Author Topic: วาล์ว ซุ่มวิจัยระบบวัดอารมณ์ขณะเล่นเกม  (Read 609 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46027
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


   นักจิตวิทยาของสตูดิโอผู้สร้างฮาล์ฟไลฟ์ ออกมาเปิดเผยการทดลองระบบรับข้อมูลทางชีวภาพแบบใหม่ที่จะเข้ามามีบทบาทกับการเล่นเกมในยุคอนาคต ด้วยการตรวจจับสายตาและวัดปริมาณเหงื่อเพื่อประเมินออกมาเป็นความรู้สึกของผู้เล่นในขณะนั้น

       ในงาน NeuroGaming Conference and Expo ที่จัดขึ้นเมื่อสัปดาห์ก่อน ทาง "Mike Ambinder" นักวิจัยผู้เชี่ยวชาญทางจิตวิทยาของบริษัทวาล์ว ซอฟต์แวร์ ได้ขึ้นมากล่าวถึงเทคโนโลยีสำหรับการเล่นเกมในอนาคตที่ทางสตูดิโอกำลังพัฒนากันอยู่ โดยใช้การรับข้อมูลทางชีวภาพของผู้เล่นมาประยุกต์ใช้กับการเล่นเกม
       
          "สิ่งหนึ่งที่ทางเราให้ความสนใจอย่างมาก นั่นก็คือแนวคิดเรื่องผลตอบกลับทางชีวภาพ กับวิธีที่จะนำมันมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบเกม ซึ่งทั้งสองสิ่งนี้ล้วนมีความสำคัญสำหรับการใช้สัญญาณทางชีวภาพเพื่อบ่งบอกสภาวะทางอารมณ์ของผู้คนในขณะที่กำลังเล่นเกม" Ambinder กล่าว
       
          ซึ่งวาล์ว ได้เริ่มด้วยการทดสอบวัดปริมาณเหงื่อของผู้เล่นในระหว่างเล่นเกม "Left 4 Dead" แล้วนำไปเปรียบเทียบกับระดับตื่นตัวทางอารมณ์ของคนทั่วไป เพื่อมาเปลี่ยนแปลงประสบการณ์การเล่นเกมให้สนุกยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ในกรณีของผู้เล่นหน้าใหม่ที่เกิดความกังวลกลัวเล่นเกมไม่ผ่านจะมีความตื่นเต้นมากกว่าปกติและมีเหงื่อออกมาก ซึ่งเมื่อได้รับข้อมูลดังกล่าวตัวเกมก็จะเปลี่ยนระดับความยากของเกมให้ง่ายขึ้น เป็นต้น
       
          "ทางเราได้ทดลองกำหนดเงื่อนไขในฉากให้ผู้เล่นยิงกำจัดศัตรู 100 ตัวให้หมดภายใน 4 นาที ซึ่งหากคนที่เล่นเคยมีประสบการณ์เกมแนวนี้มาก่อนคงทำได้ไม่ยาก และเล่นด้วยอารมณ์ที่สงบนิ่งไม่เสียเหงื่อสักหยด ตัวเกมก็จะดำเนินไปอย่างปกติ แต่กลับกันถ้าหากว่าคนที่เล่นเป็นมือใหม่จะเกิดอาการตื่นเต้นเหงื่อออกมาก ระบบก็จะบังคับให้ศัตรูในเกมตายง่ายขึ้น ส่งผลให้เวลาที่ใช้ในการกำจัดศัตรูแต่ละตัวน้อยลง"

       นอกจากนี้วาล์ว ยังได้มีการทดลองใช้การตรวจจับสายตาของผู้เล่นหรือ Eye-Tracking โดยได้สร้างเกม "Portal 2" เวอร์ชันพิเศษตัวต้นแบบขึ้นมา ซึ่งตัวเกมสามารถปฏิสัมพันธ์ปรับเปลี่ยนไปตามการเคลื่อนไหวของดวงตา แต่น่าเสียดายที่การวิจัยทั้งหมดของทางสตูดิโอในขณะนี้ยังคงอยู่ในขั้นตอนการทดลองเท่านั้น และคงอีกไกลกว่าจะได้เห็นเป็นรูปเป็นร่าง
       
          "ที่น่าสนใจมากไปกว่าแนวคิด นั่นคือสิ่งต่างๆที่คุณสามารถสร้างได้ เมื่อคุณรู้จักวิธีประยุกต์ใช้สัญญาณชีวภาพลงไปในระบบเกมเพลย์ หากเราทำสิ่งนั้นได้ เราก็จะสามารถเข้าถึงข้อมูลที่มีอยู่มากมายทั้งหมด" Ambinder กล่าวทิ้งท้าย
       
       ข้อมูลและภาพประกอบจาก   
       gamespot
       joystiq
       venturebeat

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)