Author Topic: ไมโครซอฟท์เผย 2 ใน 3 พีซีเถื่อน ติดไวรัส  (Read 731 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46027
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


ไมโครซอฟท์ เผย พบซอฟต์แวร์เถื่อนเป็นภัยคุกคามต่อผู้ใช้ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากการศึกษาใน 5 ประเทศ ยืนยัน 2 ใน 3 ของกลุ่มเครื่องคอมพิวเตอร์ทดลอง ติดไวรัส
       
       ไมโครซอฟท์ เปิดเผยผลการวิจัยความปลอดภัยของคอมพิวเตอร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบ 63% ของคอมพิวเตอร์ที่ลงวินโดวส์ละเมิดลิขสิทธิ์มีความเสี่ยงต่อไวรัสและมัลแวร์ หลังสุ่มตรวจแผ่นปลอม 118 รายการ ที่ซื้อมาจากประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย และ เวียดนาม
       
       นอกจากนี้ยังพบว่าในกลุ่มตัวอย่างที่ตรวจสอบเบื้องต้นพบคอมพิวเตอร์ติดไวรัสและมัลแวร์กว่า 2,000 รายการ ซึ่งในจำนวนนี้เป็นไวรัสที่อันตรายต่อคอมพิวเตอร์อย่างมากหลากหลายชนิด เช่น Backdoors Hijackers Droppers Bots Crackers Password Stealers และ Trojans
       
       ผลการวิจัยแจ้งว่า 77% ของคอมพิวเตอร์ที่นำมาตรวจสอบพบ Windows Update ไม่ทำงานหรือถูกส่งไปยังบริการอัพเดตของกลุ่มบุคคลที่สาม เนื่องจากการที่ Windows Update ไม่ทำงาน ระบบคอมพิวเตอร์จึงเลี่ยงการตรวจสอบของซอฟต์แวร์ถูกลิขสิทธิ์และไม่ยอมรับการอัพเดทโปรแกรมความปลอดภัยที่จำเป็น ทำให้คอมพิวเตอร์ไม่สามารถป้องกันตัวเครื่องจากการถูกไวรัสโจมตี การติดไวรัส และการถูกเจาะเข้าสู่ระบบได้
       
       ปัจจุบันอาชญากรรมทางไซเบอร์ทุกรูปแบบจะใช้ไวรัสในการบุกรุกเพื่อผลประโยชน์ที่ผิดกฎหมาย ตั้งแต่การเจาะรหัสเพื่อเข้าไปขโมยข้อมูลทางการเงินและบัตรเครดิต รวมไปถึงการส่งอีเมล์ขยะหรือส่งคำขอเป็นเพื่อนที่มีเจตนาฉ้อโกงทางโซเชียลมีเดียในรูปของการบริจาคการกุศลหรือการยื่นข้อเสนอหลอกลวง ซึ่งความเสี่ยงเหล่านี้มีความเกี่ยวข้องกับการโจรกรรมข้อมูลลับของบริษัทและการใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ที่ติดไวรัสซึ่งมีประสิทธิภาพในการทำงานต่ำ ระบบการทำงานล้มเหลวและหยุดชะงักบ่อยครั้ง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ได้นำไปสู่ความเสียหายทางการเงินที่รุนแรงและความเสี่ยงต่อการเสียชื่อเสียงของบริษัท
       
       นาย เจฟ บัลวิงเคิล ผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมายและองค์กร ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกและญี่ปุ่น ของไมโครซอฟท์ กล่าวว่า จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าการใช้ซอฟต์แวร์ปลอมมีอันตรายต่อผู้ใช้จริง และมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นสูงมากกว่าราคาของซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์เสียอีก
       
       จากรายงานของ Norton Cybercrime ปี 2012 พบว่าค่าความเสียหายจากอาชญากรรมทาง ไซเบอร์มีมูลค่ามากถึง 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐ โดยมูลค่าความเสียหายเฉลี่ยต่อหนึ่งคนเท่ากับ 197 เหรียญ
       
       พ.ต.อ. ชัยณรงค์ เจริญไชยเนาว์ รองผู้บังคับการและโฆษก บก.ปอศ. กล่าวแนะนำให้ผู้บริโภคหลีกเลี่ยงการใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์โดยเด็ดขาดเพราะนอกจากจะเป็นการละเมิดกฎหมายแล้วผู้บริโภคยังจะทำให้ตัวเองและครอบครัวเสี่ยงต่อการถูกโจมตีจากสแปม โปรแกรมไวรัส หรือมัลแวร์ ซึ่งจะเกิดผลเสียทั้งต่อข้อมูลและหากนำไปใช้ในการทำธุรกรรมทางการเงินอาจเกิดปัญหาได้ภายหลัง
       
       "มีผู้บริโภคจำนวนไม่น้อยมีเจตนาซื้อซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์หรือซอฟต์แวร์ผิดกฎหมาย แต่ก็มีผู้บริโภคอีกจำนวนไม่น้อยเช่นกันที่ถูกหลอกให้ซื้อซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์โดยผู้ขายอ้างว่าเป็นซอฟต์แวร์มีลิขสิทธิ์ บก.ปอศ.จึงได้ร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้"
       
       โดยทางไมโครซอฟท์ ให้คำแนะนำแก่ผู้บริโภคว่า ในการซื้อสินค้าควร ถามหาซอฟต์แวร์ถูกลิขสิทธิ์ทุกครั้ง ซื้อจากผู้แทนจำหน่ายที่น่าเชื่อถือและหลีกเลี่ยงข้อเสนอที่ ‘คุ้มค่าเกินความเป็นจริง’ ตรวจสอบให้มั่นใจว่าสินค้าที่ซื้ออยู่ในบรรจุภัณฑ์ที่เรียบร้อย และหากเป็นคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งซอฟต์แวร์วินโดวส์ กรุณามองหาฉลากของแท้หรือใบรับประกันของแท้ที่ติดไว้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่ได้ติดตั้งระบบปฏิบัติการวินโดวส์แล้ว
       
       ผลการวิจัยของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น มีข้อสรุปที่คล้ายคลึงกับผลการวิจัยที่เพิ่งรายงานออกมาเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยไมโครซอฟท์ ประเทศจีน และไมโครซอฟท์กำลังดำเนินการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยบนคอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่อง โดยใช้กลุ่มตัวอย่างคอมพิวเตอร์และซีดีละเมิดลิขสิทธิ์ที่ใหญ่ขึ้น เพื่อที่จะนำผลสรุปมาเป็นตัวอย่างในการศึกษาให้แก่ผู้บริโภคเกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์ การคุกคาม และความเสี่ยงทางไซเบอร์ที่เกี่ยวข้องโดยตรง ไมโครซอฟท์ คาดว่าจะตีพิมพ์ผลการวิจัยและบทวิเคราะห์อย่างเต็มรูปแบบในไตรมาสแรกของปี 2556
       
       Company Relate Link :
       Microsoft
       ปอศ.

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)