Author Topic: ซีอีโอไอที-สื่อสาร ประสานเสียงกู้วิกฤติ  (Read 764 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai

"กรุงเทพไอที" สะท้อนมุมมองของตัวแทนผู้บริหารจากอุตสาหกรรมไอที-สื่อสาร กับวิกฤติการเมืองที่เกิดขึ้น



ปฏิเสธไม่ได้ว่า "วิกฤติการเมือง" ระลอกนี้ส่งผลกระทบเป็นลูกคลื่นขนาดยักษ์ที่แทบไม่ต่างอะไรกับสึนามิทางการ เมืองที่ถาโถมเข้าไปฝูงชนในประเทศอย่างทั่วถึง หากแต่ทะเลหลังคลื่นสงบย่อมสวยงามเสมอ และก็อาจจะได้เห็นทะเลในมุมมองใหม่ที่ธรรมชาติให้กลับคืนมาอย่างที่วิกฤติใน ครั้งนี้ก็ได้เปลี่ยนมุมมองให้ธุรกิจไอที-สื่อสารด้วยเช่นกัน
 
"กรุงเทพ ไอที" ได้มีโอกาสสะท้อนมุมมองของตัวแทนผู้บริหารจากอุตสาหกรรมไอที-สื่อสารที่ เริ่มแสดงบทบาทในการเข้าไปมีส่วนร่วมพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาสได้อย่างชัดเจน มากขึ้น

อินเทล - ทำธุรกิจต้องจริงใจ
"การ ดึงความสนใจของผู้บริโภคกลับเข้าสู่ภาวะปกติ นั่นหมายถึงความคิดที่จะทำให้เกิดการซื้อขายอีกครั้ง เพราะที่ผ่านมาทุกคนจดจ่อกับเหตุการณ์บ้านเมือง จนไม่อยากคิดถึงเรื่องอื่นๆ" คือความท้าทายที่สุดในมุมมองของบอสใหญ่อินเทล "เอกรัศมิ์ อวยสินประเสริฐ" กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด
 
วันนี้แม้ภาพของตลาดไอทีไทยจะยังไม่ชัดเจนจาก สถานการณ์ที่เกิดขึ้น หากแต่อินเทลก็ยังเชื่อมั่นว่าภายใต้ ความไม่แน่นอนทางการเมือง การดำเนินธุรกิจจำเป็นต้องมีความต่อเนื่อง โดยเท่าที่ผ่านมา หรือเหตุการณ์ครั้งนี้ก็ทำให้เห็นว่าภายใต้สถานการณ์ที่ไม่มีความแน่นอน การทำธุรกิจด้วยความจริงใจ และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันจะเป็นฐานสำคัญในการพยุงตลาด เพราะทุกฝ่ายต้องอาศัยความไว้วางใจและการสื่อสารที่ต่อเนื่องเพื่อตั้งแผน รองรับและการดำเนินการในช่วงต่อไป
 
เขาระบุว่า ขณะนี้อินเทลยังอยู่ในขั้นตอนการประ เมิณสถานการณ์ผลกระทบต่างๆ ที่เกิดขึ้น แต่สิ่งสำคัญที่สามารถดำเนินได้เลยคือ ช่วยกันปลุกตลาดให้เกิดการซื้อขายขึ้น โดยสื่อสารตรงไปยังผู้บริโภคผ่านกิจกรรมทางการตลาดต่างๆ
 
พร้อมทั้ง เร่งจัดการพบปะอบรมเจ้าของกิจการและพนักงาน ทั้งนี้เพื่อนำเสนอช่องทางและข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์ในการดำเนินกิจการต่อ ไป โดยยังเป็นการเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือแม้กระทั่งการเสนอข้อสนับสนุนต่างๆ ที่บริษัทอาจให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมได้
 
"เป้าหมายที่เราตั้งไว้ หากจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ เรายังคงต้องประเมินสถาณการณ์ต่อไปก่อนที่จะสรุปได้" ผู้บริหารอินเทลกล่าว

ไมโครซอฟท์ไม่เปลี่ยนแผนลงทุน
นาง สาวปฐมา จันทรักษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด บอกว่า ขณะนี้ไมโครซอฟท์กำลังเตรียมแผนงาน สำหรับปีงบประมาณ 2554 ซึ่งจะเริ่มเดือนกรกฎาคมนี้ โดยตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ไมโครซอฟท์มองว่าประเทศไทยเป็น ประเทศที่มีโครงสร้างและการใช้จ่ายด้านไอทีที่ดี และยังคงยืนยันว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุนในประเทศไทยที่ได้ดำเนิน มาอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งมีส่วนร่วมฟื้นฟูและพัฒนาประเทศ โดยเน้นที่การลดช่องว่างทางสังคมและสร้างโอกาสทางสังคม รวมถึงด้านการศึกษา และสนับสนุนแนวทางการดำเนินงานของรัฐบาล
 
