Author Topic: ขอดเกล็ด ขบวนการ "ขาย เฟซบุ๊ก แฟนเพจ"  (Read 670 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


ลักษณะหน้าเว็บไซต์สำหรับเสนอซื้อขาย Facebook Fanpages ในต่างประเทศ (sellyourfanpage.com)


ลักษณะการโพสต์ประกาศขาย Facebook Fanpages ในเมืองไทย

สัปดาห์ที่แล้วเราเห็นเด็กมัธยมฯปลายชาวไทยออกมาให้สัมภาษณ์ว่าสามารถขาย "เฟซบุ๊ก แฟนเพจ (Facebook Fanpage)" จนสามารถถอยรถหรูมาขับได้สบายๆ กรณีที่เกิดขึ้นนำไปสู่คำถามหลายประเด็น ทุกประเด็นสามารถตอบได้จากกรณีศึกษาทั้งในและต่างประเทศ เนื่องจากการขายเฟซบุ๊กแฟนเพจบนโลกนี้มีกระบวนการชัดเจนที่ดำเนินการมาต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 3 ปี
       
       ***ขาย "แฟนเพจ" ได้จริงหรือ?
       
       คำตอบคือจริง จุดนี้เว็บไซต์ sellyourfanpage.com ระบุว่า"แฟน"ในแฟนเพจเฟซบุ๊กนั้นมีราคา ดังนั้นคนที่มีแฟนหลักหมื่นหลักแสนหลายคนบอกตัวเองได้เลยว่า แฟนเหล่านี้สามารถทำเงินให้คุณได้
       
       แฟนเพจหรือแฟนไซต์ (Fansite) คือเว็บไซต์ขนาด 1 หน้าหรือ 1 เพจที่ชาวเฟซบุ๊กสามารถสร้างสรรค์ขึ้นมาเองได้ฟรี ในสาราณุกรมออนไลน์วิกิพีเดียอธิบายว่าแฟนเพจคือเว็บไซต์ที่สร้างและดูแลรักษาโดยผู้ใช้เฟซบุ๊กที่ชื่นชอบหรือสนใจในเรื่องใดก็ได้ ทั้งเซเลบผู้มีชื่อเสียง สิ่งของ หนังสือ รายการทีวี ภาพยนตร์ การ์ตูน วงดนตรี ทีมกีฬา หรือเรื่องราววัฒนธรรมทั่วไป
       
       วันนี้แฟนเพจหลายล้านเพจผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด บางเพจตลกโปกฮา บางเพจมีสาระประโยชน์ ขณะที่บางเพจแค่สร้างความรำคาญเท่านั้น ประเด็นสำคัญที่เกิดขึ้นคือหากใครเป็นผู้สร้างเพจที่ได้รับความสนใจมากเป็นพิเศษและมี "แฟน" หรือมีผู้กด Like แสดงความชื่นชอบและติดตามหลายหมื่นคน เพจเหล่านี้ก็อาจทำเงินเข้ากระเป๋าเจ้าของเพจได้
       
       ที่ผ่านมา เจ้าของเพจหลายคนพยายามโปรโมทแฟนเพจของตัวเองด้วยการสร้างสรรค์ชื่อเพจเก๋ไก๋เพื่อขอ Like จากผู้ใช้เฟซบุ๊ก ผู้ใช้เฟซบุ๊กบางรายในต่างประเทศตั้งชื่อเพจว่า “If you hate school, like this” เพื่อจี้จุดคนที่ไม่ชอบไปโรงเรียนให้ Like เพจนี้ หรือ “Omg Britney Spears burped on stage – help us get a million hits” ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยว่า "โอพระเจ้า บริทนีย์ สเปียร์ เค้า"เรอ"บนเวที -- ช่วยให้เราได้ Like ทะลุ 1 ล้านเถอะ"
       
       ข้อมูลจาก FanPageCash.org บอกว่า 96% ของแฟนเพจเฟซบุ๊กทั้งหมดถูกสร้างโดยวัยรุ่นซึ่งเน้นหาเรื่องทำแก้เบื่อ จุดนี้ FanPageCash.org วิจารณ์ว่าแม้ข้อความส่วนใหญ่ในแฟนเพจจะไม่ได้สะท้อนเรื่องราวคุณภาพเหมือนการเขียนไดอารี่ออนไลน์หรือบล็อก แต่แฟนเพจของวัยรุ่นเหล่านี้สามารถแปลงเป็นเงินได้จริงๆ
       
