Author Topic: “เทคโนโลยีวิเคราะห์ใบหน้า” ไม่ได้ช่วยระบุตัวมือระเบิดบอสตัน  (Read 667 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


2 พี่น้องซาร์เนฟ ผู้ต้องสงสัยก่อเหตุระเบิดในบอสตัน มาราธอน

    “เทคโนโลยีวิเคราะห์ใบหน้า” ถูกทำลายความน่าเชื่อถือยับเยินเมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจบอสตันเปิดเผยว่าความสำเร็จในการระบุตัวผู้ต้องสงสัยก่อเหตุระเบิดในบอสตัน มาราธอน เมื่อต้นสัปดาห์ที่แล้วนั้นไม่ได้มาจากเทคโนโลยีวิเคราะห์ภาพใบหน้าแม้แต่น้อย เนื่องจากซอฟต์แวร์ไม่สามารถบอกชื่อจากภาพผู้ต้องสงสัยได้ แม้ว่าจะมีภาพผู้ต้องสงสัยอยู่ในฐานข้อมูลของทางการสหรัฐฯ แล้วก็ตาม
       
       หลังจากเจ้าหน้าที่ตำรวจสหรัฐฯ สามารถจับกุมผู้ต้องสงสัยก่อเหตุระเบิดในบอสตัน มาราธอน เมื่อต้นสัปดาห์ที่แล้ว จนรายหนึ่งถูกยิงเสียชีวิตและอีกรายอาการสาหัส ล่าสุด เอ็ดเวิร์ด ดาวิส เจ้าหน้าที่ตำรวจบอสตัน ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าววอชิงตันโพสต์ ว่า กล้องวิดีโอวงจรปิดในงาน “บอสตัน มาราธอน” นั้นสามารถเก็บภาพผู้ต้องสงสัยได้ชัดเจน แต่ซอฟต์แวร์วิเคราะห์ใบหน้าไม่สามารถบอกชื่อหรือตัวตนของผู้ต้องสงสัยจากภาพได้ ไม่ว่าจะค้นหาด้วยภาพใบหน้าของผู้ต้องสงสัยหลายภาพ และบนหลากฐานข้อมูล
       
       เจ้าหน้าที่ตำรวจบอสตันเปิดเผยว่า โซการ์ ซาร์เนฟ ผู้ต้องสงสัยก่อเหตุระเบิดในบอสตัน มาราธอน (วัย 19 ปี) นั้นมีใบขับขี่ที่ออกโดยรัฐแมสซาชูเซตส์ ขณะที่ ทาเมอร์ลัน ซาร์เนฟ ผู้ต้องสงสัยผู้พี่ที่ถูกยิงเสียชีวิตแล้วก็เคยถูกเอฟบีไอสอบสวนในปี 2011 แต่การค้นหาชื่อจากภาพผู้ต้องสงสัยกลับไม่ปรากฏในซอฟต์แวร์ของกรมตำรวจสหรัฐฯ ซึ่งถือว่าเป็นอีกกรณีศึกษาที่แสดงช่องโหว่ของเทคโนโลยีวิเคราะห์ใบหน้าในปัจจุบัน
       
       ทั้งหมดนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจสหรัฐฯ ย้ำว่า ผู้เชี่ยวชาญด้านนิติเวชของสหรัฐฯ มากกว่า 10 ราย ได้ใช้เวลาหลายวันวิเคราะห์วิดีโอจากกล้องวงจรปิดความยาวหลายร้อยชั่วโมง และภาพนิ่งหลายพันภาพซึ่งถ่ายไว้ได้บริเวณคลังสินค้าท่าเรือบอสตันแบบเรียงลำดับเหตุการณ์ โดยเจ้าหน้าที่ 1 รายจะชมภาพในวิดีโอจากพื้นที่เดียวกันมากกว่า 400 รอบ ซึ่งเมื่อนำภาพผู้ต้องสงสัยที่ได้มาประมวลผลในซอฟต์แวร์วิเคราะห์ใบหน้า กลับไม่สามารถระบุชื่อคนร้ายได้อย่างที่ต้องการ
       
       ท้ายที่สุดแล้ว วิธีการดั้งเดิมอย่างการขอความร่วมมือจากประชาชนกลับทำให้เจ้าหน้าที่สามารถระบุตัวผู้ต้องสงสัยได้รวดเร็ว โดยทีมสอบสวนเผยแพร่ภาพของพี่น้องซาร์เนฟ ผู้ต้องหาในคดีนี้จำนวนหลายภาพตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่ 18 เมษายนที่ผ่านมา จนได้รับโทรศัพท์จากญาติผู้ต้องสงสัยซึ่งเป็นผู้เปิดเผยชื่อของทั้งคู่
       
       กรณีที่เกิดขึ้นถือเป็นสิ่งที่สวนทางกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีด้านการปราบปรามอาชญากรรม จุดนี้สื่ออเมริกันยอมรับว่าสำนักงานตำรวจหลายแห่งได้ลดความสำคัญในการพึ่งพาซอฟต์แวร์วิเคราะห์ใบหน้าเพื่อระบุตัวคนร้าย รวมถึงสำนักงานตำรวจเมืองซานโฮเซ ซึ่งตั้งอยู่ในใจกลางแหล่งที่ตั้งบริษัทไอทีอเมริกัน Silicon Valley ที่ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวซานโฮเซเมอร์คิวรีนิวส์ ว่ายังไม่มีแผนใช้งานเทคโนโลยีวิเคราะห์ใบหน้าในขณะนี้
       
       อย่างไรก็ตาม อนิล เจน ศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมและนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์แห่งมหาวิทยาลัยรัฐมิชิแกน ยังคงเชื่อว่าหน่วยงานที่บังคับใช้กฎหมายจะนำเทคโนโลยีวิเคราะห์ใบหน้าไปใช้งานมากขึ้นในอนาคต โดยมองว่าอีก 5 ปีนับจากนี้จะมีการพัฒนาระบบวิเคราะห์ใบหน้าอัตโนมัติจากภาพถ่ายวิดีโอ รวมถึงพัฒนาการอื่นๆ ที่จะเกิดขึ้นในวงการวิเคราะห์ใบหน้าอีกมาก
       
       เอฟบีไอเองก็เคยประกาศว่าจะพัฒนาระบบวิเคราะห์และจดจำใบหน้าในปี 2014 สำหรับใช้กับหน่วยงานตำรวจที่ดูแลพื้นที่ด้านตะวันตกของสหรัฐฯ โดยเคน บิสคอฟฟ์ ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายข้อมูลชาวอเมริกันด้านตะวันตกหรือ Western Identification Network ยืนยันกับสำนักเมอร์คิวรีนิวส์ถึงความคืบหน้าด้านเทคโนโลยีเพื่อการสอบสวนในอนาคต

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)