ทั้งนี้ หลังจากสถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติ ไมโครซอฟท์ได้ส่งทีมงานเข้าไปพูด คุยกับคู่ค้าเกี่ยวกับผลกระทบที่ได้รับจากเหตุการณ์ดังกล่าว เพื่อประเมินแนวทางการให้ความช่วยเหลือ โดยจะเน้นแนวทางหลักๆ ดังนี้ คือ จัดโปรโมชั่นส่งเสริมการขายให้คู่ค้ากลุ่มร้านค้ารีเทลเลอร์ ให้ความช่วยเหลือคู่ค้าที่ได้รับผลกระทบโดยตรง ให้สามารถกลับมาดำเนินธุรกิจได้ตามปกติอย่างเร็วที่สุด นำเทคโนโลยีและการถ่ายโอนความรู้ของไมโครซอฟท์เข้าไปช่วยเหลือคู่ค้า ให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง
 
เธอ บอกว่า แม้สถานการณ์การเมืองที่ไม่ปกติ แต่ไมโครซอฟท์มีแนวคิดที่ว่า ธุรกิจต้องสามารถดำเนินต่อไปได้ แม้ในภาวะวิกฤติหรือเกิดเหตุการณ์ไม่ปกติ ซึ่งเทคโนโลยีคือปัจจัยที่สามารถช่วยขับเคลื่อนให้เกิดการดำเนินธุรกิจได้ อย่างต่อเนื่อง ดังจะเห็นได้ว่าหลายบริษัทและองค์กร หรือแม้กระทั่งไมโครซอฟท์เองได้ปิดออฟฟิศและให้ พนักงานทำงานจากที่บ้าน เพื่อความปลอดภัยของพนักงาน โดยได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีของไมโครซอฟท์ที่เอื้อต่อการสื่อสาร และยังคงสามารถส่งข้อมูลและติดต่อธุรกรรมถึงกันได้ในทุกที่ทุกเวลา ที่เรียกว่า Anywhere, Anytime, Any device
 
"เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญ ในปัจจุบัน โดยเฉพาะการรายงานข่าวและอัพเดทสถานการณ์ อีกทั้งคำแนะนำเกี่ยวกับการเดินทางในช่วงที่สถานการณ์ไม่ปกติ การสื่อสารในโซเชี่ยล เน็ตเวิร์ค และข้อมูลต่างๆ ที่ผู้ใช้โพสต์ในโซเชี่ยล มีเดีย ได้แสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการสื่อสารในยุคดิจิทัล ปัจจุบัน และที่สำคัญที่สุด ไมโครซอฟท์เชื่อว่าไอที หากนำไปใช้อย่างเหมาะสม จะมีบทบาทสำคัญในการช่วยฟื้นฟูภาคธุรกิจในประเทศได้ในระยะเวลาอันสั้น"

ยืนยันเชื่อมั่นประเทศไทย
จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น นี้ เธอมองว่า ไม่ได้เป็นเพียงความท้าทายของไมโครซอฟท์ แต่เป็นของทุกคนในประเทศไทยที่ควรร่วมกันผลักดัน นั่นก็คือ Disaster Recovery ซึ่งรวมถึงการเรียกความเชื่อมั่นกลับคืนมา ความเชื่อมั่นว่าด้วยความร่วมมือกันของทุกภาคส่วนจะช่วยให้เกิดการฟื้นฟู ประเทศได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
 
"เรามองว่าการสร้างความ เชื่อมั่นต้องเริ่มที่ตัวเราเองก่อน ซึ่งตรงจุดนี้ไมโครซอฟท์มีความเชื่อมั่นใน ศักยภาพของคนไทยและทรัพยากรต่างๆ ในประเทศ นอกจากนี้ ในแง่ภาพรวมเศรษฐกิจไม่เพียงแต่ไมโครซอฟท์เท่านั้นที่เชื่อมั่น ว่าเศรษฐกิจไทยจะยังคงเป็นไปในทิศทางที่ดี เนื่องจากธนาคารแห่งประเทศไทยยังคงตัวเลขคาดการณ์อัตราเติบโตทางเศรษฐกิจไว้ ที่ 4.3 ถึง 5.8% และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ออกมาประกาศเมื่อ 19 พ.ค. หลังเหตุการณ์ทางการเมืองได้ยุติลง ว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจปีนี้อาจจะลดลง 0.5%"
 
