Author Topic: ดีเอสไอ ชี้ผลสอบเบื้องต้นประมูล 3G ไม่พบการฮั้ว  (Read 831 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


นายธาริต เพ็งดิษฐ์ บอกเบื้องต้น 3G ไม่ฮั้ว

ดีเอสไอเผยผลสอบเบื้องต้นการประมูล 3G กสทช.ไม่พบการฮั้ว แต่ขอข้อมูลเพิ่มอีก 7 ประเด็นก่อนสรุปผลส่งให้ กสทช.สัปดาห์หน้า
       
       นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กล่าวว่า หลังจากสำนักงาน กสทช.ได้ยื่นเรื่องมาให้ดีเอสไอเป็นผู้ตรวจสอบในประเด็นการออกหลักเกณฑ์ และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่การจัดการประมูลใบอนุญาต (ไลเซนส์) 3G ในย่านความถี่ 2.1GHz ของคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เมื่อวันที่ 16 ต.ค.ที่ผ่านมาว่า ขั้นตอนต่างๆ มีการหลีกเลี่ยงการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 (พ.ร.บ.ฮั้ว) หรือไม่นั้น ผลสรุปเบื้องต้นจากการสอบสวนไม่พบว่าการประมูล 3G มีการกระทำความผิดแต่อย่างใด
       
       ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม เมื่อวันที่ 27 พ.ย.ที่ผ่านมาดีเอสไอได้เชิญเจ้าหน้าที่ของ กสทช. โดยเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ การจัดประมูลคลื่นความถี่ โดยมีพนักงานอัยการจากสำนักงานอัยการสูงสุดเป็นที่ปรึกษามาร่วมด้วย ซึ่งเป็นการเข้าชี้แจงเพิ่มเติมในประเด็นเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของ กสทช.ตาม พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ พ.ศ. 2553 การกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประมูล วิธีการเสนอราคา และผลของการประมูลราคา
       
       นอกจากนี้ ดีเอสไอได้ทำหนังสือเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมจากสำนักงาน กสทช.ใน 7 ประเด็น โดยคาดว่าภายใน 2 วันนี้สำนักงาน กสทช.จะส่งเอกสารตอบกลับมาเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งหลังจากที่ดีเอสไอได้ข้อมูลครบถ้วนแล้วเชื่อว่าภายในสัปดาห์หน้าจะสรุปผลสอบสวนทั้งหมดและแจ้งกลับไปยัง กสทช.ได้
       
       ส่วนในประเด็นการกำหนดราคาประมูลเริ่มต้นที่ 4,500 ล้านบาท ในขณะที่ผลการศึกษาของคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เสนอให้ กสทช.กำหนดราคาประมูลคลื่นความถี่ไว้ที่ 6,440 ล้านบาท และประเด็นมีผู้เสนอราคาเพียง 3 ราย ซึ่งผู้เข้าประมูลที่เสนอราคาสูงสุดเสนอราคาที่ 14,625 ล้านบาท แต่ขณะที่อีก 2 บริษัทเสนอราคาเท่ากันที่ 13,500 ล้านบาท เท่ากับราคาเริ่มต้น ซึ่งจากการชี้แจงปรากฏว่ามีรายละเอียดข้อเท็จจริงและเอกสารที่เกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก ดังนั้นดีเอสไอจำเป็นต้องขอเอกสารเพิ่มเติม
       
       ขณะเดียวกัน นายธานินทร์ เปรมปรีดิ์ รองผู้บัญชาการสำนักคดีอาญาพิเศษ 2 ในฐานะประธานสอบสวนการประมูล 3G กล่าวว่า ในเอกสารคำถาม 7 ประเด็นที่อธิบดีดีเอสไอลงนามไปยังสำนักงาน กสทช. ประกอบด้วย 1. การประมูลไลเซนส์ 3G ใช้หลักเกณฑ์อะไรที่สามารถชี้ชัดได้ว่าการประมูลไม่ใช่การเสนอราคาทางอิเล็กทรอนิกส์ (อี-ออกชัน) 2. การกำหนดสลอตความถี่ 45MHz ที่กำหนดไว้ 9 สลอต และให้ผู้ที่เข้าประมูลมีสิทธิประมูลได้สูงสุดรายละ 3 สลอตมีหลักเกณฑ์อะไร 3. การคิดราคาเริ่มต้นที่ 4,500 ล้านบาทต่อสลอตตามที่ กสทช.กำหนดไว้ 76% ของมูลค่าคลื่นเต็ม 6,440 ล้านบาทมีความแตกต่างกันอย่างไร
       
       4. การคิดค่าประกันซองที่ 1,350 ล้านบาท หรือเท่ากับ 10% ของจำนวนสลอตสูงสุดที่เข้าประมูลได้ใช้หลักเกณฑ์อะไร เพราะตามระเบียบสำนักนายกฯ กำหนดเงินประกันซองของการจัดซื้อจัดจ้างไว้เพียง 5% การกำหนดมูลค่าที่สูงถือเป็นการกีดกันรายย่อยหรือไม่ 5. ขอให้ กสทช.ส่งรายละเอียดการประมูลทั้งหมด ตั้งแต่การร่างหลักเกณฑ์ วันประมูล ภายหลังการประมูล และ กสทช.ระบุว่ามี 20 บริษัทในประเทศไทยที่สามารถเข้าประมูลได้ ขอให้ กสทช.แจงรายชื่อมาโดยละเอียด 6. การเคาะราคาวิธีการประมูล มีการเปิดประมูล 9 สลอตพร้อมกันของผู้เข้าประมูลทั้ง 3 ราย ถือเป็นการแข่งขันราคาแล้วหรือไม่
       
       และ 7. ทำไมในท้ายที่สุดถึงมีผู้เข้าประมูลเพียง 3 รายเท่านั้น และเมื่อมีผู้เข้าประมูลน้อยราย ทำให้ กสทช.ถึงไม่ใช้ภาคผนวก ข ในการสงวนสิทธิ์ยกเลิกการประมูลไป อย่างไรก็ตาม แม้ดีเอสไอจะได้ข้อมูล รายละเอียดในประเด็นคำถามทั้ง 7 ประเด็นไปบ้างแล้ว แต่ขอให้สำนักงาน กสทช.ส่งเอกสารตอบกลับมาเป็นลายลักษณ์อักษร
       
       Company Related Link :
       DSI

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)