Author Topic: ซอฟต์แวร์ไทยมาตรฐานเจ๋งรั้งที่ 2 เอเชีย  (Read 927 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Reporter

  • Moderator
  • Gold Member
  • *
  • Posts: 1093
  • Karma: +8/-0
  • Gender: Male
    • ซ่อมคอมเชียงใหม่

อุตฯ ซอฟต์แวร์ไทยฮึกเหิม หลังการ์ทเนอร์ยกไทยรั้งท็อป 30 แหล่งพัฒนาซอฟต์แวร์ระดับโลกปีแรก และเป็นเบอร์ 2 ในเอเชียตะวันออกใต้

นางสุวิภา วรรณสาธพ ผู้อำนวยการ เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย หรือซอฟต์แวร์พาร์ค กล่าวว่า บริษัทการ์ทเนอร์กรุ๊ป ได้ประกาศให้ประเทศไทยติดอันดับ 1 ใน 30 ประเทศทั่วโลก เป็นแหล่งรับพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีความน่าสนใจมากที่สุดโดยยกให้ไทยเป็น " new comer" ซึ่งถือเป็นปีแรกที่ไทยได้เข้าไปมีบทบาทสร้างชื่อในอุตสากรรมซอฟต์แวร์ระดับโลก

 

            " ถือเป็นปีแรกที่ไทย กำลังได้รับความสนใจจากตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะในช่วงวิกฤติที่เกิดขึ้น ทำให้ตลาดในยุโรปให้ความสนใจประเทศในเอเชียเป็นพิเศษ โดยไทยเองก็มีหลายประเทศมองเห็น ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีบริษัทซอฟต์แวร์ที่ได้มาตรฐาน CMMI ซึ่งเป็นการให้มาตรฐานของบริษัทซอฟต์แวร์ทั่วโลก ขณะนี้เราอยู่อันดับ 3 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากมาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ซึ่งสิ้นปีนี้เราหวังว่าจะขึ้นไปเป็นที่ 2 ในระดับภูมิภาคให้ได้"

 

            ปัจจุบันมีบริษัทซอฟต์แวร์ในไทยราว 24 บริษัทที่ได้รับมาตรฐานดังกล่าว โดยสิ้นปีนี้ คาดว่า จะมีเพิ่มขึ้นเป็น 40 บริษัท

 

            ล่าสุด ปีนี้ซอฟต์แวร์พาร์คได้วางแนวทางการรุกตลาดเข้าสู่ยุโรปอย่างเป็นรูปธรรม โดยได้ร่วมเป็นพันธมิตรกับหน่วยงานซีบีไอ ( Centre for the promotion of Imports from developing countries: CBI) คัดเลือก 8 บริษัทซอฟต์แวร์ไทยเพื่อเป็นกลุ่มแรกในการทำตลาด

 

            โดยซีบีไอ ซึ่งเป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงการต่างประเทศ ของประเทศเนเธอแลนด์ ที่เป็นองค์กรอิสระขึ้นตรงกับหน่วยงานความร่วมมือระหว่างประเทศ และมีบทบาทในการพัฒนา ช่วยเหลือการพัฒนาทางด้านการค้า การผลิต การส่งออก ผ่านรูปแบบของการฝึกอบรมทักษะ ที่ปรึกษา การให้เงินสนับสนุน และเป็นองค์กรที่มีพันธมิตรในต่างประเทศทั่วโลก

 

            ข้อตกลงนั้นทางซีบีไอกับซอฟต์แวร์พาร์คจะอยู่ภายใต้สัญญาความช่วยเหลือ 6 ปี คือตั้งแต่ปี 2008-2014 ในชื่อโปรแกรม " CBI IT outsourcing Export Coaching Program"

 

            โครงการนี้ จะเน้นให้ความช่วยเหลือ และเตรียมความพร้อมให้บริษัทซอฟต์แวร์ที่มีศักยภาพในประเทศไทยสามารถเข้าไปทำตลาดในสหภาพยุโรปได้ รวมทั้งถ่ายทอดความรู้ทั้งในเชิงเทคนิค การตลาด กฎหมาย และจัดหากิจกรรมทางด้านการตลาด เพื่อจัดทำกลยุทธ์และยกระดับความสามารถเทียบเท่ามาตรฐานซอฟต์แวร์ของประเทศกลุ่มสหภาพยุโรป

