Author Topic: “สมาคมเน็ต” โวย กสทช. คิดค่าต๋ง 2% ของรายได้ โหดเกินไป  (Read 683 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


      สมาคมผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไทย (TISPA) ซึ่งมีเหล่าไอเอสพีเป็นสมาชิก โวย กสทช.คิดค่าธรรมเนียมแบบใหม่ จากเดิมเสียรายปีแค่ 2 หมื่นบาท เป็น 2% จากรายได้เหมือนผู้ได้ใบอนุญาตประกอบกิจการประเภท 3 เช่นเหล่าโอเปอเรเตอร์ 3G หรือ ผู้มีโครงข่ายเป็นของตัวเอง เป็นการเอาเปรียบทำให้รายเล็กอยู่ไม่ได้ ขัดเจตนารมณ์ พ.ร.บ.กสทช.ที่ชอบอ้างว่าตัวเองไม่มีหน้าที่หารายได้เข้ารัฐตอนประมูล 3G แต่พอเรื่องค่าธรรมเนียมไอเอสพีกลับปรับโหดขึ้น เล็งฟ้องศาลปกครองแน่หาก กสทช.ไม่ทบทวน
       
       นายอนันต์ แก้วร่วมวงศ์ นายกสมาคมผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไทย (TISPA) กล่าวว่า สมาคมผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไทยต้องการประกาศจุดยืนที่จะคัดค้านการขึ้นค่าธรรมเนียมที่จะส่งผลกระทบต่อผู้ใช้บริการและอาจขัดต่อกฎหมายของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เนื่องจาก กสทช.เป็นหน่วยงานกำกับดูแลเพื่อประโยชน์ของสาธารณะ และส่งเสริมการแข่งขันที่เสรีและเป็นธรรม ไม่ใช่หน่วยงานที่ทำหน้าที่หารายได้ให้รัฐ
       
       “เราไม่ได้คัดค้านการเก็บค่าธรรมเนียมที่เก็บอยู่แล้วด้วยกติกาเดิม และคิดว่าค่าธรรมเนียมนั้นมากพอเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายของ กสทช.แล้ว ดังนั้นเมื่อมีการเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มก็จะส่งผลต่อประชาชน นอกจากนี้การคิดค่าธรรมเนียมแบบใหม่ในหลายแง่มุมจะขัดกับ พ.ร.บ.กสทช.”
       
       ก่อนหน้านี้ตอนที่ กสทช.ได้มีการจัดประชาพิจารณ์ในเรื่องดังกล่าวช่วงเดือน พ.ย.ที่ผ่านมา ทางสมาคมฯ ก็ได้ยื่นเรื่องไม่เห็นด้วยไปแล้ว แต่ กสทช.ยังเพิกเฉยอยู่ จึงออกมาคัดค้านอีกครั้งหนึ่งก่อนที่ กสทช.จะมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาในช่วงสิ้นเดือน ธ.ค. 2555 หรือ ม.ค. 2556
       
       โดย 4 ข้อหลักที่สมาคมฯ คัดค้านประกอบไปด้วย 1. การขึ้นค่าธรรมเนียมโดยคิดจากรายได้ มีลักษณะคล้ายกับภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้บริโภคจะเป็นผู้รับภาระ (ค่าธรรมเนียม USO 3.75%+โทรคม 2%) 2. การกำหนดค่าธรรมเนียมแบบใหม่ทำให้ กสทช.มีรายได้มากกว่ารายจ่ายมากๆ ขณะที่กฎหมายกำหนดให้การคิดค่าธรรมเนียม ให้คำนึงถึงค่าใช้จ่ายในการกำกับ หรือให้เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย และความเป็นธรรมต่อผู้ใช้บริการ และผู้ให้บริการเท่านั้น
       
       3. วิธีการคิดค่าธรรมเนียมแบบใหม่ทำให้เกิดปัญหาในหลายแง่มุมและน่าจะขัดกับ พ.ร.บ.กสทช. 4. การคิดวิธีเดิม กสทช.ก็มีรายได้สูงกว่ารายจ่ายอยู่แล้ว จึงควรใช้วิธีเดิมไปก่อนหากข้อเท็จจริงปรากฏว่าเก็บได้น้อยกว่าค่าใช้จ่าย กสทช. ย่อมมีเหตุผลโดยชอบที่จะขึ้นค่าธรรมเนียมให้สมดุลกับค่าใช้จ่าย
       
