Author Topic: เผย 2 ทางเลือกหลังหมดสัมปทานมือถือ 1800 MHz  (Read 916 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


คณะอนุกรรมการเตรียมความพร้อมรองรับสัญญาสัมปทานความถี่ 1800 MHz ชี้แนวทางออกหลังหมดสัญญาสัมปทาน ให้ผู้ชนะประมูลดูแลต่อหรือดึงความถี่จาก ดีแทคที่ไม่ใช้งานคืนให้ กสทใช้งานชั่วคราว ด้านอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเผยกสทช.ควรส่งเสริมให้มีผู้ประกอบการเพิ่มขึ้น
       
       นางเดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผู้อำนวยการวิจัย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ในฐานะอนุกรรมการเตรียมความพร้อมรองรับสัญญาสัมปทานความถี่ 1800 MHz กล่าวถึงแนวทางออกหลังจากที่สัญญาสัมปทานให้บริการโทรศัพท์มือถือคลื่นความถี่ 1800 MHz กำลังจะหมดอายุในวันที่ 16 กันยายน 2556 นี้เป็น 2 ทางคือ ถ้าเปิดประมูลคลื่น 1800 MHz ทันก็ให้ผู้ชนะประมูลไปเจรจากับบริษัท กสท โทรคมนาคมเพื่อให้บริการต่อไป
       
       อีกแนวทางหนึ่งคือ ถ้ากสท ยืนยันว่าจะเป็นผู้ให้บริการต่อเนื่อง ก็ต้องถามกลับไปยังกสท ว่าจะนำคลื่นที่ไหนมาใช้ เพราะตามกฏหมายเขียนไว้ชัดเจนว่า ทางกสท ต้องคืนคลื่น 1800 MHz เพื่อให้กสทช.นำไปจัดประมูล ซึ่งทางคณะอนุกรรมการฯ เห็นว่า หาก กสท สามารถเจรจากับดีแทค เพื่อขอนำคลื่น 1800 MHz จำนวน 25 MHz ที่ดีแทค ถือครองแต่ไม่ได้ใช้งานกลับมาใช้งานชั่วคราวได้หรือไม่
       
       'เนื่องจากกสทช. ออกมาประกาศแล้วว่าคลื่น 1800 MHz ต้องคืน เพราะต้องนำมาทำการประมูล ดังนั้นก็ต้องมาหาทางคุ้มครองผู้บริโภคว่า 17 ล้านรายจะไปไหน และกสทช. ทราบหรือไม่ และอะไรจะเกิดขึ้น'
       
       นอกจากนี้คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม สำนักงานกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ยังเสนอ 5 แนวทางหลักในการคุ้มครองผู้บริโภคในกรณีการหมดอายุสัญญาสัปทานคลื่น 1800 ของบริษัท ทรูมูฟ และบริษัท ดิจิตอลโฟน ว่า 1. ทางกสทช.ต้องแจ้งให้ผู้บริโภคทราบว่าการให้บริการของทั้งสองบริษัทจะสิ้นสุดลงภายในวันที่ 15 กันยายน 2556 2. กสทช.ต้องมีมาตรการในการโอนย้ายลูกค้าที่ต้องการคงสิทธิเลขหมาย โดยให้ผู้ประกอบการเพิ่มขีดความสามารถในการโอนย้ายเลขหมายจากปัจจุบันที่ 4,000 เลขหมาย ให้ขึ้นไปเต็มประสิทธิภาพที่ 300,000 เลขหมายต่อวัน
       
       'ลูกค้าที่ใช้งานคลื่น 1800 MHz ของทรูมูฟในปัจจุบันมีอยู่ราว 17 ล้านราย ถ้าสามารถโอนได้ 4,000 เลขหมาย ต้องใช้เวลาถึง 10 กว่าปี ถ้าเพิ่มเป็น 40,000 รายก็ต้องใช้เวลา 425 วัน ดังนั้นถ้าสามารถเพิ่มขึ้นไปได้ถึง 300,000 เลขหมายก็จะสามารถโอนย้ายลูกค้าได้ทัน'
       
