Author Topic: กสท. ออกประกาศ เชิญชวน ประมูลทีวีดิจิตอล ต้น ส.ค.นี้  (Read 914 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


กสท.เตรียมร่อนหนังสือเชิญชวนประมูลทีวีดิจิตอลธุรกิจ 24 ช่องต้นเดือน ส.ค.นี้ หลังแก้ไขร่างประกาศฯ สำคัญ 2 ประเด็น คือ เพิ่มอัตราการเคาะราคาประมูลช่องเด็กจาก 1 ล้านเป็น 2 ล้านบาท และ ลดสัดส่วนข่าวสารและสาระช่องข่าวลงเหลือ 50% ด้าน “สุภิญญา” ไม่มั่นใจการปรับลดสัดส่วนข่าวสารและสาระจะมีผลกระทบต่อราคาตั้งต้นการประมูลหรือไม่
       
       พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวว่า บอร์ด กสท.เมื่อวันที่ 15 ก.ค.มีมติเห็นชอบการแก้ไขร่างประกาศหลักเกณฑ์ และวิธีการคัดเลือกให้ใช้คลื่นความถี่ในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ สำหรับการประมูลทีวีดิจิตอลประเภทธุรกิจ 24 ช่อง ที่สำนักงาน กสทช.เสนอมา โดยขั้นตอนต่อไปจะนำเสนอบอร์ด กสทช.ในวันที่ 17 ก.ค.นี้ ก่อนนำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา
       
       “หลังจากประกาศในราชกิจจาฯ เสร็จแล้ว 2 สัปดาห์ต่อจากนั้น หรือประมาณต้นเดือน ส.ค.นี้ กสทช.จะออกหนังสือเชิญชวนผู้ที่สนใจเข้าร่วมประมูลทีวีดิจิตอลประเภทธุรกิจ 24 ช่องทันที”
       
       ทั้งนี้ สาระสำคัญที่มีการแก้ไขในร่างประกาศฯ ดังกล่าว เช่น การปรับอัตราเคาะราคาประมูลช่องรายการเด็ก เยาวชน และครอบครัวจากครั้งละ 1 ล้านบาท เป็น 2 ล้านบาท จากราคาเริ่มต้นประมูล 140 ล้านบาท และยังปรับแก้ไขในสัดส่วนเนื้อหารายการข่าวสาร และสาระในช่องข่าว 7 ช่อง โดยลดสัดส่วนการเสนอข่าวสารและสาระจากเดิม 75% ลดเหลือ 50% เพื่อความคล่องตัว และให้ผู้ประกอบการธุรกิจอยู่รอดได้ เนื่องจาก กสทช.ได้นำบทเรียนจากการประกอบธุรกิจของสถานีโทรทัศน์ไอทีวีในอดีตที่ขาดทุนอย่างหนักมาประกอบการพิจารณา เพราะเดิมไอทีวีกำหนดสัดส่วนข่าว 75% แต่ไม่สามารถทำธุรกิจอยู่รอดได้ จึงทยอยปรับลดสัดส่วนลง ขณะเดียวกันได้เพิ่มว่าการเสนอข่าวสารจะต้องเสนออย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ได้รับความนิยมสูง (ไพรม์ไทม์)
       
       “ส่วนช่วงเวลาไพรม์ไทม์นั้น ทางบอร์ด กสท.จะออกเป็นมติอีกครั้งว่ามีช่วงเวลาใดบ้าง ซึ่งจะพิจารณาควบคู่กับประกาศผังรายการโทรทัศน์อีกครั้งเพื่อความเหมาะสม และสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์”
       
       พ.อ.นทีกล่าวว่า นอกจากนี้ที่ประชุมยังสั่งการให้สำนักงาน กสทช.ตรวจเข้มในประเด็นสัดส่วนผู้ถือหุ้น การบริหารงาน และทุน สำหรับบริษัทที่จะยื่นประมูลทีวีดิจิตอลช่องมาตรฐานความคมชัดสูง (HD) และช่องข่าวจะต้องไม่มีความสัมพันธ์หรือเกี่ยวข้องกัน เพื่อป้องกันการสร้างตัวแทน (นอมินี) เข้าร่วมประมูล รวมถึงต้องการให้เกิดผู้ประกอบการรายใหม่ และเกิดการแข่งขันบนพื้นฐานที่เท่าเทียมและเป็นธรรม ซึ่งเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมจากเดิมที่กำหนดไว้ว่าผู้เข้าร่วมประมูลช่อง HD ห้ามประมูลช่องข่าว และผู้ประมูลช่องข่าวก็ห้ามประมูลช่อง HD ได้
       
