Author Topic: บอร์ด กทค. ลงมติ รับรองผล 3G "4ต่อ1"  (Read 982 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ

บอร์ดกทค.มีมติ 4 ต่อ1 รับรองผลประมูล 3G หลังเถียงกันหนัก จนต้องมีการวอล์กเอาท์ พร้อมแจ้งผู้ชนะ 19 ต.ค. และออกใบอนุญาตภายใน 90 วัน โดยไม่ต้องผ่านบอร์ดกสทช.ชุดใหญ่
       
       เมื่อวันที่ 18 ต.ค. ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) มีการประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ประกอบด้วยพ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ประธานกทค.และกรรมการอีก 4 คนคือ นายสุทธิพล ทวีชัยการ,พล.อ.สุกิจ ขมะสุนทร ,นายประเสิรฐ ศีลพิพัฒน์ และนพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ในเวลา 11.00 น. โดยที่ประชุมได้มีการพิจารณาเพื่อลงมติรับรองผลการประมูลใบอนุญาตคลื่นความถี่ย่าน 2.1GHz เพื่อให้บริการโทรศัพท์มือถือระบบ 3Gซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบผลการประมูล 4 ต่อ1โดย นพ.ประวิทย์ กสทช.ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมไม่เห็นชอบเพียงคนเดียว เนื่องจากเห็นว่าผู้ประกอบการบางรายใช้ยุทธศาสตร์การดึงราคาภายหลังจากได้ดูข้อมูลรายละเอียดการประมูล(ล็อกไฟล์)
       
       ทั้งนี้ระหว่างการประชุมเพื่อลงมติผลการประมูล 3Gได้มีการถกเถียงกันอย่างหนัก ระหว่างนายสุทธิพลกับนพ.ประวิทย์ เป็นเวลานานกว่า 3 ชั่วโมงครึ่ง จากนั้นจึงมีการลงมติรับรองผลการประมูลในเวลา 14.50 น.ซึ่งในระหว่างที่มีการถกเถียงนายประเสริฐ และพล.อ.สุกิจ ได้เดินออกจากห้องประชุม (วอล์กเอาท์) เพราะอยากให้ประธานที่ประชุมลงมติให้มีการโหวตเสียที ไม่อยากให้มีการถกเถียงในเรื่องเดิมที่มีการเคยลงมติไปแล้ว คือเรื่องราคาตั้งต้นการประมูลที่ 4,500 ล้านบาทต่อ 1 ใบอนุญาต (สล็อต)หรือ 5MHz ซึ่งหลังจากวอล์กเอาท์ผ่านไป 5 นาที ที่ประชุมได้เชิญกสทช.ทั้ง 2 คนกลับเข้าห้องประชุมอีกครั้งเพื่อลงมติ
       
       โดยพล.อ.สุกิจ ได้เป็นผู้ลงมติรับรองผลการประมูลเป็นคนแรก ต่อมาคือนายประเสริฐ และนายสุทธิพล ส่วนนพ.ประวิทย์ ไม่ขอลงมติรับรองผลการประมูล เพราะเห็นว่าการลงมติต้องมีดุลยพินิจ และข้อเท็จจริงที่เพียงพอ ถึงแม้กรรมการ กสทช.จะยืนยันว่าไม่เข้าข่ายพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 (พ.ร.บ.ฮั้ว) แต่กรรมการควรจะมีสิทธิได้เห็นพฤติกรรมการเคาะราคาในแต่ละรอบของผู้เข้าประมูล เพราะมียุทธศาสตร์การดึงราคาของผู้เข้าประมูลบางราย ส่อไปในทางทุจริต และเมื่อได้เห็นรายละเอียดการประมูล (ล็อกไฟล์) ยิ่งทำให้ไม่สามารถรับรองผลการประมูลได้ ส่วนพ.อ.เศรษฐพงค์ เป็นผู้ลงมติเห็นชอบการประมูลเป็นคนสุดท้าย
       
       หลังจากนั้น นายพิทยาพล จันทนะสาโร รองเลขาธิการกสทช.ได้สรุปผลการประชุมว่าบอร์ดกทค.ได้ลงมติรับรองผลการประมูล 3G โดยมีคะแนน 4 ต่อ 1 สรุปคือ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ตเวิร์ก (AWN) ในเครือเอไอเอส เป็นผู้ชนะการประมูลในราคา 14,625 ล้านบาท ได้ครอบครองคลื่นความถี่ในชุด 7-9 บริษัท เรียล ฟิวเจอร์ ในเครือกลุ่มทรู ชนะการประมูลในราคา 13,500 ล้านบาท ได้ครอบครองชุดความถี่ 4-6 และบริษัท ดีแทค เนควอร์ค ในเครือดีแทค ชนะการประมูลในราคา 13,500 ล้านบาท ได้ครอบครองชุดความถี่ 1-3
       
