Author Topic: 3 ค่าย ปัดฮั้วประมูล 3G ทรู ท้าผิด จับติดคุกเลย  (Read 785 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


       3 ค่ายมือถือแถลงเปิดใจการประมูล 3G ที่ผ่านมา ยันไม่มีการฮั้วประมูลเด็ดขาด 'อธึก' ท้าถ้าพบฮั้วจริง มาจับไปติดคุกเลยไม่ต้องรอลงอาญา แต่หากตรวจสอบไม่พบว่าฮั้ว คนกล่าวหาต้องถูกลงโทษหรือไม่ ส่วนการลดค่าบริการ 15-20% แลกกับใบอนุญาต 3G เอไอเอสพร้อมทำตาม ด้านดีแทค ทรู ชี้พร้อมลดราคาหากสมเหตุสมผลกับต้นทุนและกลไกการตลาด
       
       เมื่อวันที่ 29 ต.ค.ที่ผ่านมา 3 ค่ายมือถือที่เป็นผู้ชนะการประมูลใบอนุญาตคลื่นความถี่ 2.1 GHz หรือการประมูล 3G ประกอบด้วยนายวิเชียร เมฆตระการประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส นายดามพ์ สุคนธทรัพย์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) นายอธึก อัศวานันท์ รองประธานกรรมการและหัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มด้านกฎหมาย บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ร่วมแถลงเปิดใจการประมูล 3G
       
       นายอธึก กล่าวว่าหากมีการตรวจสอบแล้วพบว่าในการประมูล 3G เมื่อวันที่ 16 ต.ค.ที่ผ่านมาไม่มีการฮั้วของผู้เข้าร่วมประมูลแล้ว ผู้ออกมากล่าวหาสมควรจะต้องมีบทลงโทษหรือไม่
       
       'เรื่องฮั้วมันไม่มี และไม่มีทางที่จะเกิดขึ้นในระหว่างแต่ละค่าย การฮั้วเป็นการสมยอมราคา แต่ในการเข้าประมูลผู้บริหารต้องเซ็นยอมรับล่วงหน้าว่าจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการฮั้ว เพราะนอกจากโทษทางอาญาแล้ว ทั้ง 3 รายซึ่งเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯ กรรมการบริหารก็จะมีความผิดเพิ่มขึ้นอีกจากกฏหมายเกี่ยวกับตลาดหลักทรัพย์ฯ ดังนั้นถ้าตรวจสอบพบว่ามีการฮั้วก็จับคนผิดเข้าคุกไปเลยไม่ต้องรอลงอาญาด้วย แต่ถ้าไม่พบแล้วคนที่กล่าวหาลอยๆควรจะโดนด้วยหรือไม่ ถ้าไม่อย่างงั้นก็มองไม่ออกว่าการประมูลต่อๆไปจะเป็นอย่างไร และถ้าประมูลล้มใครได้ประโยชน์ผมไม่ทราบ แต่คนที่เสียประโยชน์คือประชาชน'
       
       นายดามพ์ สุคนธทรัพย์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ดีแทค ตัวแทนบริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค กล่าวถึงราคาตั้งต้นการประมูลโดยมองว่าราคาขั้นต่ำที่ 4,500 ล้านบาท ถือว่าไม่ใช่ราคาที่ต่ำ แต่ค่อนข้างแพงด้วยซ้ำ เนื่องจากเทคโนโลยี 3G ประเทศต่างๆประมูลกันมา 10 กว่าปีแล้ว มูลค่าของคลื่นโดยตัวมันเองไม่สูงเท่าไหร่ ดังนั้น 4,500 ล้านบาทต่อ 5 MHz ถือเป็นราคาที่สูง
       
       'ถึงเวลาที่ประเทศไทยจะก้าวข้ามจุดนี้ไป การออกใบอนุญาตก็ควรออกตามขั้นตอน เนื่องจากภาระด้านการเงิน ภาระทางธุรกิจก็เกิดขึ้น และตลอดเวลาการทำงานของ กสทช. ถือว่าทำงานตามกำหนดการมาโดยตลอด เมื่อสามารถรักษามาได้ด้วยดีก็ขอให้ทำต่อเนื่องไปอย่างถูกต้อง'
       
       นายวิเชียร เมฆตระการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเอไอเอส ตัวแทนบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค กล่าวว่า ทุกบริษัทมีกลยุทธ์ในการประมูล ซึ่งเอไอเอสต้องการเสนอราคาสูงสุด เพื่อให้สามารถเลือกช่วงคลื่นความถี่ได้ตามที่ต้องการ ซึ่งแต่ละรายก็ทำครบตามกระบวนการที่พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 (พรบ.กสทช.) กำหนดไว้
       
       'กสทช.ไม่มีทางเลือก เพราะการจัดสรรคลื่นความถี่ต้องผ่านการประมูลเท่านั้น'
       
       ในประเด็นที่กสทช.ได้ออกมาประกาศเจตนารมย์ว่าถ้าหากเอกชนทั้ง 3 รายที่ชนะการประมูล 3G ไม่ลดค่าบริการลงจากปัจจุบัน 15-20% จะไม่ออกใบอนุญาตให้เด็ดขาด ผู้ประกอบการทั้ง 3 รายให้ความเห็นว่า ถ้าต้องทำตามก็จะทำ เพียงแต่ต้องคำนึงถึงต้นทุนที่เป็นเหตุเป็นผลด้วย หากไม่เช่นนั้นคงต้องให้คนกลางหรือศาลเป็นผู้ตัดสิน
       
