Author Topic: Dropbox Platform อาสา แทนที่ “ฮาร์ดไดรฟ์”  (Read 1217 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


ตัวอย่างแอปพลิเคชันที่ใช้ประโยชน์จากชุดเครื่องมือใน Dropbox Platform


บรรยากาศงานเปิดตัว Dropbox Platform ในงานประชุมนักพัฒนาที่บริษัทจัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันอังคารที่ 9 กรกฎาคมที่ผ่านมา


สัญลักษณ์ Dropbox Platform


ยักษ์ใหญ่บริการฝากไฟล์ออนไลน์เปิดตัว Dropbox Platform รูปแบบการทำงานครบวงจรที่ดร็อปบ็อกซ์ (Dropbox) เปิดตัวในงานประชุมนักพัฒนาที่บริษัทจัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันอังคารที่ 9 กรกฎาคมที่ผ่านมา ถือเป็นการจุดพลุระบบนิเวศเศรษฐกิจ หรือ ecosystem ในอุตสาหกรรมคลาวด์เพื่อเปิดให้นักพัฒนารายอื่นสามารถทำเงินจากการให้บริการบนระบบของดร็อปบ็อกซ์อย่างเป็นทางการ
       
       เพื่อการเข้ามาเป็นระบบเก็บข้อมูลดิจิตอลแทนฮาร์ดไดรฟ์ (hard drive) ดร็อปบ็อกซ์จึงขยายบริการจากการเป็นเพียงแอปพลิเคชันเก็บข้อมูลบนคลาวด์แสนธรรมดา มาเป็นแพลตฟอร์มที่พร้อมให้บริการเต็มรูปแบบ โดยซีอีโอและผู้ก่อตั้งดร็อปบ็อกซ์อย่าง “ดริว ฮุสตัน (Drew Houston)” กล่าวในงานเปิดตัว Dropbox Platform ว่าเป็นระบบงานใหม่ที่จะทำให้ผู้ใช้สามารถเชื่อมโยงทุกอย่างเข้ากับคลาวด์ได้
       
       คลาวด์ หรือ Cloud ที่ดร็อปบ็อกซ์กล่าวถึงคือศูนย์กลางข้อมูลออนไลน์ที่ผู้ใช้สามารถดึงข้อมูลมาชม แก้ไข ส่งต่อด้วยอุปกรณ์ชนิดใดก็ได้ บริการคลาวด์เป็นบริการที่ได้รับความนิยมมากในขณะนี้ เนื่องจากผู้ใช้สามารถเซฟงานจากคอมพิวเตอร์ที่บ้านขึ้นสู่คลาวด์ แล้วนำมาเปิดอ่านบนแท็บเล็ตหรือสมาร์ทโฟนขณะเดินทางได้
       
       จุดนี้ซีอีโอดร็อปบ็อกซ์ระบุว่าแพลตฟอร์มใหม่ของบริษัทจะทำให้ข้อมูลในอุปกรณ์สามารถเชื่อมต่อหรืออยู่ในสถานะ “sync” ตลอดเวลา โดยสามารถทำงานแบบออฟไลน์ได้ในกรณีที่อุปกรณ์ไม่ได้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต รวมถึงสามารถจัดการปัญหาการซิงก์ และทำงานข้ามระบบปฏิบัติการที่หลากหลายได้ ซึ่งล้วนเป็นปัญหาที่ผู้ใช้บริการฝากไฟล์ออนไลน์พบเจออยู่ในขณะนี้
       
       ซีอีโอดร็อปบ็อกซ์แสดงวิสัยทัศน์ของตัวเองบนเวทีงานประชุมนักพัฒนาของบริษัทไว้อย่างน่าสนใจ โดยบอกว่าการซิงก์จะเป็นอนาคตของการเซฟหรือการบันทึกข้อมูล จุดนี้ฮุสตันใช้คำว่า “Sync is the new save.” ซึ่งแทนที่ผู้ใช้จะคอยตรวจสอบว่าไฟล์งานที่ทำนั้น “เซฟหรือยัง?” อาจจะต้องเปลี่ยนคำถามว่า “ซิงก์หรือยัง?” แทนในอนาคต
       
       เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่ผ่านมาผู้ใช้ดร็อปบ็อกซ์นั้นมีจำนวนมากกว่า 100 ล้านคนทั่วโลก ล่าสุดตัวเลขนี้ขยับเพิ่มขึ้นเป็น 175 ล้านคนในเวลาเพียง 6 เดือน จุดนี้ซีอีโอดร็อปบ็อกซ์ให้ข้อมูลว่าปัจจุบันผู้ใช้ดร็อปบ็อกซ์ทั่วโลกพร้อมใจเซฟไฟล์มากกว่า 1 พันล้านไฟล์ต่อวัน ซึ่งเป็นไฟล์ที่หลากหลายตั้งแต่เอกสารคืนภาษีถึงอัลบั้มภาพแต่งงาน
       