 

            เบื้องต้นทางซีบีไอ ได้เข้ามาคัดเลือกตัวแทนซอฟต์แวร์ของไทย โดยความร่วมมือของซอฟต์แวร์พาร์ค และมีบริษัทที่ผ่านการประเมินในปีนี้จำนวน 8 บริษัท ได้แก่ เอ็มเฟค ผู้พัฒนาและให้บริการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศรายใหญ่ , เอสเอสซี โซลูชั่น ผู้นำทางด้านกรีน ซอฟต์แวร์ในระดับโลก โดยเฉพาะโซลูชันด้านการจัดการน้ำ , บริษัทเอไอซอฟต์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านซอฟต์แวร์เพื่อการท่องเที่ยว ระบบการจองตั๋วผ่านอินเทอร์เน็ต , บริษัททีมเวิร์ค ผู้ผลิตซอฟต์แวร์ทางด้านคอราบอเรทีฟ , บริษัทพร้อมท์นาว ผู้ผลิตเกมบนโทรศัพท์มือถือ

 

              บริษัทไทยเควส ผู้นำทางด้านซอฟต์แวร์การจัดการด้านข้อมูลต่างๆ ด้วยเทคโนโลยีของเสิร์ชเอ็นจิ้นอัจฉริยะ , บริษัท สุวิเทค ( SUVITECH) ผู้นำซอฟต์แวร์ด้านโทรคมนาคม , บริษัทไอซ์ โซลูชั่นทำโอเพ่นซอร์ส

 

            โดยเกณฑ์การคัดเลือกนั้น พิจารณาจากบริษัทที่มีศักยภาพ   ตั้งแต่ผลประกอบการ กำลังคน ความสำเร็จของบริษัทในตลาดท้องถิ่น   และความเป็นผู้ประกอบการ โดยทุกบริษัทต้องผ่านกระบวนการสัมภาษณ์ความพร้อม ศักยภาพและเข้าร่วมการทำเวิร์คชอป ซึ่งทางซีบีไอได้ส่งที่ปรึกษาที่มีความชำนาญด้าน ไอที เอาท์ซอร์สซิ่งในตลาดสหภาพยุโรปจำนวน 2 คนเข้ามาให้ความรู้และคัดเลือกบริษัทซอฟต์แวร์กลุ่มแรกไปตั้งแต่ปลายไตรมาส 3 ปีที่แล้ว จนได้ประกาศผลไปเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา

 

            หลังจากนั้นทางซอฟต์แวร์พาร์คกับซีบีไอได้ส่งตัวแทนซอฟต์แวร์ทั้ง 8 บริษัทไปอบรมที่เนเธอแลนด์ช่วงปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา ร่วมกับกลุ่มประเทศพันธมิตรในโปรแกรม CBI ITO outsourcing 2008-2012 ทั้งสิ้น 8 ประเทศ ได้แก่ ไทย , อาร์มาเนีย , ศรีลังกา , ปากีสถาน , โคลัมเบีย , เวียดนาม , ฟิลิปปินส์ และบังคลาเทศ ทั้งหมด 68 บริษัท

 

            “ ถึงวันนี้เราได้ผ่านการฝึกตัวแทนซอฟต์แวร์เพื่อไปบุกตลาดอียู ในขั้นที่ 3 จาก 4 ขั้นตอนที่ตั้งไว้ ซึ่งนับจากนี้ทั้ง 8 รายพร้อมแล้วจะเข้าไปทำตลาดนี้อย่างจริงจัง โดยประเดิมด้วยซอฟต์แวร์ของเอ็มเฟคในงานซีบิท ประเทศเยอรมันที่จะถึงนี้ ซึ่งทางซีบีไอ จะออกค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพื้นที่การแสดงสินค้าทั้งหมด และหลังจากนั้นบริษัทซอฟต์แวร์ที่เหลือจะได้รับสิทธิ์ในการไปออกงานนิทรรศการต่างๆ ในยุโรปโดยไม่คิดมูลค่าต่อไป ” นางสุวิภากล่าว

 