       บล็อกเกอร์นักเขียนออนไลน์ต่างชาติรายหนึ่งซึ่งเปลี่ยนไปสร้างแฟนเพจเพื่อจะได้สื่อสารกับผู้อ่านแบบเรียลไทม์เล่าว่าประสบความสำเร็จมากในการสร้างแฟนเพจ โดยแฟนมากกว่า 210,000 หลั่งไหลมากด Like เพจโดยที่ไม่มีการประชาสัมพันธ์ใดๆ กระแสร้อนแรงนี้ทำให้บล็อกเกอร์รายนี้ได้รับการติดต่อจากตัวแทนขายของ fanpagecash.org ซึ่งเป็นเว็บไซต์นายหน้าซื้อขายเว็บไซต์กระแสร้อนหรือ viral site broker และตัดสินใจขายแฟนเพจในที่สุด

อัตราซื้อขายแฟนที่บล็อกเกอร์รายนึ้สรุปไว้จากการทำตลาดกับกลุ่ม FPC หรือ FanPageCash.org (ก่อตั้งเมื่อปี 2010) คือ 1 เหรียญสหรัฐต่อแฟนผู้ใช้เฟซบุ๊กในสหรัฐฯทุก 1,000 คน ซึ่งราคาต่อรองจะสามารถปรับเพิ่มขึ้นได้หากกิจกรรมและเพจมีความ “niche” หรือเป็นกลุ่มเฉพาะทาง กรณีของบล็อกเกอร์รายนี้สามารถทำเงิน 175 เหรียญสหรัฐเมื่อครั้งแฟนเพจยังมี 150,000 Fan หรือประมาณ 5,250 บาท
       
       บล็อกเกอร์รายนี้บอกว่ายินดีมากที่สามารถขายแฟนเพจไป เพราะหากเก็บแฟนเพจนี้ไว้ ก็ไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไรเพิ่มเติม
       
       ***ซื้อไปทำไม?
       
       ในเมื่อแฟนเพจทั้งหมดเป็นสมบัติของเฟซบุ๊ก ทำไมจึงมีคนยอมเสียเงินเพื่อซื้อเพจไก่กาอย่าง “OMG lady gaga is so ugly”? ซึ่งเอาแต่โพสต์เรื่องราวความแรงของสาวเลดี้กาก๊า
       
       ในต่างประเทศ เจ้าของแฟนเพจหลายคนเลือกใช้บริการเว็บไซต์นายหน้าที่จะเป็นธุระจัดการหาแห่งซื้อขายแฟนที่ปลอดภัยต่อไป ขณะที่ในประเทศไทย เจ้าของแฟนเพจจำนวนไม่น้อยเลือกตั้งกระทู้เพื่อประกาศขายแฟนเพจให้แก่ผู้สนใจด้วยตัวเอง จากการประเมินเบื้องต้น แฟนเพจที่สามารถขายได้จะต้องมีแฟนไม่ต่ำกว่า 3,000
       
       FPC ให้ข้อมูลว่ารูปแบบการซื้อขายแฟนเพจนั้นมี 2 ระดับ โดยผู้ที่ไม่ต้องการดูแลแฟนเพจนั้นต่อไปจะสามารถขายขาดเพื่อส่งมอบให้นักการตลาดหรือผู้สนใจอื่นมาดูแลเพจต่อทั้งหมด ขณะที่ผู้ที่ยังต้องการเก็บเพจไว้ ก็สามารถขายพื้นที่โพสต์สถานะหรือ status update ได้ ทั้งหมดนี้ FPC ระบุว่าเจ้าของเพจสามารถโพสต์ลิงก์แฟนเพจที่ต้องการจำหน่ายเพื่อให้ทีมงานเข้าไปตรวจสอบ ซึ่ง FPC จะซื้อแฟนแพจหรือกลุ่ม Facebook group จากทุกประเทศและทุกภาษา โดยไม่จำกัดประเภทว่าแฟนเพจนั้นจะเน้นเผยแพร่เนื้อหาตลกโปกฮา ก้าวร้าว หรือเนื้อหาที่ฝรั่งใช้คำว่า stupid
       