       3. ผู้ประกอบการต้องตรวจสอบรายชื่อผู้ใช้บริการที่ไม่ได้ลงทะเบียนทาง SMS เพื่อให้ทราบเจตจำนงค์ในการย้ายเครือข่าย 4. ผู้ประกอบการต้องระงับและปรับแพกเกจที่ผูกพันหลังสิ้นสุดสัญญา โดย กสทช. ให้ความเห็นชอบ ไม่เช่นนั้นต้องกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ให้บริการรายใหม่ต้องรับผิดชอบ แพกเกจ โดยเจรจาร่วมกับผู้ประกอบการรายเดิม
       
       5. ทางกสทช. ต้องออกประกาศหลักการในการโอนย้ายผู้ใช้บริการ (Migration Rules) ให้ครอบคลุมทั้งหลักการโอนย้ายผู้ใช้บริการที่ไม่เลือกปฏิบัติ หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ให้บริการที่สัญญาสัมปทานจะสิ้นสุดลง ,มีแผนการรองรับการโอนย้ายที่มีขั้นตอนและระยะเวลาชัดเจน ,วิธีการดำเนินการสำหรับลูกค้าที่ไม่ต้องการย้าย ,วิธีการโอนเงินคงค้างในระบบให้แก่ผู้ประกอบการใหม่ และแนวทางระงับข้อพิพาทที่เกิดจากการโอนย้าย
       
       นางเดือนเด่น ยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกว่า คณะอนุกรรมการฯ 1800 MHz ยังได้ศึกษาถึงแนวทางในการประมูลคลื่นที่จะเกิดขึ้นหลังจากการคืนของทรูมูฟ และดีพีซีว่า หากมีการคืนคลื่นความถี่รายละ 12.5 MHz ของทางทรูมูฟ และดีพีซี กลับมาก็จะมีการนำมาจัดสรรใหม่ และเปิดประมูลเพียง 20 MHz เท่านั้น ส่วนที่เหลือจะรอนำไปประมูลอีกครั้งตอนที่สัญญาสัมปทานของดีแทคหมดอายุลงในปี 2561
       
       'แม้ว่าการประมูล 1800 MHz ที่จะเกิดขึ้นในครั้งนี้จะเป็นช่วงคลื่นที่ไม่ติดกัน แต่ในสัญญาอาจจะมีการแนบท้ายว่า ถ้ามีการจัดประมูลคลื่น 1800 MHz อีกครั้งในปี 2561 ผู้ที่ชนะประมูลในครั้งนี้ สามารถเคลื่อนย้ายช่วงคลื่นให้ติดกันก็ได้'
       
       นางเดือนเด่น กล่าวต่อในฐานะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม ถึงแนวทางการคุ้มครองผู้บริโภคด้านโทรคมนาคมในยุค 3G และ 4G ว่า ปัญหาผู้บริโภคด้านโทรคมนาคม ที่ได้รับแจ้งมาส่วนใหญ่ก็เป็นเรื่องเดิมๆที่แก้ปัญหาไม่ได้สักที ดังนั้นแนวทางออกจึงไม่ใช่เป็นการไล่ตีหัวผู้ประกอบการ ด้วยการออกกฏมาแล้วแต่ไม่สามารถบังคับใช้ได้ แต่กสทช. ควรส่งเสริมให้มีผู้ประกอบการหลายรายในตลาด
       
       'ตามหลักเศรษฐศาสตร์ ต้องให้กลไกกดดันกันเอง เพื่อให้ได้ค่าบริการถูกลง และผู้บริโภคได้รับประโยชน์ แต่ถ้าเปิดแล้วไม่มีคนเข้ามาแข่งจริงๆ ก็ควรใช้การกำกับดูแล ซึ่งทางกสทช.ไม่เคย ใช้กลไกทางการตลาดเข้ามาควบคุมเลย มีแต่การกำกับดูแล'
       
       ทั้งนี้กสทช. ไม่เคยส่งเสริมหรือดำเนินการใดๆ ให้มีผู้ประกอบการมากกว่า 3 ราย ดูได้จากการกำหนดอัตราค่าเชื่อมต่อ Interconnection Charge (IC) ที่ปัจจุบันกำหนดไว้ในอัตรา 1 บาทต่อนาที แต่บังคับผู้ประกอบการขายแค่ 99 สตางค์ต่อนาที ก็เหมือนเป็นการปิดกั้นไม่ให้รายใดเข้ามาในตลาดนี้ นอกจากผู้ที่เป็นเจ้าของโครงข่ายซึ่งมีอยู่ 3 รายในปัจจุบัน
       
