Author Topic: IBM มั่นใจ คอมพิวเตอร์จะรับรส ได้กลิ่น และได้ยินในอีก 5 ปี  (Read 984 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai




เบอร์นี เมเยอร์สัน (Bernie Meyerson)

      ในเวลาที่ปี 2012 ผ่านพ้นไปแล้วเช่นนี้ ชาวไอทีจำนวนไม่น้อยมองย้อนกลับไปในปีที่ผ่านมาเพื่อดูว่าอะไรจะเกิดขึ้นในปีนี้ (2013) ปรากฏว่านักวิจัยของไอบีเอ็ม (IBM) ประกาศเทรนด์พัฒนาการของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ไม่ได้อยู่ในกรอบเวลาปีงูเท่านั้น แต่ครอบคลุมถึง 5 ปีข้างหน้าซึ่งยักษ์ใหญ่สีฟ้าเชื่อว่าคอมพิวเตอร์จะมีประสาทสัมผัสรับรู้ใกล้เคียงมนุษย์มากขึ้น ทั้งการได้ยิน การได้กลิ่น และการรับรส
       
       ไอบีเอ็มนั้นเผยแพร่แนวโน้มเหล่านี้ในรายงานเรื่อง “5 in 5” เมื่อกลางเดือนธันวาคมที่ผ่านมา โดยให้ความสำคัญกับการอธิบายภาพว่าคอมพิวเตอร์ในอนาคตจะประมวลผลข้อมูลอย่างไร จุดนี้นักวิจัยไอบีเอ็มชี้ว่าความสามารถเรื่องประสาทสัมผัสทั้ง 5 ซึ่งธรรมชาติสร้างสรรค์มานั้นจะไม่ได้จำกัดให้มีอยู่เฉพาะในสัตว์โลกอีกต่อไป แต่จะอยู่ใน "Machine" หรือเครื่องจักรกลมากมายที่จะสามารถรับรู้สิ่งรอบตัวได้เหมือนที่มนุษย์ทำได้ ทั้งรูป รส กลิ่น เสียง และการสัมผัส
       
       ทั้งหมดนี้ รองประธานฝ่านนวัตกรรมไอบีเอ็ม "เบอร์นี เมเยอร์สัน (Bernie Meyerson)" เชื่อว่าจะเป็นการยกระดับสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ทุกรูปแบบครั้งใหญ่ที่มีมาในประวัติศาสตร์ ซึ่งในทางทฤษฎี นักวิจัยสามารถพัฒนาความสามารถนี้ได้เหมือนกับที่มนุษย์เริ่มเก็บข้อมูลรอบตัวทีละน้อยอย่างต่อเนื่อง แต่ในทางปฏบัติแล้ว ต้องยอมรับว่าเป็นความท้าทายที่จะทำให้คอมพิวเตอร์สามารถรับรู้ข้อมูลในพริบตาเดียว
       
       แนวคิดการทำให้คอมพิวเตอร์ได้กลิ่นและรับรสนั้นไม่ใช่เรื่องยากเกินไป เมเยอร์สันระบุว่าประสาทสัมผัสทั้ง 2 ส่วนนี้มีฐานบนหลักการเคมีอย่างชัดเจน ขอเพียงคอมพิวเตอร์สามารถรับรู้และแยกรูปแบบโมเลกุลที่มีหลากหลาย เช่น กลิ่นแอมโมเนีย กลิ่นแก๊ซ หรือกลิ่นอาหารที่ย่อยสลาย เท่านี้คอมพิวเตอร์จะสามารถเตือนผู้ใช้ให้ระวังหรือเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัย รวมถึงเตือนภัยความเสี่ยงจากโรคท้องร่วงจากอาหารที่เน่าเสียได้

