Author Topic: ค่าโทร. 3G 2.1 GHz เหลือนาทีละ 83 สตางค์  (Read 678 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


      กสทช.เห็นชอบร่างค่าไอซี 3G ชั่วคราวนาทีละ 45 สตางค์ ให้ใช้ไปก่อน 1 ปี ก่อนประกาศอัตราถาวรหลังทำประชาพิจารณ์เสร็จ ส่วนการลดค่าบริการ 3G เตรียมเสนอกทค.ปลายก.พ.นี้ โดยทำได้ 2 รูปแบบคือลดค่าโทร.15% เหลือนาทีละ 83 สตางค์ หรือ เพิ่มผลประโยชน์ลูกค้า 15% แทน พร้อมเห็นชอบแนวทางสนับสนุนคูปอง ส่วนหลักเกณฑ์ประมูลทีวีดิจิตอลช่องธุรกิจเดินหน้าเปิดประชาพิจารณ์
       
       นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่าในการประชุมบอร์ดกสทช.เมื่อวันที่ 13 ก.พ. มีมติเรื่องค่าตอบแทนการเชื่อมโยงโครงข่ายโทรคมนาคมเป็นการชั่วคราว (อินเตอร์คอนเน็กชั่น ชาร์จ หรือ ไอซี) สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่โทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล (IMT) ย่านความถี่ 2.1 GHz  หรือ 3G แล้ว โดยกำหนดให้เป็นค่าไอซีชั่วคราวประกาศใช้เป็นเวลา 1 ปี หลังจากนั้นคาดว่าจะประกาศใช้ค่าไอซีอัตราถาวรในปี 2557 หลังจากรับฟังความเห็นสาธารณะ (ประชาพิจารณ์) แล้ว
       
       สำหรับอัตราค่าไอซีชั่วคราวมีดังนี้ อัตราสำหรับโทร.เข้า (Call Originate) นาทีละ 45 สตางค์ อัตราสำหรับโทร.ออก (Call Terminate) นาทีละ 45 สตางค์ และอัตราการเชื่อมต่อ (Call Transit) นาทีละ 6 สตางค์
       
       ทั้งนี้ในสัปดาห์หน้าสำนักงานกสทช.จะนำส่งร่างประกาศฯค่าไอซีไปประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งคาดว่าไม่เกินวันที่ 22 ก.พ.จะสามารถบังคับใช้ตามกฎหมายได้ต่อไป โดยการประกาศอัตราค่าไอซีสำหรับผู้ได้รับใบอนุญาต 3G 2.1 GHz จะประกาศใช้กับบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด บริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค จำกัด และบริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด
       
       นอกจากนี้กสทช.ยังได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อศึกษาการกำกับดูแลอัตราค่าตอบแทน เพื่อให้สามารถนำมาคำนวณต้นทุนเพื่อคิดอัตราค่าโทร.สำหรับการใช้บริการ 3G ซึ่งต้องถูกลงไม่ต่ำกว่า 15% จากอัตราโปรโมชั่นปัจจุบัน และเพื่อให้สอดคล้องกับการประกาศอัตราขั้นสูงสำหรับบริการด้านเสียงนาทีละ 99สตางค์
       
       'การกำหนดค่าไอซีในอัตรา 45 สตางค์ต่อนาทีนั้น จะเป็นตัวบีบให้การคิดโปรโมชั่นในแพกเกจ 3G ต้องถูกลงตามไปด้วย แต่สำหรับค่าไอซีชั่วคราวจะใช้กับผู้ที่ได้รับไลเซ่นส์ใหม่ก่อน เพราะในระบบสัญญาสัมปทาน 2G ต้องยอมรับว่าทั้ง 5 รายในตลาดมีต้นทุนที่ไม่เท่ากัน ดังนั้นจึงยากในการคิดต้นทุนค่าไอซี และการคิดค่าไอซีชั่วคราวสำหรับ 3G จะมีผลบังคับใช้ไปก่อนจนกว่าจะเปิดรับฟังประชาพิจารณ์เสร็จใน 6-7 เดือนข้างหน้า'
       