       ที่ประชุมยังมีมติอนุมัติออกใบอนุญาตประกอบกิจการสิ่งอำนวยความสะดวก หรือเสา และอุปกรณ์ส่งสัญญาณให้สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสเป็นรายแรก ซึ่งมีระยะเวลาใบอนุญาต 15 ปี และ กสทช.อยู่ระหว่างการพิจารณาการขออนุญาตของกรมประชาสัมพันธ์ และบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) คาดว่าจะพิจารณาในเร็วๆ นี้ และยังได้อนุมัติการออกใบอนุญาตให้บริการโครงข่ายสำหรับกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ (ทีวีดาวเทียมและเคเบิลทีวี) อีก 13 ราย และออกใบอนุญาตช่องรายการสำหรับเคเบิลทีวี 6 รายการ รวมถึงการออกใบอนุญาตทดลองการออกอากาศวิทยุกระจายเสียงเพิ่มอีก 53 ราย
       
       ขณะเดียวกัน นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสทช. กล่าวว่า ขอสงวนความเห็นการปรับลดสัดส่วนช่องข่าวทีวีดิจิตอล แม้ส่วนตัวจะสนับสนุนแนวความคิดและหลักการหลายเรื่องของร่างฯ ประมูลฉบับนี้ แต่ไม่สามารถรับหลักการบางเรื่องได้จึงจำเป็นต้องสงวนความเห็นต่อมติที่ประชุม เนื่องเพราะก่อนที่บอร์ด กสท.จะพิจารณาร่างฯ นี้ได้ จำเป็นที่จะต้องเห็นรายงานการประเมินมูลค่าคลื่นฉบับเต็มจากทีมวิจัยคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกอบการพิจารณา ซึ่งที่ผ่านมายังไม่มีการรายงานให้กรรมการรับทราบ มีเพียงการนำเสนอร่างรายงานเบื้องต้นในที่ประชุมเพียงครั้งเดียว ซึ่งการตัดสินใจครั้งสำคัญเช่นนี้กรรมการทุกคนควรที่จะได้ศึกษารายงานฯ วิธีคิด การวิเคราะห์ในการประเมินมูลค่าคลื่นจากรายงานฉบับเต็ม
       
       ที่สำคัญ ทางสำนักงาน กสทช.ได้เสนอแก้เงื่อนไขการประมูลช่องข่าว โดยปรับลดสัดส่วนเนื้อหารายการ จากเดิมที่กำหนดให้มีข่าวสารและสาระไม่น้อยกว่า 75% ให้เหลือ 50% ซึ่งอาจตั้งคำถามได้ว่ามีนัยสำคัญอย่างไรหรือไม่ต่อราคาตั้งต้นของราคาประมูล แม้ที่ประชุมได้ยืนยันว่ากรณีนี้ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ แต่เห็นว่าควรต้องได้รับการยืนยันจากรายงานของทีมวิจัยคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ ก่อน ว่าการปรับเปลี่ยนสัดส่วนเนื้อหาช่องรายการในโค้งสุดท้ายนี้ไม่ได้มีผลกระทบแต่อย่างใด เพื่อให้เกิดความมั่นใจกับทุกภาคส่วนว่าเรื่องนี้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยรอบคอบ ถูกต้อง ชัดเจน
       
       นอกจากนั้นยังมีประเด็นอื่นที่ได้เคยสงวนไปก่อนหน้านี้แล้ว แต่ไม่ได้มีการปรับแก้ในร่างฯ นี้ ได้แก่ การจำกัดเพดานช่องการประมูล การเปิดให้ใช้หนังสือค้ำประกันจากสถาบันการเงินประเภทธุรกิจธนาคารพาณิชย์ตามพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 เพราะการกำหนดเงื่อนไขให้ผู้เข้าประมูลต้องวางหลักประกันเฉพาะที่เป็นเงินสดหรือเช็คที่ธนาคารสั่งจ่ายนั้นอาจเป็นการกีดกันผู้ประกอบการรายย่อย รวมไปถึงกรณีที่เปิดให้ผู้ชนะการประมูลที่มีมูลค่ารวมสูงสุดมีสิทธิเลือกใช้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ หรือ Multiplexer (MUX) เป็นรายแรกตามลำดับ และที่ผ่านมาผู้ประกอบการหลายรายแสดงความไม่เห็นด้วย ซึ่งเห็นว่าควรให้สิทธิแก่กลุ่มผู้ที่ชนะประมูลด้วยราคาสูงสุดในแต่ละประเภท (เด็ก ข่าว วาไรตี-SD วาไรตี-HD) ก่อน
       
       Company Relate Link :
       กสทช.

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)