Author Topic: “อนุดิษฐ์” ลั่นเดือน ก.พ.ได้เห็นบริษัทลูกของทีโอที-กสท  (Read 727 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


“อนุดิษฐ์” ประกาศเดือน ก.พ.จะได้เห็นบริษัททาวเวอร์ โค, ไฟเบอร์โค ที่เป็นบริษัทลูกของทีโอที และ กสท หลังเคลียร์ปมโอนทรัพย์สินคู่สัญญาสัมปทานจากเอไอเอส-ดีแทค-ทรูเสร็จ แต่ตัวเลขล่าสุดเอไอเอสมีเสา 15,000 แห่ง โอนให้ทีโอทีแล้ว 13,000 แห่ง บริษัท ดิจิตอลโฟน (ดีพีซี) มี 2,000 แห่ง โอนให้ กสท 180 แห่ง ดีแทค 12,000 แห่ง แต่โอนให้ กสท 1,100 แห่ง ส่วนกลุ่มทรูมี 11,000 แห่ง แต่ยังไม่ได้โอนให้ กสท แต่อย่างใด
       
       น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า ภายในเดือน ก.พ. 56 นี้จะได้เห็นความชัดเจนในการจัดตั้งบริษัท ทาวเวอร์โค จำกัด และบริษัท ไฟเบอร์โค จำกัด ที่เป็นบริษัทลูกของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ซึ่งจะแยกกันคนละบริษัท เพื่อดำเนินธุรกิจในลักษณะของการบริหารจัดการเสาโทรคมนาคมที่จะมาจากการโอนทรัพย์สินตามสัญญาสัมปทาน (BTO) เช่น เสาสัญญาณ อุปกรณ์โครงข่าย โดยขณะนี้เหลือการเจรจาระหว่าง กสท กับดีแทค
       
       ทั้งนี้ การจัดตั้งบริษัทบริหารจัดการเสาโทรคมนาคมของทีโอที และ กสท ในครั้งนี้ก็เพื่อที่จะดำเนินธุรกิจเป็นผู้ให้บริการโครงข่าย (เน็ตเวิร์กโพรวายเดอร์) ซึ่งจะต้องเป็นบริษัทที่เป็นกลาง โดยไม่มีผู้ถือหุ้นเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือในประเทศเลย แต่จะเป็นในลักษณะนำนักลงทุนต่างชาติที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนี้เข้ามาร่วมทุนในบริษัทลูกดังกล่าว
       
       “หากเราให้ผู้ให้บริการรายเดิมในตลาดเป็นผู้ถือหุ้นด้วย ก็จะทำให้ไม่มีผู้ให้บริการรายอื่นมาเช่าใช้โครงข่ายเพราะอาจไม่มั่นใจ โดยตอนนี้ทีโอทีพร้อมที่จะเปิดตัวบริษัทลูกดังกล่าวในเดือน ก.พ.นี้อย่างแน่นอน ซึ่งจะเป็นแนวทางการอยู่รอดของ 2 องค์กรภายหลังจากรายได้ที่ได้รับจากสัญญาสัมปทานสิ้นสุดลง ถึงแม้ทีโอทีและ กสท จะทำธุรกิจในลักษณะเดียวกันแต่ไม่ใช่เป็นการแข่งขันกันเอง เนื่องจากปัจจุบันการบริโภคและใช้งานด้านสื่อสารข้อมูลมียอดการใช้งานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งกลยุทธ์ของทีโอทีและ กสท ประเมินออกมาแล้วว่าต่อให้มีการลงทุนเพื่อขยายความจุ (คาปาซิตี้) เป็นจำนวนมาก ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการในการใช้งานปัจจุบัน”
       
       นอกจากนี้ กระทรวงไอซีทียังได้ให้ทีโอทีไปศึกษาการลงทุนสร้างโครงข่ายเชื่อมต่อวงจรต่างประเทศ (อินเทอร์เน็ตเกตเวย์) เพื่อรองรับการใช้งานอินเทอร์เน็ต เนื่องจากยอดผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตมีการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันมีประมาณ 20 ล้านราย อีกทั้งการขยายวงจรเชื่อมต่อต่างประเทศจะสร้างความมั่นคงสำหรับระบบโทรคมนาคมของประเทศ รวมถึงจะช่วยประหยัดงบประมาณของประเทศด้วย เพราะปัจจุบันประเทศไทยเช่าวงจรเชื่อมต่อจากต่างประเทศเพียงรายเดียว และเชื่อมต่อวงจรอินเทอร์เน็ตต่างประเทศเพียงเส้นทางเดียวเท่านั้น หากเกิดปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติก็จะทำให้ระบบอินเทอร์เน็ตของไทยไม่สามารถเชื่อมโยงต่างประเทศได้ ฉะนั้นไทยควรจะมีระบบสำรองเพื่อป้องกันระบบสื่อสาร
       
       ส่วนกรณีการคืนคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz ที่จะสิ้นสุดในวันที่ 15 ก.ย. 56 ของบริษัท ทรูมูฟ ซึ่งเป็นรายแรกนั้น เงื่อนไขทั้งหมดอยู่ที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ซึ่งกระทรวงไอซีทีไม่สามารถเข้าไปกำหนดเงื่อนไขได้เนื่องจากกระทรวงไอซีทีเป็นผู้ดูแลนโยบาย แต่ผู้กำกับดูแลเรื่องคลื่นความถี่ตามแผนแม่บทคือ กสทช. ดังนั้นเงื่อนไขต่างๆ ต้องขึ้นอยู่กับ กสทช. แต่หากในวันที่สิ้นสุดสัญญาสัมปทานแล้วมีการปิดระบบ ผู้บริโภคไม่สามารถใช้บริการได้ สุดท้ายหากเกิดผลกระทบต่อผู้บริโภค กระทรวงไอซีทีในฐานะเป็นผู้ดูแลหน่วยงานในสังกัดก็จะไม่สามารถตอบผู้บริโภคได้เช่นกัน
       
       อนึ่ง เอไอเอส คู่สัญญาสัมปทานทีโอที มีเสาโทรคมนาคมทั้งหมดมากกว่า 15,000 แห่งทั่วประเทศ โอนให้ทีโอทีแล้ว 13,000 แห่ง บริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (ดีพีซี) มีเสาโทรคมนาคม 2,000 แห่ง โอนให้ กสท 180 แห่ง ขณะที่ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค มีเสาโทรคมนาคม 12,000 แห่ง แต่โอนให้ กสท 1,100 แห่งเท่านั้น ส่วนกลุ่มทรูมีเสาโทรคมนาคม 11,000 แห่งแต่ยังไม่ได้โอนให้ กสท แต่อย่างใด
       
       Company Relate Link :
       ไอซีที

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)