       ส่วนการคิดราคากลางโปรโมชันสำหรับแพคเกจ 3G นั้น สำนักงานกสทช.ได้ข้อสรุปเบื้องต้นแล้วว่า ราคากลางของอัตราค่าโทร.ในปัจจุบันจากจำนวน 600 แพกเกจที่มีอยู่ในตลาดมีราคาเท่ากับนาทีละ 97 สตางค์ และหากปรับลดราคา 15% ตามเจตนารมณ์ของกสทช.จะเท่ากับเหลือนาทีละ 83 สตางค์ ซึ่งสำนักงานกสทช.และคณะทำงานกำลังสรุปรายละเอียด และแนวทางเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการโทรคมนาคม (กทค.) ในปลายเดือนก.พ.นี้ ทั้งนี้จากการศึกษาพบว่าการลดราคาลง 15% อาจจะทำให้ลูกค้าสับสนในการสื่อสาร และการคิดต้นทุนก็ยังไม่ได้ข้อสรุปที่ตายตัว ดังนั้นสำนักงานกสทช.จะเสนอแนวทาง 2 รูปแบบคือ 1. ปรับลดราคาค่าโทร.ในระบบ 3G ลง 15% ตามที่บอร์ดได้ประกาศไป หรือ 2.เพิ่มผลประโยชน์ให้แก่ลูกค้าขึ้น 15% แทน
       
       คูปอง - หลักเกณฑ์ประมูลทีวีดิจิตอลธุรกิจผ่านฉลุย
       
       นายฐากร กล่าวอีกว่า ที่ประชุมบอร์ดกสทช.ยังมีมติเอกฉันท์เห็นชอบตามความเห็นของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์(กสท.) และกรรมการกองทุนฯ ที่ให้มีการจัดสรรเงินกองทุนวิจัย และพัฒนากิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม  เพื่อสนับสนุนในลักษณะเป็นคูปองเพื่อให้ประชาชนได้รับชมโทรทัศน์ระบบดิจิตอล โดยเห็นว่ามีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของกองทุน ส่วนรายละเอียดต่างๆ บอร์ดกสท.ต้องทำแผนอีกครั้ง อาทิ ประเด็นเรื่องการแจกอย่างไร มีกี่ครัวเรือน จำนวนเท่าไหร่ เป็นต้น
       
       ขณะเดียวกันที่ประชุมบอร์ดกสทช.ยังมีมติให้บอร์ดกสท.กลับไปปรับปรุงแก้ไขร่างหลักเกณ์และวิธีการคัดเลือกให้ใช้คลื่นความถี่ในกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์สำหรับการประกอบกิจการทางธุรกิจ พ.ศ. .... จากนั้นให้สามารถนำร่างฯดังกล่าวที่แก้ไขแล้วไปเปิดรับฟังความเห็นสาธารณะ(ประชาพิจารณ์)ได้ทันทีโดยไม่ต้องเข้าบอร์ดกสทช.อีกครั้ง
       
       นอกจากนี้ที่ประชุมลงมติ 6 ต่อ 5 เสียงเห็นด้วยกับการย้ายสำนักงานกสทช.ไปอยู่ที่ย่านแคราย ส่วนที่พหลโยธิน ซอย 8 จะใช้เป็นศูนย์ฝึกอบรม และสนับสนุนแทน โดยการจัดสร้างสำนักงานกสทช.แห่งใหม่นั้นกสทช.ได้จ้างสถานบันเทคโนฯลาดกระบังเป็นผู้ออกแบบบนเนื้อที่ 24 ไร่ ซึ่งเบื้องต้นคาดว่าจะสามารถสร้างแล้วเสร็จประมาณ  4 ปี
       
       Company Relate Link :
       กสทช.

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)