Author Topic: บอร์ด กสท. ไฟเขียวหลักเกณฑ์ประมูลทีวีดิจิตอล  (Read 568 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46027
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


     บอร์ด กสท.ไฟเขียวหลักเกณฑ์การประมูลทีวีดิจิตอล 24 ช่องธุรกิจ ระบุใช้วิธีประมูลแบบอี-ออกชันในเดือน ก.ค.-ส.ค. คาดคนไทยได้ดูทีวีดิจิตอลประเภทช่องสาธารณะไม่เกินเดือน มิ.ย.นี้
       
       พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวว่า บอร์ด กสท.ในการประชุมเมื่อวันที่ 4 ก.พ.มีมติอนุมัติร่างประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกให้ใช้คลื่นความถี่ในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์สำหรับการประกอบกิจการทางธุรกิจ โดยขั้นตอนต่อไปจะส่งเรื่องให้บอร์ด กสทช.พิจารณาอีกครั้งในวันที่ 13 ก.พ. ก่อนจะเข้าสู่กระบวนการทำประชาพิจารณ์ และประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาต่อไป
       
       ส่วนร่างประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกให้ใช้คลื่นความถี่ในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ถือเป็นร่างประกาศสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการประมูลทีวีดิจิตอลในกลุ่มช่องธุรกิจทั้ง 24 ช่อง โดยร่างประกาศดังกล่าวจะเป็นการกำหนดในด้านคุณสมบัติของผู้เข้าประมูล เรื่องหลักๆ เช่น ผู้เข้าประมูลต้องเป็นผู้ประกอบกิจการที่ได้รับใบอนุญาตของ กสทช., ผู้เข้าประมูลต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนหรือถือหุ้นไขว้เกี่ยวพันกับผู้เข้าประมูลรายอื่นๆ และจะมีการยกเลิกการประมูลหากพบว่ามีผู้เข้าประมูลจำนวนเท่ากับหรือน้อยกว่าผู้เข้าประมูลในกลุ่มช่องนั้นๆ เช่น ในกลุ่มช่องรายการข่าวที่จะจัดประมูลจำนวน 5 ช่องต้องมีผู้เข้าประมูลมากกว่า 5 ราย
       
       “การประมูลทีวีดิจิตอลทั้ง 24 ช่องที่จะเกิดขึ้นนั้นจะใช้วิธีประมูลแบบวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (อี-ออกชัน) ตามกฎระเบียบของสำนักนายกรัฐมนตรี เนื่องจากเป็นวิธีการประมูลที่เข้าใจได้ง่ายที่สุด โดยการประมูลจะแบ่งออกเป็นกลุ่มต่างๆ ประกอบด้วย กลุ่มช่องรายการเด็ก 5 ช่อง กลุ่มช่องรายการข่าว 5 ช่อง กลุ่มช่องทั่วไป 10 ช่อง และช่องความชัดสูง (HD) 4 ช่อง ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะมีการประมูลทั้งหมดใน 1 วันหรือไม่ ส่วนสถานที่การประมูลคาดจะได้ข้อสรุปในช่วงราวเดือนพฤษภาคม-มิถุนายนนี้ แต่เบื้องต้นจะไม่ประมูลที่สำนักงาน กสทช.แน่นอน เพราะผู้เข้าประมูลมีจำนวนมากกว่าการรองรับของสถานที่”
       
       ขณะที่กรอบเวลาของทีวีดิจิตอลในขณะนี้ ประกอบด้วย เดือนกุมภาพันธ์จะมีการกำหนดเพดานถือครองช่องรายการ ราคาตั้งต้นการประมูล และราคาคูปองสนับสนุนอุปกรณ์เปลี่ยนผ่านเทคโนโลยี, เดือนมีนาคม-เมษายนจะมีการออกใบอนุญาตผู้ให้บริการโครงข่ายสำหรับกิจการที่ใช้คลื่นความถี่หรือทีวีดิจิตอล และหนังสือชี้ชวนการลงทุนเข้าประมูลทีวีดิจิตอล, เดือนพฤษภาคมให้ใบอนุญาตประกอบช่องรายการทีวีดิจิตอลประเภทช่องบริการสาธารณะทั้ง 12 ช่อง, เดือนกรกฎาคม-สิงหาคมจะมีการจัดประมูลช่องรายการทีวีดิจิตอลในกลุ่มช่องธุรกิจทั้ง 24 ช่อง และการให้อนุญาตช่องรายการทีวิดิจิตอลในกลุ่มช่องบริการชุมชนจำนวน 12 ช่องในช่วงปลายปี 2556
       
       พ.อ.นทีกล่าวว่า ในช่วงกลางเดือน ก.พ.ทาง กสทช.จะเชิญผู้ประกอบการ ผู้ผลิตและจำหน่ายกล่องรับสัญญาณทีวีดิจิตอล (เซตท็อปบอกซ์) และเครื่องทีวีที่สามารถรับสัญญาณทีวีดิจิตอลได้ นำตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่จะวางจำหน่ายส่งเข้ามาให้ กสทช.ตรวจสอบด้านคุณภาพและคุณสมบัติ หากผ่านเกณฑ์ทาง กสทช.จึงมีการอนุญาตให้มีการนำเข้าและจัดจำหน่ายในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ
       
       “เราคาดว่าเมื่อมีการออกใบอนุญาตช่องทีวีดิจิตอลประเภทช่องสาธารณะเสร็จสิ้นในเดือนพฤษภาคม ประเทศไทยจะเริ่มมีทีวีดิจิตอลใช้อย่างเป็นทางการครั้งแรกในราวเดือนพฤษภาคม-มิถุนายนนี้แน่นอน”
       
       อย่างไรก็ตาม สาเหตุที่ต้องมีการเลื่อนการประมูลทีวีดิจิตอลออกไปนั้น เนื่องจากมีปัจจัยบางอย่าง เช่น เรื่องของราคาตั้งต้นการประมูลยังไม่มีความชัดเจน ข้อสรุปการกำหนดอัตราเพดานถือครองช่องรายการสูงสุดของผู้เข้าประมูล และผลการทดลองออกอากาศทีวีดิจิตอล ทั้งในด้านเทคนิคการออกอากาศ และพฤติกรรมของผู้บริโภค ซึ่งต้องนำผลมาประมวลอีกครั้งเพื่อกำหนดว่าจะมีการปรับสัดส่วนช่องรายการเอชดีเพิ่มเติมจาก 4 ช่องหรือไม่ด้วย
       
       ที่ประชุมบอร์ด กสท.ยังมีมติอนุมัติการให้ใบอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงจำนวนทั้งสิ้น 100 สถานี แบ่งเป็นสถานีที่ให้บริการด้านธุรกิจ 58 สถานี บริการด้านสาธารณะ 15 สถานี และบริการด้านชุมชน 17 สถานี ส่งผลให้ขณะนี้ได้มีการอนุมัติใบอนุญาตไปแล้วรวมทั้งสิ้น 848 สถานี
       
       นอกจากนี้ ที่ประชุมยังชอบตามความเห็นของคณะอนุกรรมการพิจารณาสัญญาสัมปทานด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ในการยุติการพิจารณาเรื่องร้องเรียนของนายประมุท สูตะบุตร จากกรณีที่ขอให้ตรวจสอบการขยายระยะเวลาในการดำเนินกิจการสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ออกไปอีก 10 ปีนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากคณะอนุกรรมการได้พิจารณาแล้วว่าคำร้องของนายประมุทไม่ปรากฏพยานและหลักฐานเพียงพอในการสนับสนุนเรื่องร้องเรียน
       
       Company Relate Link :
       ไอซีที

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)