Author Topic: เสวนาชำแหละร่างปรับแก้ พ.ร.บ.คอมฯ เพื่อประชาชนหรือเพื่อใคร?  (Read 740 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ร่วมกับชมรมนักข่าวสายไอที จัดเสวนา ระดมความเห็นต่อร่างแก้ไข พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ 28 มิ.ย.นี้ ก่อนประมวลข้อเสนอแนะยื่นต่อรัฐบาล
       
       นายนิรันดร์ เยาวภาว์ นายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ เปิดเผยว่า สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ และชมรมนักข่าวสายเทคโนโลยีสารสนเทศ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย มีกำหนดจัดงานเสวนาในหัวข้อ “พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ปรับร่างเพื่อประชาชน?” ในวันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน 2556 นี้ เวลา 9.00 – 12.00 น. ณ ห้องประชุมพุทธคยา ชั้น 22 อาคารอัมรินทร์พลาซ่า เพื่อประเมินสภาพปัญหาการบังคับใช้ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 พร้อมทั้งพิจารณาแนวทางการปรับปรุงกฎหมายให้สอดรับต่อการนำไปใช้ตามหลักสากลโดยไม่เกิดผลกระทบในด้านสิทธิ เสรีภาพ และความมั่นคง ในการเข้าใช้สื่อออนไลน์ รวมถึงการมีส่วนร่วมจากภาคส่วนต่างๆ ต่อการพิจารณาปรับปรุงกฎหมาย โดยหลังจากเสร็จสิ้นการเสวนาแล้ว ทางสมาคมฯ และชมรมนักข่าวสายเทคโนโลยีสารสนเทศฯ จะทำการประมวลข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแก้ไข พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ เพื่อนำเสนอต่อรัฐบาลต่อไป
       
       ทั้งนี้ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กำลังผลักดันการแก้ไข พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 เพื่อให้ครอบคลุมรูปแบบการกระทำผิดจากเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่กฎหมายเดิมไม่ครอบคลุม รวมถึงสร้างสมดุลระหว่างสิทธิในการแสดงความเห็นและสิทธิความเป็นส่วนตัว โดยได้มีการเปิดรับฟังความเห็นมาแล้ว 2-3 รอบ และคาดว่าจะนำร่างแก้ไข พ.ร.บ.ดังกล่าวเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาได้ภายในเดือน ก.ค.นี้ ก่อนจะส่งร่างให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาในรายละเอียดแล้วนำเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาต่อไป
       
       อย่างไรก็ตาม การเปิดรับฟังความคิดเห็นต่อร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ที่ผ่านมา ยังไม่เป็นที่รับรู้ของประชาชนในวงกว้างเท่าที่ควร และเมื่อพิจารณาถึงเนื้อหาของร่าง พ.ร.บ.ที่จัดทำออกมาแล้ว มีหลายประเด็นที่อาจก่อให้เกิดปัญหาทางปฏิบัติ อาทิ การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น ไม่ว่าจะมีมาตรการป้องกันการเข้าถึงหรือไม่ ให้ถือว่ามีความผิดด้วย จากเดิมที่ต้องเป็นการเข้าถึงระบบที่มีการป้องกันไว้เท่านั้นจึงจะถือเป็นความผิด การทำซ้ำข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น ซึ่งเป็นความผิด อาจซ้ำซ้อนกับ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ และมีความไม่ชัดเจน เพราะทุกครั้งที่เปิดเว็บไซต์ ระบบจะมีการทำซ้ำ ถือเป็นความผิดหรือไม่ รวมทั้งประเด็นความรับผิดของผู้ให้บริการหรือตัวกลาง ซึ่งมักจะถูกเจ้าหน้าที่ผลักภาระมาให้ นอกจากนี้ในร่างฯ ฉบับใหม่ยังให้อำนาจเจ้าพนักงานสามารถสั่งให้ผู้ให้บริการระงับการเผยแพร่ได้ด้วย จากเดิมการระงับการเผยแพร่ต้องผ่านการวินิจฉัยของศาล เป็นต้น

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)