            อย่างไรก็ตามทางบริษัทซอฟต์แวร์ทั้ง 8 ราย จะต้องส่งแผนการส่งออก ( Export Marketing Plan) ในปีนี้ให้กับซีบีไอและซอฟต์แวร์พาร์คพิจารณา ซึ่งทั้งสองหน่วยงานจะส่งทีมที่ปรึกษาเข้าไปปรับแต่งทางกลยุทธ์ เพื่อทำให้แผนมีความเป็นไปได้ในการทำตลาดสหภาพยุโรปอย่างเป็นไปได้สูงสุด

 

            " ความร่วมมือครั้งนี้ ทำให้ซอฟต์แวร์พาร์ค สามารถรวบรวมฐานข้อมูลผู้ผลิตซอฟต์แวร์ของไทยและแผนการสร้างภาพลักษณ์การตลาดซอฟต์แวร์ประเทศไทยให้เป็นที่รู้จักในต่างประเทศได้ดีขึ้น ซึ่งจะประกอบไปด้วยการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับศักยภาพตลาด กลุ่มผู้ประกอบการ การสนับสนุนทางภาครัฐบาลเพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่กลุ่มลูกค้าในตลาดยุโร ซึ่งปัจจุบันยอกส่งออกซอฟต์แวร์ไทยยังแค่ 4,500 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเล็กมาก โครงการนี้"

            โดยปัจจุบันตลาดไอที เอาท์ซอร์สในยุโรปมีมูลค่าการตลาดปี 51 สูงถึง 207.2 ล้านล้าน ยูโร โดยคาดว่าปีนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 231.2 ล้านยูโร ถือเป็นตลาดใหญ่ ที่เปิดโอกาสให้ทั้ง 8 บริษัทซอฟต์แวร์ไทยได้เข้าไปมีบทบาทในตลาด สร้างแบรนด์ และสร้างธุรกิจนอกประเทศให้มากขึ้น

 

            ด้านความเห็นของทั้ง 8 บริษัทซอฟต์แวร์ หนึ่งใน 8 บริษัทซอฟต์แวร์ไทยให้ความเห็นว่า การบุกตลาดซอฟต์แวร์ในยุโรปครั้งนี้ ถือว่าเป็นการปูทางให้กับบริษัทซอฟต์แวร์ไทยรายอื่นๆ ได้แสดงฝีมือ โดยใน 4 ปีแรกอย่างน้อยทั้ง 8 บริษัทน่าจะได้โปรเจคลูกค้ารายละ 1-2 โปรเจค ซึ่งคิดเป็นมูลค่าโปรเจคตั้งแต่ ระดับแสนยูโร จนถึง 2 ล้านยูโรขึ้นไป

 

            อย่างไรก็ตาม การเข้าร่วมโครงการครั้งนี้ แต่ละบริษัทเสียค่าใช้จ่ายบริษัทละ 1 พันยูโรให้กับซีบีไอ ซึ่งจ่ายครั้งเดียวในระยะเวลาโปรเจค 6 ปี ขณะที่ซีบีไอจะให้เป็นเงินทุนค่าใช้จ่ายสำหรับการเวิร์คชอปที่ประเทศเนเธอร์แลนด์รายละ 800 ยูโร เท่ากับว่า บริษัทก็เสียค่าใช้จ่ายเพียง 200 ยูโรในโปรเจคครั้งนี้ แต่หากทั้ง 8 บริษัทต้องร่วมออกบูธในนิทรรศการงานไอทีในต่างประเทศในช่วง 6 ปี ทางซีบีไอก็อาจจะสนับสนุนเงินบางส่วน ขณะเดียวกัน ทั้ง 8 บริษัทก็อาจต้องเสียค่าใช้จ่ายเองด้วย ซึ่งอยู่กับข้อตกลง หรือการเจรจา

 

            นอกจากนี้ ซอฟต์แวร์ปาร์ค ยังมีโปรเจคลักษณะเดียวกันนี้ กับประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศจีนด้วย ซึ่งที่ผ่านมา มีบริษัทซอฟต์แวร์ไทยเข้าไปเปิดตลาดในอเมริกาแล้ว 10 บริษัท ส่วนที่จีนอยู่ระหว่างการคัดเลือก คาดว่าจะทราบผลเร็วๆ นี้



ที่มา: http://www.bangkokbiznews.com


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)