       ทั้งหมดนี้ซีอีโอหนุ่มยืนยันว่าดร็อปบ็อกซ์จะไม่เป็นเพียงระบบคลาวด์สตอเรจที่เน้นความสามารถในการเก็บคอนเทนต์เท่านั้น แต่ยังมุ่งมั่นการเป็นศูนย์กลางออนไลน์หรือ online hub สำหรับครอบครัว เพื่อนฝูง และเพื่อนร่วมงานที่จะติดต่อสื่อสาร และแชร์งานระหว่างกัน แนวคิดนี้ทำให้ดร็อปบ็อกซ์สร้างสรรค์ Dropbox Platform ในฐานะชุดเครื่องมือเพื่อให้นักพัฒนาสามารถสร้างแอปพลิเคชันที่ทำงานบนแพลตฟอร์มบริการของดร็อปบ็อกซ์ได้ง่าย
       
       ซีอีโอดร็อปบ็อกซ์พูดถึงยักษ์ใหญ่ผู้สร้างอุปกรณ์ไอทียอดนิยมทั้งแอปเปิล (Apple) แอนดรอยด์ (Android) และอเมซอน (Amazon) ซึ่งล้วนแข่งขันกันจนทำให้ผู้บริโภคพบปัญหาการไม่มีบริการที่สามารถทำงานซิงก์กันได้ทุกระบบ ดังนั้นดร็อปบ็อกซ์จึงเห็นโอกาสงามในการชักจูงนักพัฒนาและผู้ใช้ของทุกแพลตฟอร์มให้มาร่วมกันแก้ปัญหาบนแพลตฟอร์มของดร็อปบ็อกซ์
       
       ชุดเครื่องมือใน Dropbox Platform นั้นประกอบด้วย Sync API ชุดเครื่องมือสำหรับการพัฒนาแอปพลิเคชันด้านการซิงก์ซึ่งเริ่มเปิดตัวอย่างเป็นทางการแล้วเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา จุดนี้ดร็อปบ็อกซ์การันตีว่า API สามารถจัดการการเชื่อมต่อและใช้เทคนิคแก้ปัญหาข้อบกพร่องด้านเครือข่ายไว้เรียบร้อยแล้ว ซึ่งทำให้นักพัฒนาสามารถให้ความสนใจกับการพัฒนาแอปพลิเคชันของตัวเองได้เต็มที่
       
       ยังมี Datastore API ชุดเครื่องมือสำหรับการเก็บข้อมูลที่นอกเหนือจากไฟล์ เช่น รายการชื่อบัญชีผู้ติดต่อ (contact), รายการภารกิจที่ต้องทำ (to-do item) และระดับเกมที่เล่นค้างไว้ (game states) รวมถึง Drop-Ins หน้าตาโปรแกรมกึ่งสำเร็จรูปที่ดร็อปบ็อกซ์การันตีว่าสามารถแสดงผลได้ข้ามแพลตฟอร์ม โดยนักพัฒนาสามารถนำไปใช้กับแอปพลิเคชันของตัวเองในเวลาไม่กี่นาที
       
       ที่น่าสนใจคือ เครื่องมือกลุ่ม “Chooser” ซึ่งทำให้เว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันสามารถเข้าสู่ไฟล์บนดร็อปบ็อกซ์ได้โดยตรง และเครื่องมือกลุ่ม “Saver” ซึ่งทำให้ผู้ใช้สามารถคลิกบันทึกข้อมูลลงในดร็อปบ็อกซ์ได้จากการคลิกครั้งเดียว โดยทั้ง 2 ชุดเครื่องมือถูกนำมาติดตั้งในบริการ Yahoo Mail ฟรีอีเมลของยาฮูแล้วในขณะนี้
       
      ดร็อปบ็อกซ์ระบุว่า ชุดเครื่องมือทั้งหมดสามารถทำงานบนอุปกรณ์แอนดรอยด์และไอโอเอสได้แล้วในขณะนี้ โดยปัจจุบันแอปพลิเคชันมากกว่า 1 แสนแอปนั้นทำงานบนแพลตฟอร์ม Dropbox Platform แล้วในขณะนี้ ทั้งบริการจัดการรหัสผ่านอย่าง 1Password, แอปพลิเคชันช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงาน CloudOn และบริการเพื่อการทำงานร่วมกันจากระยะไกล Asana ฯลฯ ซึ่งหลังจากการเปิดตัวอย่างเป็นทางการครั้งนี้ เชื่อว่า Dropbox Platform จะขยายอิทธิพลมากกว่านี้แน่นอน

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)


Related Topics

  Subject / Started by Replies Last post
0 Replies
1344 Views
Last post March 14, 2012, 03:12:16 PM
by Nick
0 Replies
4474 Views
Last post May 02, 2012, 08:47:46 PM
by Nick
0 Replies
1361 Views
Last post July 11, 2012, 01:40:33 PM
by Nick
0 Replies
1312 Views
Last post July 12, 2012, 12:32:23 AM
by Nick
0 Replies
1677 Views
Last post July 18, 2012, 01:32:38 PM
by Nick
0 Replies
1669 Views
Last post August 01, 2012, 01:17:55 PM
by Nick
0 Replies
1394 Views
Last post November 14, 2012, 02:50:53 PM
by Nick
0 Replies
1349 Views
Last post November 27, 2012, 08:29:04 PM
by Nick
0 Replies
1397 Views
Last post December 17, 2012, 01:15:09 PM
by Nick
0 Replies
859 Views
Last post July 01, 2021, 12:58:21 AM
by siamwebsite