบูรณ์ จากไอเดียในสมองของดีไซเนอร์ได้กลายมาเป็นภาพจำลองที่สมจริงบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ และด้วยข้อมูลการออกแบบเดียวกันนี้ได้ใช้เป็นแม่แบบคร่าวๆ ซึ่งส่งต่อไปยังเครื่องปริ้น 3มิติและผลิตออกมาเป็นของจริง ไม่ว่าจะเป็นชิ้นส่วนขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่อย่างฝากระโปรงรถก็สามารถผลิตออกมาได้

       โดยในกระบวนแรกของการออกแบบจะร่างแบบเป็นไฟล์ดิจิตอลลงแท็บเล็ตวาคอมลงในโปรแกรม Autodesk Alias ซึ่งจะตรวจสอบความถูกต้องทางดิจิตอลบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ จากนั้นจะเป็นขั้นตอนการตรวจสอบทางกายภาพโดยดูจากแม่แบบที่พิมพ์ออกมา ซึ่งทั้งทีมจะต้องมีหน้าที่ในการตรวจสอบการออกแบบทั้งหมด เพราะฉะนั้นหากเกิดข้อผิดพลาดขึ้นจะสามารถพบเห็นได้ทันที โดยขั้นตอนการตรวจสอบเช่นนี้จะช่วยป้องกันค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นเมื่อมีข้อผิดพลาดจากการผลิต
       
       กิจกรรมที่จัดขึ้นได้เปิดโอกาสให้เข้าชมดีไซน์สตูดิโอของแอสตัน มาร์ติน ที่โดยปรกติจะไม่เปิดให้บุคคลภายนอกเข้า โดยผู้เข้าชมครั้งนี้ได้มีโอกาสเห็นทีมงานออกแบบและแกะสลักดินเหนียว รวมไปถึงการใช้เลเซอร์สแกนเพื่อทำเป็นโมเดล 3 มิติ และสาธิตการออกแบบล้อ ซึ่งหากเป็นสมัยก่อนขั้นตอนนี้จะต้องแกะสลักด้วยมือและใช้เวลานานถึง 6 เดือนกว่าจะได้ล้อที่ตรงตามมาตรฐานและสามารถส่งไปให้ทีมวิศวกรทำงานต่อไปได้ แต่ปัจจุบันดีไซน์เนอร์เพียงแค่วาดรูปล้อส่วนหนึ่งลงบนแท็บเล็ตวาคอม จากนั้น Autodesk Alias จะทำการจำลองวงรอบของล้อที่เหลือจนเต็ม และข้อมูลในส่วนนี้จะสามารถนำไปทำเป็นภาพเสมือนจริง อีกทั้งยังสามารถนำภาพไปแชร์กับเพื่อร่วมทีมคนอื่นๆ และยังสามารถส่งตรงไปยังเครื่องปริ้นสี 3 มิติเพื่อทำเป็นแม่แบบตัวอย่างได้อีกด้วย นั่นหมายความว่าทีมออกแบบได้แปลงจากงานศิลป์ในวันหนึ่ง ไปสู่ชิ้นงานได้ในวันถัดไป

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)