       'เพื่อให้มีโอกาสในการแข่งขันกสทช. ควรจะออกประกาศ 3 ฉบับ ทั้งเรื่องของการโรมมิ่ง กำหนดกติการการให้บริการเอ็มวีเอ็นโอ รวมถึงการประกาศสำหรับอินฟราสตรัคเจอร์แชร์ริ่ง เพราะอย่างในการประมูล 3G ที่กำหนดให้พื้นที่ให้บริการครอบคลุม 80% ภายใน 3 ปี เมื่อไม่มีอินฟราสตรัคเจอร์แชร์ริ่งทุกรายต้องใช้โครงข่ายตนเองหมด ทำให้เป็นไปไม่ได้ที่จะมีการลงทุนโดยปราศจากประกาศทั้ง 3 ข้อนี้'
       
       แม้ว่าปัจจุบันกสทช.กำลังจะมีการปรับค่า IC ที่ประกาศลดลงมาเหลือนาทีละ 45 สตางค์ ซึ่งถ้ามีการประกาศลดแล้วก็ถือว่าเป็นเรื่องดี แต่ก็ควรมาดูต่อเนื่องว่าค่าโทร.ขั้นสูง 99 สตางค์ ต้องมีการปรับลดให้สอดคล้องกับค่า IC ด้วยหรือไม่
       
       'เบื้องต้นกสทช. ต้องออกมาชี้แจงก่อนว่าค่า IC นาทีละ 45 สตางค์มาจากอะไร ทำไมถึงไม่ใช่ 25 สตางค์ตามที่ที่ปรึกษาของกสทช. เคยเสนอแนะในอดีต หรือที่อาจารย์สมเกียรติเคยศึกษามาที่ 27 สตางค์'
       
       ด้านนางสาวสารี อ่องสมหวัง ประธานอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม กล่าวเสริมว่า 4 ปัญหาหลักที่ยังมีการร้องเรียนต่อเนื่องคือ เรื่องของค่าบริการเพื่อเปลี่ยนแพกเกจ ให้ได้โปรโมชันที่ต่ำกว่านาทีละ 99 สตางค์ ซึ่งผู้บริโภคต้องเสียค่าเปลี่ยน 30 - 49 บาท ,การอ้างว่ากำหนดพรีเพดไม่หมดอายุเป็นกติกาสำหรับซิมใหม่ ไม่ใช่ผู้ใช้บริการรายเดิม ,ประเด็นการสมัคร SMS ผ่านระบบเสียง ที่เปลี่ยนรูปแบบเป็นถ้าไม่ต้องการสมัครให้กด หมายเลขใดๆเพื่อยกเลิก และการแจกซิมฟรีแต่มีการเก็บค่าบริการรายเดือน
       
       'มีการคำนวนว่าเฉลี่ยแล้วผู้บริโภค 1 รายเสียค่าบริการสำหรับบริการเสริมที่ไม่ได้สมัครราวเดือนละ 37 บาท ซึ่งที่ผ่านมาเกิดขึ้นราว 1 ล้านครั้งต่อเดือน ทำให้ผู้ให้บริการได้รับค่าบริการเกือบ 37 ล้านบาท ซึ่งตรงนี้เข้าข่ายผิดพรบ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ มาตรา 31'

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)


Related Topics

  Subject / Started by Replies Last post
0 Replies
1338 Views
Last post December 16, 2011, 03:22:56 PM
by Nick
0 Replies
878 Views
Last post December 28, 2012, 03:51:20 PM
by Nick
0 Replies
832 Views
Last post February 07, 2013, 12:08:07 AM
by Nick
0 Replies
954 Views
Last post February 12, 2013, 09:52:49 PM
by Nick
0 Replies
1060 Views
Last post March 18, 2013, 06:05:53 PM
by Nick
0 Replies
910 Views
Last post May 03, 2013, 07:16:43 PM
by Nick
0 Replies
994 Views
Last post June 19, 2013, 10:22:24 AM
by Nick
0 Replies
1080 Views
Last post August 27, 2013, 06:49:36 PM
by Nick
0 Replies
1122 Views
Last post September 08, 2013, 11:58:32 AM
by Nick
0 Replies
690 Views
Last post April 20, 2023, 05:38:21 PM
by guupost