       นายวิเชียร กล่าวว่า เบื้องต้นถ้ากสทช.กำหนดราคาขั้นต่ำออกมาและบังคับให้ต้องทำตามก็จะทำ แต่มองว่ากสทช.จะไม่สามารถกำหนดได้โดยไม่มีการหารือกับผู้ประกอบการ เนื่องจากในการกำหนดราคาขั้นต่ำจำเป็นต้องดูต้นทุนผู้ประกอบการก่อนว่าจะสามารถทำได้หรือไม่ ซึ่งถ้ากสทช.ประกาศค่าบริการขั้นต่ำออกมาแล้วไม่สามารถยอมรับได้ก็ต้องเดินหน้าฟ้องศาลปกครองกันต่อไป
       
       'แม้สัญญาสัมปทานจะหมดลงการลงทุนเครือข่ายที่ผ่านมาก็ต้องส่งคืนให้แก่เจ้าของสัมปทาน ดังนั้นถ้าหลังประมูลไม่ต้องลงทุนเพิ่มก็ถือว่าเป็นเหตุเป็นผลที่จะปรับลดราคา แต่เมื่อมีการลงทุนใหม่ทั้งหมดบนคลื่น 2.1GHz ที่อาจจะต้องสร้างสถานีฐานเพิ่ม 2-3 เท่าจากเดิมเป็น 51,000 สถานีฐาน ทำให้มีต้นทุนที่สูงขึ้น'
       
       ด้านนายอธึกกล่าวว่ากลุ่มทรูยินดีที่จะปฏิบัติตามถ้าเป็นราคา ที่สมเหตุสมผล ซึ่งเชื่อว่าก่อนจะประกาศราคาต้องมีการประชาพิจารณ์ เพื่อออกมาชี้แจงถึงต้นทุนแต่ละเครือข่าย ซึ่งเชื่อว่าตราบใดที่มีผู้ให้บริการหลายรายกลไกตลาดก็จะทำให้เกิดการแข่งขันอยู่ดี
       
       ส่วนในช่วงการประมูลนั้น นายอธึกกล่าวว่าเมื่อเริ่มประมูลทางกลุ่มทรูกดเลือก 3 บล็อกคือ G H และ I ซึ่งเป็น 3 ช่องสุดท้าย พอรอบที่ 2 หน้าจอคอมพิวเตอร์แสดงขึ้นมาว่า ทรูเป็นผู้ชนะชั่วคราวของทั้ง 3 บล็อก โดยบล็อก H มีอีกรายหนึ่งมาเคาะราคาแข่งขัน และคอมพิวเตอร์ได้ใช้วิธีการสุ่มเลือกว่าทรูชนะ เมื่อเป็นผู้ชนะกลุ่มทรูก็ไม่รู้ว่าจะกดราคาเพิ่มขึ้นทำไม จึงกดยืนยัน
       
       หลังจากนั้นในรอบต่อไปบล็อก G กับ I ยังเป็นทรูที่เป็นผู้ชนะชั่วคราว ขณะที่บล็อก H มีผู้เข้าแข่งขันเคาะราคาเพิ่มขึ้นมา จึงเลือกดูว่าจะสู้ราคาที่บล็อก H หรือไปเลือกช่องอื่นที่ยังไม่มีคนเลือก จึงหันไปเลือกที่บล็อก B เมื่อประกาศผลออกมาก็เป็นผู้ชนะบล็อก B G I ที่บล็อกละ 4,500 ล้านบาท ซึ่งเมื่อชนะแล้วก็ไม่รู้จะขึ้นราคาทำไม และด้วยกฏของโปรแกรมที่บังคับว่า ถ้าเป็นผู้ชนะชั่วคราวจะไม่สามารถย้ายช่องได้ ทำให้ไม่สามารถย้ายไปช่องอื่นได้ด้วย เช่นเดียวกันกับทางดีแทค ที่นายดามพ์ เปิดเผยถึงวิธีการประมูลว่า เมื่อมีการกดซ้ำกันทางดีแทคก็เลื่อนไปเลือกในบล็อกอื่นแทน
       
       ขณะที่เอไอเอสซึ่งวางกลยุทธ์ไว้ว่าถ้าไม่ได้ ช่องไหนก็เคาะซ้ำมันเข้าไปให้ราคาสูงขึ้น ดังนั้นทั้ง 3 บล็อกที่เอไอเอสเลือกคือบล็อกA E และ H ราคาในช่วงแรกจึงขึ้นไปอยู่ที่ 4,725 ล้านบาท หลังจากนั้นในรอบถัดไปจึงใส่ราคาเพิ่มอีก 2 บล็อกที่บล็อก E และ H ทำให้ราคาขึ้นไปอยู่ที่ 4,950 ล้านบาท เพื่อให้รายอื่นตามไม่ทัน เมื่อเรียบร้อยแล้วก็รอปิดประมูล
       
       Company Relate Link :
       AIS
       Dtac
       True

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)