อย่างไรก็ตาม เธอเชื่อมั่นว่า ไอทีจะเข้ามามีบทบาทที่สำคัญอันจะนำพาให้ประเทศไทยให้กลับมาเป็นศูนย์กลาง การค้าที่สำคัญในภูมิภาคเอเชียได้

เดลล์- ความต่อเนื่องคือหัวใจสำคัญ
นายอโณทัย เวทยากร กรรมการผู้จัดการบริษัท เดลล์ คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า หากมองในฐานะคนไทยคนหนึ่ง ภาพของประเทศในขณะนี้กำลังประสบภาวะที่ "เงินทุน" ไหลออกไปต่างชาติมากขึ้น โดยเฉพาะเวียดนาม หรือแม้แต่กัมพูชา ซึ่งเห็นได้จากมีธุรกิจใหม่ๆ เกิดขึ้นมาก
 
ดังนั้นสิ่งที่ต้องเร่งทำให้ตอนนี้คือ การแก้ปัญหาการเมืองให้เร็วที่สุด เพราะเป็นปัจจัยกระทบที่สำคัญที่สุดในขณะนี้ที่ขัดขวางการเติบโตของประเทศ
 
"สิ่ง ที่เกิดขึ้นตอนนี้ก็ยังพอมองเป็นบวกได้บ้าง เพราะเราเชื่อว่าในวิกฤติก็ยังมีโอกาส ดูจากดีมานด์ของตลาดที่ก็ยังไม่ได้ลดลง ซึ่งถ้าเราแก้ปัญหา (การเมือง) ตรงนี้ได้ก็น่าจะทำให้อะไรๆ ดีขึ้น" นายอโณทัยกล่าว
 
พร้อมกับเผยว่า ในช่วงที่เกิดสถานการณ์รุนแรงเห็นได้ชัดว่า บริการที่ช่วยทำให้เกิดความต่อเนื่องทางธุรกิจได้กลายเป็นโซลูชั่นที่ได้รับ ความนิยมมากขึ้น
 
เขาระบุว่า เดลล์มีมาตราการในการดำเนิน ธุรกิจทั้งระยะสั้น คือ ช่วงที่เกิดเหตุการณ์ไม่ปกติบริษัทก็จะยืดหยุ่นการทำธุรกิจกับลูกค้า รวมทั้งช่วยสนับสนุนการทำงานของลูกค้าให้ยังดำเนินต่อเนื่องไปได้
 
ขณะ เดียวกันก็มีมาตรการระยะยาว โดยนำเสนอในรูปแบบแพ็คเกจต่างๆ เพื่อช่วยเหลือลูกค้า เช่น โซลูชั่น "ไครซิส แมเนจเมนท์" ภายใต้คอนเซ็ปต์คลาวด์ เซอร์วิส และ "อีเมล คอนตินิวตี้ (E-mail continuity) เพื่อให้องค์กรของลูกค้ายังสามารถใช้ระบบสื่อสารและข้อมูลต่างๆ ได้อย่างปกติ
 
"ตลาดบริการ เช่น คลาวด์ เซอร์วิสจะเป็นตลาดใหม่ของเดลล์ในปีนี้ ซึ่งเราเริ่มมาก่อนที่จะเกิดวิกฤติแล้ว แต่พอมีเหตุการณ์เข้ามาย้ำทำให้ลูกค้าบางรายที่ไม่เคยคิดจะวางแผนสำรอง ข้อมูล หรือระบบงานต่างๆ มาก่อนก็เริ่มหันมาถามหาโซลูชั่นลักษณะนี้มากขึ้น" ผู้บริหารเดลล์ กล่าว
 
นอกจากนี้ปี นี้ยังเป็นปีที่ท้าทายของเดลล์ หลังจากควบกิจการบริษัท "เพโร (Perot)" ในปีที่ผ่านและเริ่มจะเข้ามามีบทบาทให้เดลล์ขยับจากองค์กรที่เน้นการขาย ฮาร์ดแวร์ได้ก้าวสู่การเป็นองค์กรแอพพลิเคชั่นได้อย่างเต็มตัวในปีนี้
 
