Author Topic: “3 องค์การมหาชน” ภายใต้ไอซีที พร้อมกรุยทางสู่ AEC  (Read 736 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


    3 องค์การมหาชน ซิป้า-สรอ.-สพธอ. ภายใต้กระทรวงไอซีทีผนึกกำลังรับมือประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 พร้อมโชว์งบประมาณปี 2556 ของ 3 องค์การราว 2,000 ล้านบาท
       
       นายไตรรัตน์ ฉัตรแก้ว ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ ซิป้า กล่าวว่า ในปีนี้งบประมาณรายจ่ายของซิป้าทั้งหมดรวม 305 ล้านบาท แบ่งเป็น 222 ล้านบาทในการส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ และอีก 83 ล้านบาทเป็นงบในการบริหารจัดการภายในสำนักงาน โดยในตอนนี้ผู้สนใจเข้าร่วมของบประมาณในการทำวิจัยแล้วในเบื้องต้น อาทิ ผู้ประกอบการธุรกิจด้านระบบการเชื่อมต่อในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว เป็นต้น
       
       "งบประจำปี 2556 ของ 3 หน่วยงานมีงบรวมราว 2,000 ล้านบาท แบ่งเป็นซิป้า 305 ล้านบาท สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ 1,500 ล้านบาท และสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์อีกประมาณ 200 ล้านบาท ซึ่งทั้ง 3 องค์กรรวมกันจะสามารถสร้างมูลค่าเชิงเศรษฐกิจนับล้านล้านบาท"
       
       การร่วมมือระหว่างซิป้า ,สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือสพธอ. และสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สรอ. ภายใต้การกำกับดูแลของ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในการผนึกกำลังเสริมสร้างศักยภาพด้านเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาประเทศ และพร้อมรับมือการเปิด AEC ในอนาคต
       
       โดยในปี 2556 นี้ซิป้าได้วางทิศทางการดำเนินงานเป็น 3 ระยะ ได้แก่ แผนระยะสั้น เป็นการสานต่องานตามวัตถุประสงค์เดิมของปีงบประมาณ 2555 ซึ่งจะดำเนินการไปพร้อมๆ กับการปรับแนวทางการบริหารงานภายใน เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของซิป้า ในส่วนแผนระยะกลาง จะเน้นการสร้างตลาดภายใน รวมถึงออกมาตรการเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ในด้านต่างๆ และการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อสร้างตลาดแบบครบวงจร ขณะที่ แผนระยะยาว ซิป้าจะขยายการทำตลาดไปยังต่างประเทศ ตลอดจนการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน เพื่อให้เกิดการสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพ และเน้นการส่งเสริมด้านทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property: IP) ที่มีมูลค่าเชิงพาณิชย์เข้าสู่ตลาด MAI
       
       ทั้งนี้ซิป้าเล็งเห็นถึงแนวโน้มการเข้าสู่ AEC นอกจากจะส่งผลให้เกิดเสรีทางการค้า บริการ การลงทุน และการเคลื่อนย้ายเงินทุนแล้ว ยังรวมถึงแรงงานฝีมือ โดยด้านแรงงานฝีมือนี้ ได้ครอบคลุมสาขาวิศวกรรมด้วย ซึ่งบุคลากรด้านคอมพิวเตอร์ของไทย แม้จะมีฝีมือดีแต่ยังเป็นรองด้านภาษาเมื่อเทียบกับชาติอื่นๆในอาเซียน อย่างไรก็ตามคนไทยสามารถปรับตัวได้ดี จึงมีโอกาสที่คนไทยจะได้ทำงานร่วมกับบริษัทซอฟต์แวร์ชั้นนำมากขึ้น รวมถึงเป็นโอกาสให้แรงงานไทยออกสู่ตลาดโลก
       