       สำหรับขั้นตอนต่อไปหลังจากลงมติรับรองผลการประมูลแล้ว กสทช.จะต้องแจ้งผู้ชนะประมูลภายใน 7 วัน แต่กสทช.จะส่งหนังสือแจ้งไปในวันที่ 19 ต.ค.นี้ ซึ่งถือเป็นการสิ้นสุดระยะเวลาไซเรนต์ พีเรียดด้วย หลังจากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการให้ใบอนุญาต ซึ่งจะต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายใน 90 วัน โดยผู้ที่ชนะการประมูลจะต้องชำระเงินค่าใบอนุญาตงวดแรกจำนวน 50% ของราคาใบอนุญาต และยื่นหนังสือรับรองทางการเงิน (แบงการันตี) สำหรับงวดที่เหลือ ซึ่งต้องชำระในปีที่ 2 และ 3 โดยกสทช.จะออกใบอนุญาตให้ผู้ประกอบการในวันที่มาจ่ายงวดแรก
       
       ด้านนายประเสริฐ กรรมการกสทช. กล่าวว่า การลงมติในครั้งนี้ของบอร์ดกทค.ถือเป็นอำนาจและสิทธิ์ของกทค.ตามมาตรา 27 วรรค 4 ของพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมพ.ศ.2553 (พ.ร.บ.กสทช.) จึงไม่จำเป็นต้องนำเข้าบอร์ดกสทช.ชุดใหญ่เพื่อพิจารณาแต่อย่างใด เพียงแต่ให้รับทราบเท่านั้น
       
       ขณะที่การส่งเงินค่าใบอนุญาตที่ได้จากการประมูลในครั้งนี้ให้กับรัฐบาลนั้นกสทช. จะเร่งดำเนินการโดยเร็วที่สุดทันทีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตทั้ง 3 รายชำระเงินในงวดแรก และหักค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการจัดการประมูลแล้วราว 20 ล้านบาท
       
       ส่วนการชำระค่าใบอนุญาตของผู้เข้าประมูล มีดังนี้ AWNประมูลในราคา 14,625 ล้านบาท ชำระ 50% อยู่ที่ 7,312 ล้านบาท ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% เรียล ฟิวเจอร์ และดีแทค เนควอร์ค ชำระงวดแรกเท่ากันที่ 6,750 ล้านบาท ซึ่งราคาดังกล่าวไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%
       
       นอกจากนี้ กสทช.ยืนยันว่ายังไม่ได้รับหนังสือจากกระทรวงการคลัง ในประเด็นเกี่ยวกับการประมูลว่าอาจผิดพ.ร.บ.ฮั้วแต่อย่างใดซึ่งหากกระทรวงการคลัง ส่งหนังสือสอบถามมา ฝ่ายกฎหมายก็พร้อมจะชี้แจงในประเด็นดังกล่าวว่าการประมูลไม่ได้มีการกระทำหรือมีพฤติกรรมที่ส่อไปในการผิดพ.ร.บ.ฮั้วแต่อย่างใดเนื่องจากต้องมีการคัดค้านหรือกีดกันไม่ให้มีการแข่งขัน หรือไม่มีผู้เข้าร่วมประมูล แต่ในการประมูลดังกล่าว มีผู้ประมูลด้วยความสมัครใจ ไม่มีการกีดกั้นแต่อย่างใด ซึ่งใน พ.ร.บ.ฮั้วไม่ได้มีถ้อยคำกำหนดว่าจะต้องมีการเคาะราคากี่ครั้ง และราคาประมูลที่ได้ต้องเพิ่มขึ้นจากราคาตั้งต้นเท่าไร ดังนั้นจึงไม่เข้าข่าย

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)


Related Topics

  Subject / Started by Replies Last post
0 Replies
6221 Views
Last post October 21, 2010, 05:59:35 PM
by Nick
0 Replies
7861 Views
Last post October 23, 2010, 12:51:34 PM
by Nick
0 Replies
7598 Views
Last post January 13, 2011, 04:29:26 PM
by Nick
0 Replies
5294 Views
Last post February 27, 2011, 11:13:31 PM
by Nick
0 Replies
6755 Views
Last post March 11, 2011, 04:59:35 PM
by Nick
0 Replies
4900 Views
Last post January 18, 2012, 02:03:34 PM
by Nick
0 Replies
2153 Views
Last post April 05, 2012, 02:24:54 PM
by Nick
0 Replies
6431 Views
Last post May 15, 2012, 09:59:24 PM
by Nick
0 Replies
4103 Views
Last post July 13, 2012, 05:12:23 PM
by Nick
0 Replies
4616 Views
Last post September 10, 2012, 02:15:49 PM
by Nick