       พร้อมกันนี้ สมาคมฯ ได้คำนวณรายได้ของ กสทช.ด้วยวิธีการจัดเก็บแบบเดิม พบว่า ในปี 2554 กสทช.มีรายได้สูงกว่าค่าใช้จ่ายถึงประมาณ 1,500 ล้านบาท และในปี 2555 จนถึงเดือน ต.ค. กสทช.มีรายได้สูงกว่ารายจ่ายถึง 22,000 ล้านบาท หรือหากนำเอารายได้ 2% ของบริการโทรศัพท์มือถือ 3G มาคิดก็จะทำให้ กสทช.มีรายได้สูงกว่ารายจ่ายอย่างมาก จึงไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มเพราะจะส่งผลกระทบต่อประชาชน เนื่องจากการเก็บค่าธรรมเนียมมีลักษณะคล้ายกับภาษีมูลค่าเพิ่ม
       
       ทั้งนี้ วิธีการเก็บค่าธรรมเนียมในปัจจุบันจะแบ่งผู้ประกอบกิจการออกเป็น 3 ประเภท คือ แบบที่ 1 จ่าย 20,000 บาทต่อปี สำหรับผู้ให้บริการเพียงอย่างเดียว แบบที่ 2 จ่าย 25,000-250,000 ต่อปี สำหรับผู้ให้บริการที่มีโครงข่ายให้บริการจำกัดเฉพาะกลุ่มบุคคล แต่ไม่มีผลกระทบโดยนัยสำคัญต่อการแข่งขัน และแบบที่ 3 จ่าย 2% ของรายได้จากการประกอบกิจการ และสามารถหักค่าลดหย่อน สำหรับผู้ประกอบการที่มีโครงข่ายเป็นของตนเองเพื่อให้เช่าใช้ ให้บริการแก่บุคคลทั่วไป และมีผลกระทบโดยนัยสำคัญต่อการแข่งขัน
       
       สำหรับการคิดค่าธรรมเนียมแบบใหม่หากมีการบังคับใช้นั้น ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบกิจการประเภทที่ 1 หรือ 2 ก็จะต้องเสียค่าธรรมเนียม 2% ของรายได้ ซึ่งมากกว่าค่าธรรมเนียมรายปีเดิมอย่างมาก
       
       “การเก็บค่าธรรมเนียมแต่เดิมผู้ประกอบการแบบที่ 3 ต้องเสียค่าธรรมเนียมให้ กสทช.อยู่แล้ว เพราะเป็นการใช้ทรัพยากรคลื่นความถี่ แต่ถ้าเปลี่ยนเป็นการคิดแบบใหม่ผู้ประกอบการประเภทอื่นที่เป็นผู้ประกอบการรายย่อยก็จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมสองต่อ ทั้งจากการขึ้นราคาของผู้ให้บริการโครงข่ายที่ไปเช่าต่อมาให้บริการ และค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายเพิ่มให้แก่ กสทช.”
       
       ปัจจุบันรายได้หลักในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมมาจากผู้ประกอบการแบบที่ 3 (มีโครงข่ายเป็นของตัวเอง) กว่า 90% ขณะที่สมาชิกของสมาคมส่วนใหญ่อยู่ในประเภทผู้ประกอบการแบบที่ 1 จึงเห็นว่าถ้ามีการขึ้นค่าธรรมเนียมจะเป็นการทำลายตลาดผู้ให้บริการรายย่อย โดย กสทช.อาจจะนึกไม่ถึงในตอนนี้ และขัดกับเจตนารมณ์ที่จะส่งเสริมให้มีการให้บริการอย่างเสรีและเป็นธรรม
       
       นายอนันต์กล่าวทิ้งท้ายว่า หลังจากนี้หาก กสทช.ยังเพิกเฉยอยู่ก็เป็นสิทธิของสมาชิกสมาคมฯ แต่ละรายที่จะไปฟ้องร้องหรือดำเนินการอย่างไร แน่นอนว่าถ้ามีสมาชิกมาร้องเรียนที่สมาคมก็ต้องมีการคุยกันต่อไปว่าจะฟ้องร้องในนามของสมาคมฯ หรือไม่อย่างไร
       
       Company Relate Link :
       TISPA

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)