       “ประเทศไทยนับเป็นประเทศที่เหมาะสมต่อการลงทุนในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เป็นอย่างมาก เนื่องจากมีบุคลากรที่มีคุณภาพ และมีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการทำงานอย่างครบครัน ทำให้เรามีโอกาสเป็นศูนย์กลางด้านการผลิตซอฟต์แวร์ของอาเซียนได้โดยเราจะต้องเริ่มจากการสร้างเครือข่ายของกลุ่มอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ในอาเซียน แล้วแบ่งแยกกันทำงานโดยดูจากความถนัดของแต่ละประเทศ ประเทศใดถนัดเรื่องไหนก็ให้ทำในเรื่องนั้นๆเพื่อจะได้ไม่เกิดความซ้ำซ้อน และแย่งตลาดกันเอง ซึ่งจะทำให้ซอฟต์แวร์ของอาเซียนเราสามารถแข่งกับซอฟต์แวร์อื่นๆในตลาดโลกได้”
       
       สำหรับในปี 2555 ที่ผ่านมาซิป้า เป็นหน่วยงานที่ยังคงเดินหน้าอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์อย่างต่อเนื่อง ทั้งในเรื่องของการพัฒนาบุคลากรด้านคอมพิวเตอร์ การส่งเสริมผู้ประกอบการด้านการตลาด และการสร้างมาตรฐานของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ ซึ่งกล่าวได้ว่าซิป้าทำงานได้ครบถ้วน และประสบความสำเร็จในระดับสูง
       
       ด้าน นางสุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สพธอ. กล่าวว่า สพธอ. เป็นหน่วยงานใหม่ที่มีหน้าที่หลักในการพัฒนา ส่งเสริมและสนับสนุนการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ ตั้งแต่โครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น ความมั่นคงปลอดภัย มาตรฐานที่สนับสนุนการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ การวิจัยและพัฒนา จนถึงการเสนอแนะนโยบาย และกฎหมายที่สำคัญ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการความเชื่อมั่นในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์กับทุกภาคส่วน ทั้งผู้ประกอบการ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน
       
       โดยการดำเนินงานของ สพธอ. มีการกำหนดวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนว่า “เป็นองค์กรสำคัญในการสนับสนุน SMART Thailand โดยส่งเสริมให้การทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์เติบโตอย่างมั่นคง ปลอดภัยทัดเทียมผู้นำในภูมิภาค”
       
       นางไอรดา เหลืองวิไล รองผู้อำนวยการ สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สรอ. กล่าวว่า จากแนวทางของรัฐบาลที่ต้องการสร้าง Smart Thailand โดย สรอ. จะเข้ามาขับเคลื่อนระบบไอทีให้กับภาครัฐทั้งหมดนั้น ในปี 2556 ได้วางเป้าหมายขยายเครือข่าย GIN หรือ เครือข่ายสื่อสารข้อมูลเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐเพิ่มขึ้นกว่า 2,000 หน่วยงาน ขึ้นระบบคลาวน์คอมพิวติ้งภาครัฐมากกว่า 130 ระบบ
       
       พัฒนาระบบซอฟต์แวร์พื้นฐานของภาครัฐให้ใช้บริการผ่านเว็บไซต์ได้ หรือเรียกว่า Software as a Service (SaaS) มีบริการเสริมในด้านต่างๆ บนคลาวด์คอมพิวติ้ง เพื่อเป็นทางเลือกใหม่ให้กับภาครัฐ โดยจับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะด้าน ซึ่งเท่ากับเป็นการเดินแผนรุกเต็มตัว หลังจากปีที่ผ่านมาเน้นสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐานทางด้านไอทีให้มีความแข็งแกร่ง
       
       ส่วนในปีนี้สรอ. ได้ร่วมมือกับซิป้า คือ 1.การจัดทำซอฟต์แวร์พื้นฐานในระบบราชการให้เป็นแบบ Software as a Service 2.การสร้าง Government Application Center ซึ่งทั้งสองโครงการนี้จะสร้างแนวทางใหม่ให้กับตลาดซอฟต์แวร์ไทยในตลาดราชการอย่างมาก และผนึกกำลังกับ สพธอ. ในการร่วมผลักดันโครงการเฉพาะด้าน กับการร่วมในส่วนของการสร้างระบบบูรณาการข้อมูลและ e-Service โดยทั้งหมดจะทำให้เกิดระบบการบริหารงานภาครัฐ เกิดการบูรณาการที่นำไปสู่การให้บริการประชาชนและภาคธุรกิจเกิดความเชื่อมั่นมากขึ้น
       
       Company Relate Link :
       SIPA
       สรอ.
       สพธอ.

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)