       FPC ยืนยันว่าเหตุที่บริษัทตัดสินใจซื้อแฟนเพจเหล่านี้ เพราะต้องการนำแฟนเพจที่ซื้อมาไปช่วยเพิ่มทราฟฟิกหรือปริมาณการใช้เว็บไซต์ของลูกค้า เช่นอาจโพสต์ข่าวสารน่าสนใจซึ่งทำให้แฟนได้เห็นและคลิกไปอ่านข้อมูลเพิ่มที่บางเว็บไซต์ ซึ่งหากไม่สามารถจับคู่เพจที่มีกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการ ก็จะนำแฟนเพจที่ได้มาไปขายต่อหรือ re-sell แก่บริษัทการตลาดรายอื่นต่อไป
       
       ***ขายแล้วเสี่ยง?
       
       แม้จะเป็นกระบวนการที่สร้างรายได้จริง และไม่ใช่เรื่องล่อลวงผิดศีลธรรม แต่ความเสี่ยงจากการขายเพจนั้นมี ทั้งในแง่ความผิดทางกฎหมายและการถูกลงโทษโดยเฟซบุ๊กเอง รวมถึงความเสี่ยงในการหลงกลผู้หลอกลวง เนื่องจากในต่างประเทศ บางเว็บไซต์อ้างว่าพบกรณีเจ้าของแฟนเพจถูกล่อลวงจนทำให้เสียสิทธิการเป็นแอดมินระบบ และไม่ได้รับรายได้การขายแฟนเพจอย่างที่ตกลงไว้
       
       ที่สำคัญคือ การขายและการซื้อเพจเฟซบุ๊กทุกประเภทนั้นจะถูกปราบปราม โดยจะผิด 2 ด้านทั้งกฎหมายและเงื่อนไขของเฟซบุ๊ก เรื่องนี้ “ไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ” ที่ปรึกษากฎหมาย สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ อธิบายว่าผลจากการขายแฟนเพจสามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่การถูกเฟซบุ๊กระงับบริการ และการถูกลงโทษตามกฏหมายลิขสิทธิ์
       
       "เฟซบุ๊กนั้นเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์การทำงานทั้งระบบ และอนุญาตให้ผู้ใช้สามารถใช้บริการได้แต่ไม่อนุญาตให้ขายเพื่อทำกำไร ดังนั้นคนที่ขายจะมีความผิดฐานละเมิดกฎหมายลิขสิทธิ์ ขณะเดียวกันก็จะผิดเงื่อนไขการให้บริการ ซึ่งเฟซบุ๊กมีสิทธิ์ที่จะระงับบริการเมื่อใดก็ได้ และมีสิทธิฟ้องเอาผิดเช่นกัน"
       
       เงื่อนไขบริการที่เฟซบุ๊กกำหนดไว้ในส่วนที่ 4 ย่อหน้าที่ 9 ระบุชัดเจนว่าผู้ใช้ไม่สามารถส่งต่อบัญชีหรือ account รวมถึงเพจหรือแอปพลิเคชันที่ผู้ใช้รายนั้นเป็นผู้จัดการหรือ administer ให้กับผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
       
       ขณะเดียวกัน เจ้าของแฟนเพจที่ประกาศขายแฟนจำนวนหลายหมื่นหลายแสนคนอาจจะได้ชื่อว่าเป็นผู้ "ทรยศ" ผู้ใช้ที่ชื่นชอบเพจนี้อย่างจริงจังด้วย
       
       ฟังแบบนี้แล้ว ใครอยากเสี่ยงก็คิดให้ดีก่อน

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)


Related Topics

  Subject / Started by Replies Last post
0 Replies
5154 Views
Last post January 18, 2012, 02:03:34 PM
by Nick
0 Replies
6668 Views
Last post May 15, 2012, 09:59:24 PM
by Nick
0 Replies
4373 Views
Last post July 13, 2012, 05:12:23 PM
by Nick
0 Replies
5319 Views
Last post December 02, 2012, 04:31:30 PM
by Nick
0 Replies
3814 Views
Last post February 27, 2013, 05:49:40 PM
by Nick
0 Replies
3927 Views
Last post March 26, 2013, 04:01:43 PM
by Nick
0 Replies
4949 Views
Last post April 29, 2013, 07:29:44 PM
by Nick
0 Replies
3956 Views
Last post May 28, 2013, 01:25:51 AM
by Nick
0 Replies
3898 Views
Last post June 05, 2013, 05:57:46 PM
by Nick
0 Replies
4673 Views
Last post June 21, 2013, 08:00:10 PM
by Nick