รัฐ ต้องเร่งปฏิรูปความเท่าเทียม
ผลกระทบที่เกิดขึ้นนี้ บริษัทขนาดใหญ่ของอุตสาหกรรมมูลค่าแสนล้านบาท อย่าง บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) ก็ได้รับเช่นกัน นาย วิเชียร เมฆตระการ หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่ผู้บริหาร เล่าว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับเอไอเอส และพาร์ทเนอร์ ประกอบด้วย ช่องทางการจัดจำหน่าย ซึ่งแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ร้านเทเลวิซ  3 แห่ง ที่สาขาเซ็นทรัลเวิลด์, บิ๊กซี ราชดำริ และเซ็นเตอร์ วัน กลุ่มที่ 2 ผู้ค้ารายย่อย หรือลูกตู้อีกหลายราย ในห้างสรรพสินค้าทั้ง 3 แห่งเช่นกัน
 
กลุ่มที่ 2. สำนักงานบริการเอไอเอส และเซเรเนดคลับ ที่เซ็นทรัลเวิลด์ไม่เสียหาย แต่อาจถูกงัดแงะบ้าง ซึ่งต้องรอการเข้าไปร่วมทำงานกับเซ็นทรัลเวิลด์เพื่อประเมินความเสียหายต่อ ไป เพราะขณะนี้ทางเซ็นทรัลเวิลด์ก็ยังไม่สามารถเข้าไปประเมินความเสียหายได้ เช่นกัน
 
กลุ่มที่ 3. เครือข่ายที่เป็นพิโก เซลล์ ในห้างสรรพสินค้าทั้ง 3 แห่งได้รับความเสียหาย แต่ ณ ขณะนี้บริเวณภายนอกของพื้นที่ทั้ง 3 ห้างสามารถใช้งานได้ตามปกติแล้ว
 
แน่ นอนว่า ความเดือดร้อนครั้งนี้ หลายคน หลายส่วนต้องช่วยกันรับผิดชอบ ฟื้นฟู ในส่วนของเอไอเอสก็เช่นกัน แม้จะได้รับความเสียหายด้วย แต่ก็กำลังพิจารณาช่วยเหลือลูกค้าและตัวแทนจำหน่ายที่ได้รับผลกระทบอยู่ คาดว่าจะเผยมาตรการได้ในเร็วๆ นี้
 
"รัฐบาลควรต้องดำเนินการอย่าง เร่งด่วนในการปฏิรูปการเมือง ไม่ทำให้มวลชนรู้สึกถึง Treatment ที่ไม่เท่าเทียม หรือ Double Standard เพราะความเชื่อมั่นต่อประเทศที่ลดลงจนถึงปัจจุบันเกิดจากปัญหาทางการเมือง มิใช่การด้อยศักยภาพทางการแข่งขันทางเศรษฐกิจ โดยในส่วนของภาคเอกชนนั้นพร้อมทุกอย่างที่จะดำเนินธุรกิจตามแผนงานอย่างเต็ม ที่" นายวิเชียร แสดงความเห็นถึงแนวคิดที่จะทำให้ประเทศชาติสามารถเดินหน้าจากนี้ต่อไปได้

เทเลนอร์ลั่นลงทุนต่อ
ขณะที่ นายทอเร่ จอห์นเซ่น ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) กล่าวว่า อุตสาหกรรมโทรคมนาคมของไทยปีนี้น่าจะยังเติบโตต่อไป โดยตัวเลขจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือรายใหม่ (new Net Add) น่าจะมีประมาณ 3-4 ล้านเลขหมาย
 
ทั้งนี้ บริษัทจะให้ความสำคัญกับการเติบโตของรายได้ และการบริหารค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมๆ กับการรักษาฐานลูกค้าคุณภาพ รวมถึงรักษากระแสเงินสดไว้ที่ 1.6 หมื่นล้านบาทให้ได้ และเมื่อเปิดประมูลไลเซน 3จี ดีแทคก็พร้อมจะเข้าร่วมประมูล ทันที ส่วนปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้น ดีแทคไม่ได้รับผลกระทบโดยตรง เท่าไรนัก
 
เขาระบุว่า ดีแทคยังดำเนินการ และให้บริการได้ปกติ ตามที่ได้วางแผนไว้ในช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์ ส่วนจำนวนนักท่องเที่ยวมีลดน้อยลงอาจมีผลต่อรายได้ของธุรกิจโรมมิ่ง ก็ต้องขึ้นกับว่ากลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติจะเรียกความมั่นใจด้านความ ปลอดภัยกลับมาประเทศไทยได้เร็วแค่ไหน สำหรับดีแทค เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ส่งผลกระทบใดๆ ต่อแผนการดำเนินงาน และการลงทุนที่วางไว้ในปีนี้
 
"จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้ทำให้ เทเลนอร์ต้องทบทวนแผนการลงทุนในประเทศไทย และดีแทคแต่อย่างใด" นายทอเร่ กล่าว

 
ที่มา: bangkokbiznews.com


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)