       เช่นเดียวกับธรรมชาติของรสสัมผัส นักวิจัยไอบีเอ็มระบุว่าหากคอมพิวเตอร์สามารถถูกตั้งโปรแกรมให้แยกแยะส่วนผสมทางเคมีหลายรูปแบบ ระบบคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นก็จะสามารถนำไปใช้วางแผนด้านสุขภาพได้ และหากต้องการให้คอมพิวเตอร์สามารถ"มองเห็น"ได้ นักวิจัยก็สามารถพัฒนาซอฟต์แวร์วิเคราะห์สิ่งของและจำแนกประเภทตามฐานข้อมูลภาพที่ระบบเก็บไว้ เช่นเดียวกับการได้ยิน ที่เทคโนโลยีวิเคราะห์เสียงจะทำให้ระบบรับรู้ว่าเด็กกำลังร้องไห้หรือหัวเราะอยู่
       
       เหนืออื่นใด ไอบีเอ็มเชื่อว่าคอมพิวเตอร์จะสามารถวิเคราะห์และบอกความแตกต่างระหว่างขนนุ่มของแคชเมียรหรือความแข็งกระด้างของคอนกรีต ด้วยการอ่านสัญญาณสั่นสะเทือนที่กระทบวัตถุร่วมกับอุณหภูมิซึ่งแตกต่างกัน จุดนี้จะใช้เทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกับผู้ผลิตวิดีโอเกม ซึ่งทำให้ตัวควบคุมเกมสั่นสะเทือนเมื่อมีแรงกระทบหรือการเคลื่อนไหวเกิดขึ้นบนหน้าจอ
       
       สิ่งที่นักวิจัยไอบีเอ็มกล่าวถึงทั้งหมดนี้เป็นส่วนผสมของแนวคิดจากหลายอุตสาหกรรม ซึ่งจะทำให้เกิดผลยิ่งใหญ่เมื่อแนวคิดเหล่านี้ถูกรวมเข้าด้วยกัน โดยทั้งหมดนี้ไม่ใช่เรื่องของการสร้างคอมพิวเตอร์ฉลาดกว่ามนุษย์ แต่เป็นเรื่องของคุณภาพชีวิตและความสะดวกสบายที่จะได้รับในพริบตา
       
       ไอบีเอ็มยังหวังว่าในอีก 5 ปีข้างหน้า ชาวไอทีจะสามารถสัมผัสพื้นผิวที่แตกต่างจากน้าจอทัชสกรีนของอุปกรณ์ที่เรามี ขณะที่คอมพิวเตอร์จะสามารถเข้าใจว่าพวกมันกำลังมองอะไรอยู่ ขณะเดียวกัน คุณหมอยังสามารถ "เห็น" สัญญาณอาการป่วยจากภาพ รวมถึงวิเคราะห์รูปแบบของเสียงเพื่อพยากรณ์เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากระยะไกล รวมถึงการทดสอบคุณภาพอาหารที่จะไม่ทำให้เกิดโรคภัยอันตรายของร่างกาย
       
       ผู้สนใจสามารถชมวิดีโอบรรยาย 5 ความเชื่อของไอบีเอ็มด้านล่าง ภายในวิดีโอมีการนำเสนอแนวคิดด้านความสามารถการสัมผัส (Touch) ของคอมพิวเตอร์โดยผู้เชี่ยวชาญหลายด้านจากไอบีเอ็ม
       
       
<a href="https://www.youtube.com/watch?v=wXkfrBJqVcQ" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=wXkfrBJqVcQ</a>

IBM มั่นใจ คอมพิวเตอร์จะรับรส ได้กลิ่น และได้ยินในอีก 5 ปี IBM มั่นใจ คอมพิวเตอร์จะรับรส ได้กลิ่น และได้ยินในอีก 5 ปี IBM มั่นใจ คอมพิวเตอร์จะรับรส ได้กลิ่น และได้ยินในอีก 5 ปี

       
       ที่ชาวไอทีต้องจับตานับจากนี้ก็คือ ตัวเลข 5 ปีจะร่นน้อยจนเทคโนโลยีเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นจริงและแพร่หลายในกี่ปี
       
       Company Related Link :
       IBM


ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)